ความหลากหลายด้านสถาปัตยกรรมในยุคสุโขทัย: เจดีย์ระฆังและพุ่มข้าวบิณฑ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ เป็นการศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมเจดีย์ในยุคสมัยสุโขทัยในรูปแบบเจดีย์ทรงระฆังและทรงพุ่มข้าวบิณฑ์เพื่อให้เกิดความกระจ่างชัด ซึ่งได้แยกประเด็นในการศึกษาดังนี้ ประเด็นแรก เป็นการศึกษาถึงต้นกำเนิดเจดีย์และพัฒนาการของการออกแบบก่อสร้างเจดีย์ประธานทรงระฆังและพุ่มข้าวบิณฑ์ และประการต่อมา เป็นการวิเคราะห์ถึงข้อสันนิษฐานของแหล่งที่มาของพุทธศิลป์ว่า มีความเกี่ยวข้องและได้รับอิทธิพลมาจากรูปแบบศิลปกรรมของเจดีย์ที่มีมาก่อนและร่วมสมัยสุโขทัยอย่างไร เพื่อหาความเหมือนและความแตกต่างกันทางด้านสถาปัตยกรรมที่มีความหลากหลายของการออกแบบพุทธศิลป์ อย่างไรก็ดี สถาปัตยกรรมเจดีย์ทรงระฆังและทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ในยุคสุโขทัยนั้น มีรูปแบบสถาปัตยกรรมทางพุทธศิลป์ที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ซึ่งได้แสดงให้เห็นว่า มีการรับเอาอิทธิพลทางคติ ความเชื่อ ความศรัทธา แรงบันดาลใจทางวัฒนธรรม และศิลปกรรม มาจากสถาปัตยกรรมเจดีย์ในศิลปะยุคสมัยต่าง ๆ ทั้งก่อนและร่วมสมัยสุโขทัย เช่น ลังกา (ศรีลังกา) ทวารวดี พุกาม (พม่า) ล้านนา แล้วนำมาคิดค้นและออกแบบสถาปัตยกรรมเจดีย์เป็นเอกลักษณ์เฉพาะศิลปะสุโขทัย ซึ่งนับว่าสะท้อนให้เห็นความเป็นศิลปะเฉพาะสกุลช่างสุโขทัยอย่างงดงาม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ สำนักการศึกษา วัดพระธรรมกาย
References
• ภาษาไทย
---1. หนังสือ
กฤษฎา พิณศรี. วิวัฒนาการเจดีย์สถาน ทรงสถูปและทรงปรางค์วิวัฒนาการพุทธสถานไทยกรุงเทพมหานคร: อมรินทร์ พริ้นติ้งกรุ๊พ, 2533.
กรมศิลปากร. จารึกสมัยสุโขทัยกรุงเทพฯ. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร, 2526.
กรมศิลปากร. ชุมนุมโบราณคดี. พระนคร: เขษมบรรณกิจ, 2503.
กรมศิลปากร. วิวัฒนาการพุทธสถานไทย. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้ง กรุ๊พ, 2533.
คงเดช ประพัฒน์ทอง. โบราณคดีประวัติศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: บริษัทรุ่งศิลป์การพิมพ์, 2529.
ณัฏฐภัทร จันทวิช. ความเป็นมาของพุทธสถาน วิวัฒนาการพุทธสถานไทย. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ, 2533.
ธาดา สุทธิธรรม. สถาปัตยกรรมสุโขทัย. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร, 2536.
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. เที่ยวเมืองพระร่วง.กรุงเทพมหานคร: องค์การค้าคุรุสภา, 2526.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. เจดีย์ในประเทศไทย แนวคิด คติการสร้างพัฒนาการทางรูปแบบและการวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2558.
สงวน รอดบุญ. พุทธศิลปะสุโขทัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โอ เอส ปริ้นติ้ง เฮ้าส์, 2533.
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ตํานานพระพุทธเจดีย์. กรุงเทพมหานคร: องค์การค้าคุรุสภา, 2528.
