พุทธิปัญญากับการปรับสมดุลชีวิต

Main Article Content

สุวิญ รักสัตย์

บทคัดย่อ

     บทความวิชาการเรื่อง “พุทธิปัญญากับการปรับสมดุลชีวิต” มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสนอแนวทางการปรับสมดุลชีวิตของมนุษย์ใน
ยุคปัจจุบันให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างอยู่รอดปลอดภัยในโลกแห่งวัตถุนิยม ซึ่งมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตประจำวันของทุกคนเป็นอย่างมาก โดยอิทธิพลดังกล่าวได้สร้างความสูญเสียสมดุลแห่งชีวิต และลดทอนประสิทธิภาพในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ลงไป เกิดความบกพร่องต่อการดำรงตนอยู่บนแนวทางที่ถูกต้อง ไม่สามารถแยกแยะโลกแห่งสมมติออกไปจากวงจรของชีวิตได้


     หลักพระพุทธศาสนาที่นำมาใช้เป็นแนวทางการปรับสมดุลชีวิต คือ หลักวิเวก 3 ได้แก่ 1) กายวิเวก คือ การสร้างความสงบทางกาย โดยปรับสมดุลทางด้านกายภาพ ให้ชีวิตดำรงอยู่กับธรรมชาติที่แท้ ตามหลักการที่ว่า ชีวิตเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ มิใช่ธรรมชาติประดิษฐ์ ระบบร่างกายสามารถตอบสนอต่อธรรมชาติได้อย่างสอดคล้องและสมดุล 2) จิตวิเวก คือ การสร้างความสงบทางจิต โดยปรับสมดุลทางด้านความคิด ทำให้ชีวิตไม่ถูกชักนำไปด้วยพลังฝ่ายลบ ได้แก่ นิวรณ์ทั้งหลาย เพื่อพัฒนาจิตให้ผ่องใสจากเครื่องครอบงำจิต และ 3) อุปธิวิเวก คือ การสร้างความสงบด้วยการหลุดพ้นจากกิเลส โดยปรับสมดุลทางด้านปัญญาขจัดเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย เมื่อกิเลสได้รับการกำจัดไปมากเท่าใด ความสมดุลแห่งชีวิตก็มีมากขึ้นเท่านั้น ชีวิตที่ปราศจากกิเลสอย่างถาวรย่อมนำไปสู่ความสุขสมบูรณ์เต็มเปี่ยม


     อาศัยหลักวิเวก 3 ซึ่งเป็นพุทธิปัญญาเข้ามาปรับสมดุลชีวิต ย่อมไม่หลงใหลต่อโลกธรรม ย่อมปฏิบัติหน้าที่และรับผิดชอบได้อย่างเต็มที่ ชีวิตจะดำเนินไปตามครรลองที่ถูกต้อง สามารถดำรงชีวิตอยู่ในโลกแห่งวัตถุนิยมสมมติได้อย่างเป็นอิสระและมีความสุข

Article Details

How to Cite
รักสัตย์ สุวิญ. 2019. “พุทธิปัญญากับการปรับสมดุลชีวิต”. ธรรมธารา 5 (1):39-71. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/174624.
บท
บทความวิชาการทางพระพุทธศาสนา
Bookmark and Share

References

มหามกุฏราชวิทยาลัย. 2556. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2539. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย. 2556. คัมภีร์วิสุทธิมรรค แปล. กรุงเทพมหานคร. บริษัท ธนาเพรส จำกัด. มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต), 2557. พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. มูลนิธิธรรมทานกุศลจิต. สำนักพิมพ์เพ็ทแอนด์โฮม จำกัด

พระคันธสาราภิวงศ์ (แปล). 2552. อภิธรรมมัตถสังคหะและปรมัตถทีปนี, ลำปาง : วัดท่ามะโอ.

สุเชาวน์ พลอยชุม. 2552. พุทธปรัชญาในพระสุตตันตปิฎก, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

Pascale Davies. 2561. Microchips are getting under the skin of thousands in Sweden. ค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2561, https://www.beartai.com/news/itnews/247810