บทบาทของการสื่อสารอินโฟกราฟิกต่อสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐพงษ์ สายพิณ คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

บทบาทสื่อ, การสื่อสาร, อินโฟกราฟิก

บทคัดย่อ

สังคมบริโภคสื่อในปัจจุบันอยู่ในระดับสูงเป็นประวัติการณ์อยู่ในยุคสมัยของจำนวนข้อมูลข่าวสารที่ถูกผลิตขึ้นในแต่ละวันซึ่งมีปริมาณมากมายมหาศาล (Big Data) เกิดจากความหลากหลายของแหล่งที่มา ทั้งการทำธุรกรรมบนมือถือ (mobile transactions) เนื้อหาที่ผู้ใช้สร้างขึ้น (user-generated content) และสื่อสังคมออนไลน์ (social media)  (George, Haas & Pentland, 2014) ซึ่งเป็นภาวะที่ผู้คนประสบกับความยุ่งยากในการเข้าใจประเด็น และตัดสินใจอันเนื่องมาจากมีข้อมูล ข่าวสารมากเกินไป ปริมาณข้อมูลข่าวสารที่ถูกผลิตขึ้นจากองค์กรต่างๆ แปรผกผันกับเวลาของผู้อ่าน ในฐานะผู้บริโภคสื่อที่น้อยลง ต้องการข้อมูลที่ครบและเข้าใจได้ง่ายในระยะเวลาที่จำกัด (McKinsey Global Institute, 2011) รูปแบบ วิธีการ และกลยุทธ์ในการสื่อสารประเด็นเนื้อหาที่เคยมีมาในอดีตจึงเปลี่ยนแปลงไป เช่น สื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโทรทัศน์ มีความจำเป็นต้องเข้าใจสถานการณ์ (Issue) และเนื้อหา (Content) ที่ต้องการสื่อสาร ให้รวดเร็ว สั้นกระชับ และเข้าใจง่าย ท่ามกลางการเติบโตของเทคโนโลยีการสื่อสาร โดยเฉพาะ อินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ที่เข้ามามีบทบาททางการสื่อสารมากขึ้น อินโฟกราฟิกจึงเป็นวิธีการหนึ่ง ที่ถูกนำเข้ามาใช้ในการสื่อสารในสังคมไทย ด้วยการสร้างการนำเสนอสถานการณ์และเนื้อหาที่ครบรอบด้าน เพิ่มการเปิดรับของผู้บริโภคสื่อด้วยการช่วงชิงใช้พื้นที่บนสื่อต่างๆ เพื่อสร้างการรับรู้ การติดตาม และเกิดการบอกต่อด้วยการแบ่งปันข้อมูล (Collingridge 1980; Safran et al., 2006; Markowetz et al., 2014; Mittelstadt & Floridi, 2016)

