การบริหารจัดการรายการโทรทัศน์ในยุคไทยแลนด์ 4.0

ผู้แต่ง

  • องอาจ สิงห์ลำพอง อาจารย์ประจำหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, การบริหารจัดการ, การบริหารจัดการ, การบริหารจัดการ, รายการโทรทัศน์, รายการโทรทัศน์, รายการโทรทัศน์, รายการโทรทัศน์, ไทยแลนด์ 4.0, ไทยแลนด์ 4.0, ไทยแลนด์ 4.0, ไทยแลนด์ 4.0

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการรายการโทรทัศน์ในยุคไทยแลนด์4.0 เนื่องจากภาครัฐประกาศผลักดันเดินหน้าเศรษฐกิจประเทศไทยด้วยนโยบายไทยแลนด์4.0 ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมโดยการใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นแรงผลักดันและนำนวัตกรรมเข้ามาช่วย จึงพบว่าในการบริหารจัดการรายการโทรทัศน์ยุคปัจจุบันนั้น สื่อดิจิทัลได้เข้ามาเป็นเทคโนโลยีก่อกวน (Disruptive Technology) ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ กับการดำเนินกิจการโทรทัศน์ จึงต้องใช้ส่วนประสมทางการตลาดสำหรับธุรกิจบริการ เพื่อก่อให้เกิดบริหารจัดการเนื้อหารายการ การบริหารตลาดเพื่อส่งเสริมรายการ รูปแบบการนำเสนอรายการ และช่องทางการแพร่กระจาย ตลอดจนการบริหารเทคโนโลยี  เพื่อสามารถบริหารจัดการรายการโทรทัศน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยบทความนี้ได้มีการทบทวนวรรณกรรมและการวิเคราะห์เอกสารงานวิชาการที่เกี่ยวข้องเพื่อสะท้อนแนวคิดและได้องค์ความรู้ใหม่ในการบริหารจัดการรายการโทรทัศน์เข้าสู่ไทยแลนด์4.0 อันจะนำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมโทรทัศน์ไทยให้มีความเจริญก้าวหน้านำพาให้เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมสื่อของประเทศไทยมีความเข้มแข็งต่อไป

References

1. กรรมพุม บุญทวี. (2553). กระบวนการและหลักการจัดรายการโทรทัศน์. เอกสารการสอนชุดวิชาการจัด
รายการโทรทัศน์หน่วยที่ 1-8. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

2. กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา ส.ค.ส. (2559).พิมพ์เขียว. Thailand4.0. โมเดล
ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน.

3. ชวัล เกษมเนตร. (2557). กลยุทธ์การนำเสนอรายการโทรทัศน์เอสเอ็มอีตีแตก และผลกระทบที่มีต่อ
ธนาคารกสิกรไทยและผู้ประกอบการSME ที่เข้าร่วมรายการ. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์ มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

4. ฐิตินัน บ. คอมมอน. (2560). การบริหารจัดการสื่อโทรทัศน์ในยุคดิจิทัลหลอมรวม.กรุงเทพฯ : ศูนย์วิจัย
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

5. ณัฏฐชาติ พวงสุดรัก.(2560). สำรวจตลาด OTTกับการชิงพื้นที่ทีวีในอนาคต(ตอน 1). รายงานสภาพ
การตลาดกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560.

6. ณัฐชญา ทวีวิทย์ชาครียะ.(2560). หน้ากากนักร้อง (The Mask Singer) : ตัวอย่างความสำเร็จของ
จิตวิทยาในการเข้าถึงผู้ชม.รายงานสภาพการตลาดกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560.

7. ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. (2556). การบริหารงานโทรทัศน์. หน่วยที่ 8-15.เอกสารการสอนชุดวิชาการ
บริหารงานโทรทัศน์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สุโขทัยธรรมาธิราช.

8. ราล์ฟ แคทซ์. (2549). การบริหารจัดการนวัตกรรม.(ณัฐยา สินตระการผล, ผู้แปล). พิมพ์ครั้งที่ 1.
กรุงเทพฯ : ธรรมกมลการพิมพ์.

9. เว็บไซต์ไทยรัฐ. (2560).The Mask Singer ฟีเวอร์ งงเด้. (ออนไลน์), 26 สิงหาคม 2560. เข้าถึงได้จาก :
http://www.thairath.co.th/content/888602

10. เว็บไซต์มีเดียเอเจนซี่. (2560). ADEX Inflation2017.(ออนไลน์), 1 ตุลาคม 2560. เข้าถึงได้จาก :
http://www.mediaagencythai.com/index.php

11. ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ : บริษัท ธรรมสาร จำกัด.

12. เสรี วงษ์มณฑา. (2556). โครงการอบรมพัฒนาวิชาชีพแก่ผู้ประกอบการกิจการกระจายเสียง กิจการ
โทรทัศน์ทั่วประเทศ.หัวข้อบรรยาย รายการเนื้อหาและรูปแบบที่เหมาะสมของเคเบิลทีวีและทีวี
ดาวเทียมในสังคมไทย. สำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม
แห่งชาติ.

13. องอาจ สิงห์ลำพอง. (2557). กระบวนการผลิตละครโทรทัศน์. กรุงเทพฯ :สามลดา.

14. อัฏฐ์ กู้พงษ์ศักดิ์. (2554). กลยุทธ์การจัดรายการช่วงเวลาภาคเช้าทางโทรทัศน์. วารสารนักบริหาร,31(2).
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 259-265.

15. เอ็นเค ทอม (วันที่ 1 กรกฎาคม 2558). คอลัมน์ World Entertainment. จุดยืนที่ชัดเจนจะทำให้อยู่ใน
ระดับท็อป ดร.องอาจ สิงห์ลำพอง. Hi-So Party Magazine, ปีที่ 11, ฉบับที่ 2.178-179

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-25