คัมภีร์สมันตกูฏวัณณนา: วิเคราะห์ประเด็นเกี่ยวกับคติความเชื่อของศรีลังกา

Main Article Content

พระมหาพจน์ สุวโจ
พระมหาถนอม อานนฺโท

บทคัดย่อ

        บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสารัตถะของคัมภีร์สมันตกูฏวัณณนา และวิเคราะห์ประเด็นเกี่ยวกับคติความเชื่อของศรีลังกาสมัยแต่งคัมภีร์สมันตกูฏวัณณนา ผลการศึกษาพบว่าเนื้อหาของคัมภีร์สมันตกูฏวัณณนาเน้นกล่าวถึงพุทธจริยาวัตร นับตั้งแต่สมัยตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณจนถึงเสด็จเกาะลังกา นอกจากนั้น คัมภีร์ยังเสริมด้วยเรื่องราวของเทพสุมนะในฐานะผู้อารักขาภูเขาสมันตกูฏ เหตุการณ์พระพุทธองค์ทรงประทับรอยพระพุทธบาทบนยอดเขาสมันตกูฏ คติความเชื่อเกี่ยวกับบุญสถานศักดิ์สิทธิ์รอบเกาะลังกาในฐานะเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า และคติความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าฮินดู ซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายสมัยนั้น กล่าวคือเทพอุบลวัณ (ภายหลังเรียกว่าเทพวิษณุ) พระเวเทหเถระผู้แต่งคัมภีร์สมันตกูฏวัณณนา ในฐานะพระสงฆ์นักปราชญ์ได้เห็นความมากอิทธิพลของเทพวิษณุ และเกรงว่าหากคติความเชื่อเช่นนี้แทรกซึมเข้าสู่พิธีกรรมของชาวพุทธ ย่อมจะเป็นเรื่องยากต่อการแก้ไข จึงแต่งคัมภีร์สมันตกูฎวัณณนา เพื่อยกย่องรอยพระพุทธบาทบนยอดเขาสมันตกูฏ ในฐานะบุญสถานศักดิ์สิทธิ์ของชาวศรีลังกา และสรรเสริญเทพสุมนะในฐานะผู้อารักขารอยพระพุทธบาท

Article Details

How to Cite
สุวโจ พระมหาพจน์, และ อานนฺโท พระมหาถนอม. 2022. “คัมภีร์สมันตกูฏวัณณนา: วิเคราะห์ประเด็นเกี่ยวกับคติความเชื่อของศรีลังกา”. ธรรมธารา 8 (1):123-54. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/248879.
บท
บทความวิชาการทางพระพุทธศาสนา
Bookmark and Share

References

• ภาษาไทย

---1. คัมภีร์

พระพุทธโฆสเถระ. อรรถกถาภาษาไทย พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกจตุกกนิบาต มโนรถปูรณี ภาค 2. ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2553.

พระมหานามเถระและคณะบัณฑิต. คัมภีร์มหาวงศ์ ภาค 1. แปลโดย สุเทพ พรมเลิศ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2553.

พระมหานามเถระและคณะบัณฑิต. คัมภีร์มหาวงศ์ ภาค 2. แปลโดย สุเทพ พรมเลิศ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2553.

พระเวเทหเถระ. รสวาหินี. แปลโดย แสง มนวิทูร. พระนคร: โรงพิมพ์คุรุสภา, 2513.

---2. หนังสือ

ดนัย ปรีชาเพิ่มประสิทธิ์. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2555.

ลังกากุมาร. เล่าเรื่องเมือง (ศรี) ลังกา: รวมบทความวิชาการในวาระครบรอบหนึ่งทศวรรษ. นครปฐม: สาละพิมพการ, 2560.

รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. รายงานการวิจัย “บทบาทของลังกาทวีปในฐานะศูนย์กลางพุทธศาสนาต่อพุทธศิลป์ไทย”. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, 2560.

---3. วิทยานิพนธ์

พระมหากวีศักดิ์ วาปีกุลเศรษฐ์. “วรรณกรรมบาลีเรื่องสมันตกูฏวัณณนา: การศึกษาวรรณศิลป์และสังคม.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2563.

• ภาษาต่างประเทศ

---1. คัมภีร์

Alutnuvara Devale Karavima. Manuscripts form British Museum Manuscript.

Pathak. O.P.. Samantakūṭavaṇṇanā (The Eulogy of Samanta Mountain). Delhi: Paramanitra Prakashan, 1990.

Parakumbasirita. Edited K.D.P. Wickramasinghe. Colombo: 1954.

Samansirita, Br. Mus. MS. Or. 6679 (123), CALR, 2 parts. 1.

Savul-sandesaya. Edited by U. Dharmasiri and S. Gamage. Delgoda, 1968.

Savul-asna. edited by P. Aggavamsa. Colombo: T.L. Hendrik, 1925.

Sidat Sangara Vistara Samaya. Edited by Ramalane Dharmakirti Sri Dharmarama Thera. Colombo: Vidya Prabodha Yantralaya, 1934.

The Nikaya Sangrahawa. Translated by C.M. Fernando. Colombo: Government Printer, 1908.

Vedeha Thera. Samantakutavannana. Edited by C.E. Godakumbura. Oxford: The Pali Text Society, 1955.

---2. หนังสือภาษาอังกฤษ

Liyanagamage, Amaradasa. The Decline of Polonnaruwa and the Rise of Dambadeniya. Colombo: S. Godage & Brothers, 2018.

Wickremasighe, D.M. De Zilva. Epigraphia Zeylanica. Vol. II. London: Oxford University Press, 1928.

Dhammapala, Gatare. A Comparative Study of Sinhala Literature. Colombo: Godage International Publishers, 2008.

Mudaliyar, Gunasekara. A Contribution to the History of Ceylon. Colombo: Acting Government Printer, 1895.

IIangasinha, H.B.M.. Buddhism in Medieval Sri Lanka. Delhi: Sri Satguru Pulbications, 1992.

Ray, H.C.. History of Ceylon, Vol. I, Part II. Colombo: Ceylon University Press, 1960.

Holt, John Clifford. The Buddhist Visnu: Religious Transformation, Politics, and Culture. New York: Colombia University Press, 2004.

Norman, K.R.. Pali Literature. Wiesbaden: Otto Harrassowitz, 1983.

Gombrich, Richard. Precept and Practice: Traditional Buddhism in the Rural Highlands of Ceylon. Oxford: Clarendon Press, 1971.

Jayawardhana, Somapala. Handbook of Pali Literature. Colombo: Karunaratne and Sons, 1994.

Geiger, W.. Pali Literature and Language. Translated by Batakrishna Ghosh. Delhi: Oriental Books Reprint Corporation, 1968.

---3. วิทยานิพนธ์ภาษาอังกฤษ

D.A. Premakumara De Silva. “Sri Pada; Diversity and Exclusion in a Sacred Site in Sri Lanka.” PhD Diss., University of Edinburgh, 2005.

Rahula, Telwatte. “Rasavahini: Jambudipuppattivatthu.” PhD Diss., Australian National University, 1981.

Dhammavisuddhi, Yatadolawatte. “The Buddhist Sangha in Ceylon (circa 1200-1400 A.D.).” PhD Diss., University of London, 1970.