References

1. กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (18 กันยายน 2559). การออกแบบสาร (Message Design) เพื่อการนำเสนอ. สืบค้นจาก http://www.thairath.co.th/content/edu/89304
2. กาญจนา แก้วเทพ. (2552). การวิเคราะห์สื่อ แนวคิดและเทคนิค. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วน จำกัด ภาพพิมพ์.
3. กาญจนา แก้วเทพ. (2553). แนวพินิจใหม่ในสื่อสารการศึกษา. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วน จำกัด ภาพพิมพ์.
4. จงกลณี จงพรชัย และคณะ. (1 พฤศจิกายน 2559). อินโฟกราฟิกและการประยุกต์ในงานสุขภาพและเภสัชกรรม. วารสารไทยไภษัชยนิพนธ์. สืบค้นจาก https://www.tci-thaijo.org/in dex. php/TBPS/ article/ viewFile /71474/57960
5. จิตราพรรณ รัตนวงษ์. (2559). พฤติกรรมการเปิดรับ ความคาดหวังประโยชน์ ความพึง พอใจที่มีต่ออินโฟกราฟิกของเว็บไซต์ไทยรัฐ. JC Journal ระดับบัณฑิตศึกษา, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 6(2), 190-206.
6. ณินท์นราย์ มโนทิพย์. (2558). ความเชื่อมั่น การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจที่มีต่อ อินโฟกราฟิกของผู้ใช้เฟซบุ๊กที่มีต่ออินโฟกราฟิกในเพจอินโฟกราฟิกมูฟ. การค้นคว้าแบบอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.
7. ไทยรัฐออนไลน์. (18 กันยายน 2559). อินโฟกราฟิก "ย้อนอดีตการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญไทย". สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=2uNXZMxufBw
8. ธัชพล อินทรเทวี. (2556). ทัศนคติของคนไทยที่มีต่อการสื่อสารในรูปแบบอินโฟกราฟิก และข้อความในการรณรงค์เพื่อสังคม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
9. นฤมล ถิ่นวิรัตน์. (2555). อิทธิพลของอินโฟกราฟิกต่อการสื่อสารข้อมูลเชิงซ้อน กรณี ศึกษา โครงการ “รู้สู้ flood”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
10. นัจภัค มีอุสาห์. (2556). อิทธิพลของชุดข้อมูลและสีสันต่อความเข้าใจเนื้อหาของภาพ อินโฟกราฟิก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
11. ภานนท์ คุ้มสุภา. (2558). อินโฟกราฟิกเพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภคในยุคการตลาดเชิงเนื้อหา. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า, 2(1): 159-160
12. อริชัย อรรคอุดม และคณะ. (2559). ร่างโครงการนวกรรมการสื่อสารจากงานวิจัยอาหารเพื่อการบริโภคอย่างถูกต้อง. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
13. อาศิรา พนาราม. (18 กันยายน 2559). Infographic เทรนด์มาแรงในสังคม “เครือข่ายนิยม”. สืบค้นจาก http://www.tcdc.or.th/src/16562
14. , D. (1980). The social control of technology. Palgrave Macmillan.
15. Infographic Thailand. (2017). Gifographic: New Approach to the 2017 infographic. Retrieved from website http://infographic.in.th/infographic/gifographicinfographic%E0%B8%9B% E0%B8%B5-2017
16. Jun Sakurada. (2558). Basic Infographic. นนทบุรี : ไอดีซีฯ.
17. Killer infographics.(2017). Motion Graphics. Retrieved from website http://killerinfographics.com /motion-graphics
18. Lazard, A., & Atkinson, L. (2015). Putting environmental infographics center stage: The role of visuals at the Elaboration Likelihood Model’s critical point of persuasion. Science Communication, 37(1), 6-33. doi: 10.1177/1075547014 555997
19. Markowetz, A., Blaszkiewicz, K., Montag, C., Switala, C., & Schlaepfer, T. E. (2014). Psycho-Informatics: Big Data shaping modern psychometrics. Medical Hypotheses, 82(4), 405-411. doi:10.1016/j.mehy.2013.11.030.
20. Mashable. (2013). Rise of infographics: Marketing in the social-media age. Retrieved from website http://mashable.com/2013/01/26/infographics-marketing/#YcbpPQYwGGqa
21. McKinsey Global Institute. (2011). Big Data: The next frontier for innovation, competition, and productivity. Lexington, KY: McKinsey & Company
22. Mittelstadt, B. D., & Floridi, L. (2016). The ethics of Big Data: Current and foreseeable issues in biomedical contexts. Sci Eng Ethics, 22, 303-341. doi: 10.1007/s11948-015-9652-2
23. Motion Infographic Bkk. (2017). Motion Infographic. Retrieved from website https://www.motioninfographicbkk.com
24. Ross, Andres. (2016). InfoGraphic Design : Overview. Available from http://www.ins tantshift.com/2009/06/07/infographic-designs-overview-examples-and-best-practices (Accessed October 16, 2016)
25. Zhang, Bo. (20 October 2012). Top 5 Most Expensive Nature Disasters in History. Retrieved from website https://www.accuweather.com/en/weather-news/top-5-most-expensive-natural-d/47459/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-25