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. สาส์นสมเด็จเล่มที่ 2. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา, 2505.
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. สาส์นสมเด็จ เล่มที่ 5. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา, 2505.
สันติ เล็กสุขุม. งานช่าง คำช่างโบราณ. กรุงเทพมหานคร: มติชน, 2557.
สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะสุโขทัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ, 2555.
สันติ เล็กสุขุม. เจดีย์สมัยสุโขทัยที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์, 2533.
สันติ เล็กสุขุม. เจดีย์ ความเป็นมาและคําศัพท์เรียกองค์ประกอบเจดีย์ในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พิฆเณศ พริ้นติ้งเซ็นเตอร์ จํากัด, 2535.
สันติ เล็กสุขุม. เจดีย์ราย ทรงปราสาทยอด วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์วิชาการ, 2541.
สันติ เล็กสุขุม. เจดีย์: ความเป็นมาและคำศัพท์เรียกองค์ประกอบเจดีย์ในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: มติชน, 2552.
หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล. ประวัติย่อศิลปะลังกา ชวา ขอม. นครหลวงกรุงเทพธนบุรี 2: กรุงสยาม, 2515.
---2. พจนานุกรม ปทานุกรม
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรี นฤนาถ. ปทานุกรม บาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต ฉบับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ. พิมพ์ครั้งที่ 5. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2553.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน, 2556.
---3. บทความ
วรารักษ์ ชะอุ่มงาม. “ข้อสันนิษฐานเพิ่มเติมและประเด็นใหม่เกี่ยวกับเจดีย์ทรงยอดพุ่มข้าวบิณฑ์.” วารสารดำรงวิชาการ, ปีที่ 14, ฉบับที่ 1, (มกราคม-มิถุนายน 2558): 149-168.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. “พุทธศิลป์ไทยในบริบทอาเซียน.” วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่ 27, ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2563): 189-220.
---4. วิทยานิพนธ์
ประเสริฐ จันทร์หอม. “วิวัฒนาการสถาปัตยกรรมเจดีย์ในสมัยสุโขทัย.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540.
---5. ข้อมูลจากเว็บไซต์
มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. “เจดีย์แบบล้านนา (พุทธศตวรรษที่ 19-ปัจจุบัน).” สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2564. https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=37&chap=1&page=t37-1-infodetail05.html.
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). “วัดสระศรี (อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย).” สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2564. https://cbtthailand.dasta.or.th/webapp/relattraction/content/1861/.
EDTguide, “วัดตระพังเงิน สุโขทัย.” สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2564. https://www2.edtguide.com/index.php/www/travel/77200/wat-traphang-ngoen#.
Palanla. “วัดช้างล้อม จังหวัดสุโขทัย ประเทศไทย.” สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2564. https://palanla.com/index.php?op=domesticLocation-detail&id=168.
Palanla. “วัดเจดีย์ 7 แถว ความงดงามเเห่งศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัยประเทศไทย.” สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2564. https://palanla.com/index.php?op=domesticLocation-detail&id=167.
Temple-Thai. “WAT SI PHICHIT KIRATI KANLAYARAM วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม.” สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2564. https://temple-thai.com/sukhothai/wat-si-phichit-kiratikan-layaram/.
silpa-mag.com. “จังหวัดนครปฐมมาจากไหน พระปฐมเจดีย์มีที่มาอย่างไร.” 1 เมษายน 2564. https://www.silpa-mag.com/history/article_56286.
• ภาษาต่างประเทศ
---1. ข้อมูลจากเว็บไซต์
The Editors of Encyclopedia Britannica, “Great Stupa.” Britannica, Accessed August 16, 2021. https://www.britannica.com/place/Great-Stupa-Buddhist-monument-Sanchi-India.
Living+Nomads, “Explore Shwezigon Paya.” livingnomads, May 15, 2018. https://livingnomads.com/2018/05/shwezigon-paya/.
Visit My City Travels, “Anuradapura.” Accessed August 16, 2021. http://visitmycity.lk/anuradapura/.