แนวทางการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในเด็กวัย 3-6 ปี

ผู้แต่ง

  • ดนยา วสุวัต นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาการมนุษย์ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

การผลิตรายการ, รายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก, / เด็กเล็ก, เด็กก่อนวัยเรียน, เด็กอายุ 3-6 ปี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและสร้างรูปแบบ เนื้อหา องค์ประกอบ รวมถึงการใช้เทคนิคเพื่อผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี ด้วยวิธีการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องในวิชาชีพ คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก และผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อสารมวลชน ร่วมกับการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ปกครองเด็กอายุ 3-6 ปี ซึ่งการศึกษานี้นับได้ว่าเป็นการพัฒนาสื่อให้ปลอดภัยและสร้างสรรค์สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กเล็กที่ต้องการการบ่มเพาะทักษะทางสังคมเพื่อให้เติบโตเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพต่อไป

            ผลการศึกษาพบว่า การผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปีที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ต้องให้ความสำคัญหาจุดลงตัวของการสร้างสรรค์งานจากคุณลักษณะที่ดีของสื่อโทรทัศน์ ร่วมกับการสร้างเนื้อหาที่เหมาะสมบนพื้นฐานความรู้ความเข้าใจพัฒนาการเด็ก เพื่อให้เด็กเล็กได้รับโอกาสในการเสริมสร้างพัฒนาการด้านคุณธรรมจริยธรรมในช่วงอายุที่เหมาะสม โดยแนวทางในการผลิตรายการสำหรับเด็กควรเป็นรูปแบบรายการที่ให้สาระควบคู่ความเพลิดเพลิน มีความชัดเจน เป็นรูปธรรม เข้าใจง่าย เน้นการสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา เนื้อหาใกล้ตัวเด็ก ผูกเป็นเรื่องราวสั้นง่าย เน้นคุณธรรมพื้นฐานเพื่อการต่อยอดสู่คุณธรรมจริยธรรมที่สูงขึ้น ความยาวเหมาะสมกับการให้ความสนใจของเด็ก เลือกใช้องค์ประกอบศิลป์ทั้งภาพและเสียง การใช้พิธีกรหรือตัวเดินเรื่อง รวมถึงเทคนิคที่เหมาะกับเด็กเล็กทั้งยังดึงดูดความสนใจเด็กได้ดี

References

1.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ม.ป.ป.) พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและ
เยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550, (ม.ป.ท.).

2. กลุ่มการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเด็ก สํานักส่งเสริมและพิทักษ์เด็ก สํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและ
พิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ (ม.ป.ป.) คู่มือแนวทางการจัดกิจกรรมด้วยสื่อสร้างสรรค์คุณธรรม จริยธรรม : วรรณกรรมสําหรับเด็กและเยาวชน, ม.ป.ท.

3. กองคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (ม.ป.ป.) คู่มือการจัดระดับความเหมาะสม
ของรายการโทรทัศน์, ม.ป.ท. กรมประชาสัมพันธ์.

4. กาญจนา แก้วเทพ (2542) การวิเคราะห์สื่อ: แนวคิดและเทคนิค, พิมพ์ครั้งที่ 2, เอดิสัน เพรส โพรดักส์: .

5. กาญจนา แก้วเทพ, นันทกา สุธรรมประเสริฐ และเอกธิดา เสริมทอง. (2554) ผู้คนที่หลากหลายในการ
สื่อสาร: เด็ก สตรี และผู้สูงวัย, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

6. กาญจนา แก้วเทพ (2556) สื่อสารมวลชน: ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา, พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ:
ภาพพิมพ์.

7. เกวลิน กายทอง และวารุณี คงสถาน บรรณาธิการ (2551) ทีวีพี่เลี้ยงคนใหม่, พิมพ์ครั้งแรก, กรุงเทพฯ:
สาราเด็ก.

8. กันตวรรณ มีสมสาร. (2560, 5 มีนาคม). นักวิชาการด้านปฐมวัยศึกษา, สัมภาษณ์

9. งานพัฒนาสมองเพื่อการเรียนรู้ (2558) แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมองสำหรับเด็กวัย
3-6 ปี,: ธนาพริ้นติ้ง.

10. ชาคริยา ธีรเนตร. (2551). “ผลกระทบของสื่อที่มีต่อเด็ก.” ใน นิชรา เรืองดารกานนท์ และคนอื่น ๆ
(บรรณาธิการ), ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก, 57-69. กรุงเทพ: โฮลิสติก พับลิซซิ่ง.

11. ธีรพัฒน์ อังศุชวาล (2555) กว่าจะเป็น Family Awards รายการโทรทัศน์ในดวงใจครอบครัว: แนวคิด
กระบวนการ และประสบการณ์, ภาพพิมพ์: เครือข่ายเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ.

12. นับทอง ทองใบ (2553) ศิลปวิจารณ์ รายการวิทยุโทรทัศน์, พิมพ์ครั้งแรก, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
นัยพินิจ คชภักดี. (2551). "พัฒนาการของสมอง." แหล่งสืบค้น :
http://neuroscience.mahidol.ac.th/NBBC2009/NK_BrainDevelopment2008.pdf
(สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2559).

