การศึกษามิวสิกวิดีโอเพลงลูกทุ่งร่วมสมัย : อุดมการณ์และการผสมผสานทางวัฒนธรรม

ผู้แต่ง

  • ภูมิสิษฐ์ กฤตพิพัฒนโชติ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

คำสำคัญ:

มิวสิกวิดีโอ, เพลงลูกทุ่งร่วมสมัย, อุดมการณ์

บทคัดย่อ

การศึกษามิวสิกวิดีโอเพลงลูกทุ่งร่วมสมัย : อุดมการณ์และการผสมสานทางวัฒนธรรม เป็นการวิเคราะห์  ตัวบท ( Textual Analysis ) ของมิวสิกวิดีโอเพลงลูกทุ่งร่วมสมัย จำนวน 10 มิวสิกวิดีโอเพลงซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอุดมการณ์ที่เสนอผ่านมิวสิกวิดีโอเพลงลูกทุ่งร่วมสมัย และลักษณะ การผสมผสานทางวัฒนธรรมผ่านการนำเสนอในมิวสิกวิดีโอเพลงลูกทุ่งยุคร่วมสมัย ผลการศึกษาพบว่า  มิวสิกวิดีโอเพลงลูกทุ่งยุคร่วมสมัยได้รับอิทธิพล จากวัฒนธรรมตะวันตกและวัฒนธรรมเอเชียมาผสมผสานกับวัฒนธรรมไทย นอกจากนั้น มิวสิกวิดีโอเพลงลูกทุ่งร่วมสมัยยังได้รับเอาอุดมการณ์ทุนนิยมมาใช้ในขั้นตอนต่างๆของกระบวนการผลิต รวมทั้งยังมีวิธีการนำเสนอที่หลาก หลายมากขึ้น โดยพบรูปแบบการนำเสนอในมิวสิกวิดีโอเพลงลูกทุ่งร่วมสมัยที่ใช้มากถึง 4 รูปแบบ ได้แก่ 1. รูปแบบการแสดงและการสื่อความหมายผสมกัน 2. รูปแบบการแสดงเป็นหลัก 3. รูปแบบการแสดงซ้อนการสื่อความหมาย และ 4. รูปแบบการแสดงซ้อนการสื่อความหมายและโฆษณาแฝง

References

1. กาญจนา แก้วเทพ. (2541). การวิเคราะห์สื่อ: แนวคิดและเทคนิค. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

2. กาญจนา แก้วเทพ. (2541). สื่อสารมวลชน: ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

3. ขจร ฝ้ายเทศ. (2547). การสื่อสารทางการเมืองในเพลงลูกทุ่งไทย พ.ศ. 2507-2547. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). สื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

4. ภูมิสิษฐ์ กฤตพิพัฒนโชติ์. (2558). การศึกษาเปรียบเทียบการเล่าเรื่องและสื่อความหมายในมิวสิกวิดีโอเพลงลูกทุ่งยุคคลาสสิกกับยุคร่วมสมัย. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). นิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

5. ภัสวลี นิติเกษตรสุนทร และคณะ. (2548). ประมวลสาระชุดวิชาปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

6. ลำเนา เอี่ยมสะอาด. (2539). การวิเคราะห์เพลงไทยสมัยนิยมแนวร็อค. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). นิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

7. ศิริชัย ศิริกายะ และกาญจนา แก้วเทพ. (2531). ทฤษฎีการสื่อสารมวลชน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

8. สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2538). “เพลงลูกทุ่ง.” ในไทยลูกทุ่ง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

9. สุรพล บุญลือ. (2556). เอกสารประกอบการอบรมสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา หลักสูตรการผลิตรายการโทรทัศน์และวิดีทัศน์เพื่อการศึกษาปี 2556.

10. อินทิรา เฮ็งทับทิม. (2554). โครงการออกแบบโครงการออกแบบมิวสิกวิดีโอเพลง ลมเบาเบาของวง Scrubb อัลบั้ม Kid. (ศิลปะนิพนธ์ศิลปะบัณฑิต). สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-25