การตรวจพิจารณาภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ สำหรับผู้ประกอบการแพร่ภาพโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล
คำสำคัญ:
การตรวจพิจารณาภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์, ทีวีดิจิทัล, การกำกับดูแลตนเองของวิชาชีพโฆษณาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทิศทางการกำกับและการมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลภาพยนตร์โฆษณาทางสื่อโทรทัศน์ระบบดิจิทัลภาคพื้นดิน ของผู้ประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ 2) สำรวจความรู้ ความเข้าใจของผู้ประกอบการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์เกี่ยวกับการกำกับดูแลการโฆษณาอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพในภาพยนตร์โฆษณาทางสื่อโทรทัศน์ระบบดิจิทัลภาคพื้นดิน 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค ในการนำแนวทางการกำกับดูแลภาพยนตร์โฆษณาทางสื่อโทรทัศน์ระบบดิจิทัลภาคพื้นดิน ไปปฏิบัติ และใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Methods Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) การตอบแบบทดสอบ (Questionnaire) และการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น (Expert Forum) จากผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการกำกับดูแลภาพยนตร์โฆษณาทางสื่อโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ผลการวิจัยมีดังนี้
จากการสัมภาษณ์เชิงลึก ทิศทางการกำกับดูแลภาพยนตร์โฆษณาทางสื่อโทรทัศน์ พบว่า ความเข้มงวดในการควบคุมโฆษณาโดยภาครัฐมีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะโฆษณาเครื่องสำอาง นอกจากนี้แนวโน้มการกำกับดูแลโฆษณาทางโทรทัศน์ระบบต่างๆ จะเป็นมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งความต้องการให้มีกฎหมายที่สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลง และมีความต้องการเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการดำเนินแผนงาน
จากการตอบแบบทดสอบ ภาพรวมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การตรวจพิจารณาภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ในแง่หลักหลักเกณฑ์การตรวจพิจารณาภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ก่อนและหลังการอบรมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
จากการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น เกี่ยวกับปัญหา อุปสรรค ในการนำแนวทางการกำกับดูแลภาพยนตร์โฆษณาทางสื่อโทรทัศน์ระบบดิจิทัลภาคพื้นดินไปปฏิบัติ และแนวทางในการแก้ไข พบปัญหาเรื่องระดับความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถในการตรวจพิจารณาที่ไม่เท่าเทียมกัน ทั้งนี้ปัญหาเรื่องหลักเกณฑ์ยังไม่สอดคล้องกับการโฆษณาในปัจจุบัน และปัญหาเรื่องการเพิ่มช่องทางการร้องเรียนไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ที่รับผิดชอบ
References
2.นิฤมล หิรัญวิจิตรภรณ์ (2558) ทัศนคติ การรู้เท่าทันสื่อ และพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงโฆษณาออนไลน์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์: คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
3.พรทิพย์ ดีสมโชค. (2546). พัฒนาการเชิงความสัมพันธ์ระหว่างการโฆษณาทางสื่อโทรทัศน์กับการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทยไทย. นนทบุรี: ฝ่ายพัฒนาและเผยแพร่งานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
4.ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2557). การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนากลไกและแนวทางที่เหมาะสมในการตรวจระวัง กำกับดูแล และประเมินผลของกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. เอกสารการวิจัย เสนอต่อ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ.).
5.ศรัญญ์ทิตา ชนะชัยภูวพัฒน์ และคณะ. (2555). แนวทางการกำกับดูแลการโฆษณาในสื่อเคเบิลทีวีท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522. เอกสารการวิจัย เสนอต่อ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
6.สุภางค์ จันทวานิช. (2552). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
7.อนัฆ เอื้อวัณณะโชติมา. (2543). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของนักสร้างสรรค์งานโฆษณาที่มีต่อวิธีการ และกฎหมายควบคุมการโฆษณาทางสื่อโทรทัศน์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
8.Bartle, I., & Vass, P. (2005). Self-regulation and the regulatory state: A survey of policy and practice. Bath: University of Bath.
9.Boddewyn, J.J. (1991) “Controlling sex and decency in advertising around the world”. Journal of Advertising, 20, 4. pp.25-35
10.Cohen, J.M., and Uphoff, N.T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measure For Project Design Implementation and Evaluation: Rural Development Committee Center for international Studies. New York: Cornell University Press.
11.David L. Loudon and Albert J. Della Bitta. (1994). Consumer Behavior: Concepts. New York: McGraw-Hill.
12.Kleinsteuber, Hans j. (2004). The Internet between Regulation and Governance. New Jersey: Wiley & Sons.
13.LaBarbera, P. A. (1980). “Analyzing and advancing the state of the art of advertising self-regulation”. Journal of Advertising, 9(4): 27-38.
14.Maes, Jeanne D., Arthur Jeffery and Tommy V. Smith (1998). “The American Association of Advertising Agencies (4As) Standards of Practice: How Far Does this Professional Association’s Code of Ethics’ Influence Reach?” Journal of Business Ethics, 17(11): 1155-1161.
15.Tambini, D., et all. (2008). Codifying Cyber-space: Communications Self-regulation in the Age of Internet Convergence. New York: Routledge.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์เป็นของวารสาร....