13. นิตยา คชภักดี (2543) ขั้นตอนการพัฒนาของเด็กปฐมวัยตั้งแต่ปฏิสนธิถึง 5 ปี, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

14. นฤมล รื่นไวย์ (2552) จอตู้(ต่างแดน) เลาะดูขบวนการปกป้องเด็ก, พิมพ์ครั้งที่ 1, : ปิ่นโต พับลิชชิ่ง.

15. นฤมล รื่นไวย์ (2552) พ่อแม่มือโปรดูโทรทัศน์กับลูก, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะ
เยาวชน มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก.

16. ปริชมน กาลพัฒน์ (2554) “การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน: Brain-based learning.” ข่าวสารวิชาการ
หน่วยทะเบียนและพัฒนาวิชาการ งานบริการการศึกษาและพัฒนาคุณภาพนักศึกษา คณะเภสัช
ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, กันยายน 2554, [ออนไลน์]. แหล่งสืบค้น:
http://www.pharmacy.cmu.ac.th/unit/unit_files/files_download/2011-10-19%E0%B8%81.%E0%B8%A2.54%20doc.pdf (สืบค้นเมื่อ: 6 มิถุนายน 2559).

17. แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (ม.ป.ป.) โทรทัศน์กับเด็ก Fact sheet รวบรวมความรู้เกี่ยวโทรทัศน์กับ
เด็ก, ม.ป.ท.

18. พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ (2551) ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ, พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.

19. เพ็ญพิไล ฤทธาคณานนท์ (2550) พัฒนาการมนุษย์, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: ธรรมดาเพรส.

20. รุ่งนภา ตั้งจิตรเจริญกุล (2554) “การสำรวจสถานภาพสื่อโทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์ด้านการปลูกฝังคุณธรรม
ศีลธรรม.” วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, ปีที่ 24(ฉบับที่ 1), หน้า. 102-120 [ออนไลน์]. แหล่งสืบค้น:
http://portal.edu.chula.ac.th/pub/jrm/index.php/jrm/article/view/217/pdf_176 (สืบค้นเมื่อ:
6 มิถุนายน 2559).

21. ลักษมี คงลาภ (กันยายน 2551) “การวิเคราะห์เนื้อหารายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก ครั้งที่ 1 จากการศึกษา
รายการโทรทัศน์สำหรับเด็กสำหรับเด็กอายุ 3-12 ปี.” แหล่งสืบค้น:
http://cclickthailand.com/contents/research/Content-analysis-of-children-is-television.pdf (สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2557).

22. วีระศักดิ์ ชลไชยะ. (2556). “ผลของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่อพัฒนาการ พฤติกรรมและสุขภาพของเด็ก.” ใน
ทิพยวรรณ หรรษคุณาชัย และคนอื่น ๆ (บรรณาธิการ), ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก, เล่ม 3,
การดูแลเด็กสุขภาพดี, 70-72. ม.ป.ท.: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์.

23. ศรีเรือน แก้วกังวาล (2540) จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย แนวคิดเชิงทฤษฎี-วัยเด็กตอนกลาง,
พิมพ์ครั้งที่ 7, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

24. สายสุรี จุติกุล และคนอื่น ๆ (ม.ป.ป.) นโยบายและแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติด้านการพัฒนาเด็กตาม
แนวทาง "โลกที่เหมาะสมสำหรับเด็ก" (พ.ศ. 2550-2559) , พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

25. สายฤดี วรกิจโภคาทร, ศิวพร ปกป้อง, บัญญัติ ยงย่วน, วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์ และ สร้อยบุญ ทรายทอง
(2552) สังคมคุณธรรม คู่มือการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมในสถาบันศาสนา หน่วยงานของรัฐและ
เอกชน, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม).

26. สำนักการประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ กรมประชาสัมพันธ์ (2556) สรุปผล การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง
“การผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก” (Children’s TV Programme) , ม.ป.ท.

27. สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย (ม.ป.ป.) คู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด - 5 ปี สำหรับผู้เลี้ยงดูเด็ก
ในครอบครัวและศูนย์เด็กเล็ก, 1 edn., กรุงเทพ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์
ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.

28. Bernadette J. Saunders and Christ Goddard (2000) Inquiry into the Effects of Television and
Multimedia on Children and Families in Victoria. [Online]. Available at:
http://www.parliament.vic.gov.au/images/stories/committees/fcdc/inquiries/54th/FCDC_TVMM_Final_Report.pdf (Accessed: 17 July 2016).

29. Levine E. Laura and Munsch Joyce. (2011) Child Development: An Active Learning Approach,
1st edn., Canada: Sage Publications.

30. Martorell Gabriela, Papalia E. Diane and Feldman Duskin Ruth. (n.d.) Child's World Infancy
Through Adolescence, International Edition edn., : McGraw-Hill Education.

31. Schiller Pam (2010) “Early brain development research review and update.'' Brain Development
Exchange. (Nov/Dec 2010), pp. 26-30 [Online]. Available at: https://www.childcareexchange.com/library/5019626.pdf (Accessed: 8 July 2016).

32. Shaffer R. David and Kipp Katherine. (n.d.) Developmental Psychology: Childhood and
Adolescence, 8 edn., Canada: Wadsaorth.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-25