การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
คำสำคัญ:
การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา, การจัดการเรียนการสอน, หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต, การพัฒนาหลักสูตรบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา ตามหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาถึงประสิทธิภาพของผู้เรียนหลังจากผ่านหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2553) 2) ศึกษาองค์ประกอบที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการเรียนของผู้เรียน และ 3) ศึกษาแนวทางในการปรับปรุงองค์ประกอบของหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต ผู้ศึกษาได้ทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งได้แก่ นักศึกษาภาควิชานิเทศศาสตร์ ภาคปกติ รหัส 56 ทุกคน จำนวนทั้งสิ้น 115 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม ผลการศึกษาเบื้องต้นทางด้านประสิทธิภาพของผู้เรียนหลังจากผ่านหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2553) พบว่าผู้เรียนมีความรู้เบื้องต้นทางด้านหลักนิเทศศาสตร์และหลักสื่อสารมวลชนในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 83.9 และมีความเข้าใจในทฤษฎีด้านนิเทศศาสตร์และสื่อสารมวลชนในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 78.1 ซึ่งหลังจากเรียนแล้วสามารถอธิบายทฤษฎีด้านนิเทศศาสตร์และสื่อสารมวลชนเบื้องต้นและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 66.4
สำหรับทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ นักศึกษามีความสามารถในการใช้ทั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานและโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่องานด้านนิเทศศาสตร์ได้เป็นอย่างดีในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 51.8 นอกจากนี้นักศึกษาส่วนใหญ่มีทักษะในการถ่ายภาพเพื่อนำเสนองานด้วยกล้องถ่ายภาพไม่ว่าจะเป็นกล้องถ่ายภาพนิ่งแบบใช้ฟิล์ม กล้องถ่ายภาพนิ่งแบบดิจิตอล และกล้องถ่ายภาพเคลื่อนไหวอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 56.2
องค์ประกอบที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการเรียนนั้น ผลการศึกษาพบว่าเนื้อหาในแต่ละรายวิชาส่วนใหญ่มีความทันสมัยน่าสนใจในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 75.9 และมีประโยชน์ต่อการใช้ในชีวิตประจำวันรวมไปถึงการดำรงชีวิตในสังคมในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 69.3 ส่วนการจัดช่วงเวลาในการเรียนนั้นนักศึกษาเห็นว่ามีความเหมาะสมมาก คิดเป็นร้อยละ 70.7 จำนวนผู้เรียนและขนาดของห้องเรียนมีความพอดีกับจำนวนของผู้เรียนในแต่ละหมู่เรียนอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 70.1 และจำนวนสื่อการเรียนการสอน อุปกรณ์การเรียนการสอนเหมาะสมทันสมัยอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 40.9 ส่วนในด้านการจัดการเรียนการสอนนั้นอาจารย์ผู้สอนในแต่ละรายวิชาเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจทางด้านนิเทศศาสตร์เป็นอย่างมาก คิดเป็นร้อยละ 46.7 สามารถใช้สื่อประกอบการสอนอย่างเหมาะสม และยังมีการใช้วิธีการสอนและเทคนิคการสอนที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 58.4 เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ซักถามหรือแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 57.7
References
2. วินัย วีระวัฒนานนท์. (2542). สิ่งแวดล้อมศึกษา (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
3. วิชัย วงษ์ใหญ่. (2537). กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
4. สงัด อุทรานันท์. (2532). พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มิตรสยาม.
5. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1. (2558). การจัดการเรียนการสอน. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.surinarea1.go.th (สืบค้นข้อมูล : 15 มีนาคม 2559).
6. สำนักพัฒนานโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์ส่วนประเมินผล. (2558). แนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารมวลชน. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.prd.go.th (สืบค้นข้อมูล : 15 กันยายน 2559).
7. สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2558). รายชื่อนักศึกษาลงทะเบียน. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://acdemic.cmru.ac.th (สืบค้นข้อมูล : 15 ตุลาคม 2559).
8. Freedom Life. (2008). ทฤษฎีการศึกษา. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://witthawas.multiply.com/ journal/item/6 (สืบค้นข้อมูล : 15 มีนาคม 2559).
9. OPINION GROUP. (2545). คู่มือ-ข้อสอบ นิเทศศาสตร์ปริญญาโท. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สกายบุ๊กส์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์เป็นของวารสาร....