สื่อกับผู้สูงอายุในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ระวีวรรณ ทรัพย์อินทร์ อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ญาศิณี เคารพธรรม อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, สังคมผู้สูงอายุ, สื่อ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานำเสนอผลการศึกษาประเด็น องค์ความรู้ด้านพฤติกรรมการใช้สื่อของผู้สูงอายุ  ผลกระทบของสื่อต่อผู้สูงอายุ และลักษณะเนื้อหาในสื่อที่ผู้สูงอายุต้องการ ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางเพื่อนำมาสรุปและสังเคราะห์เป็นข้อเสนอแนะเพื่อส่งเสริมการพัฒนาสื่อสำหรับผู้สูงอายุ และเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อการศึกษาเข้าใจในประเด็นเรื่องสื่อกับผู้สูงอายุอย่างละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้นต่อไป ซึ่งจากการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุมีแนวโน้มในการใช้สื่อออนไลน์มากขึ้น  แต่สื่อหลักอย่างโทรทัศน์และวิทยุก็ยังคงเป็นสื่อที่เข้าถึงผู้สูงอายุได้มากที่สุด โดยปัจจัยด้านการศึกษา และปัจจัยทางด้านสังคม สภาพครอบครัวและฐานะทางเศรษฐกิจ ตลอดจนปัจจัยทางกายภาพ เช่น พื้นที่อยู่อาศัย นั้นก็ล้วนส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้สื่อทั้งสิ้น  ส่วนผลกระทบของสื่อต่อผู้สูงอายุนั้นมีทั้งทางลบและทางบวกทั้งด้านสุขภาพร่างกายและสภาพจิตใจ สำหรับเนื้อหาในสื่อที่ผู้สูงอายุต้องการ คือเนื้อหาลักษณะที่ส่งเสริมภาพลักษณ์เชิงบวกที่สะท้อนศักยภาพของผู้สูงอายุ เนื้อหาที่เน้นความรักความผูกพันระหว่างผู้สูงอายุกับครอบครัว   ทั้งนี้เนื้อและรูปแบบการนำเสนอสื่อนั้นต้องสอดคล้องความต้องการที่หลากหลายของผู้สูงอายุด้วย

References

1. ETDA เผยผลสำรวจพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตคนไทย ปี 2559 Thailand Internet User Profile 2016
สืบค้นเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2559. จาก https://www.it24hrs.com/2016/etda-thailand-internet-user-profile-2016/

2. กันตพล บันทัดทอง. (2558). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และความพึงพอใจของกลุ่มคนผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

3. กาญจนา แก้วเทพ. (2543). สื่อมวลชน ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:
บริษัทเอดิสัน เพรส โปรดักส์ จำกัด.

4. กาญจนา แก้วเทพ. (2554). ผู้คนที่หลากหลายในการสื่อสาร: เด็ก สตรี และผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์

5. จารุวรรณ นิธิไพบูลย์ สันทัด ทองรินทร์ และวิทยาธร ท่อแก้ว. (2559). การพัฒนารายการโทรทัศน์เพื่อ
ผู้สูงอายุ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
(พฤษภาคม – สิงหาคม 2559).

6. ช่องทีวีคนสูงวัย เซกเม้นท์นี้ “อาร์เอส” จอง. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2559. จาก
https://positioningmag.com/60832

7. เผยแนวโน้ม “สื่อรุ่ง – สื่อร่วง” ปี ’59 ชี้ชะตาอนาคตสื่อปีหน้า ใครจะได้ไปต่อ !! สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม
2559. จาก https://www.brandbuffet.in.th/2016/12/kantar-worldpanel-media-profiler-2016

8. พนม คลี่ฉายา. (2555). ความต้องการข่าวสาร การใช้สื่อ และนิสัยการเปิดรับสื่อของผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

9. ภัทรา เรืองสวัสดิ์. (2553). รูปแบบการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของคนวัย
ทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

10. เลิศหญิง หิรัญโร. (2545). รูปแบบการดำเนินชีวิต พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการบริโภคสินค้า และบริการของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร. คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

11. วรนารถ ดวงอุดม. (2555). การพัฒนาสื่อที่เหมาะสมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดแพร่. จันทรเกษมสาร (มกราคม - มิถุนายน 2555).

12. ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2540). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สูงวัย....ใจสตรอง (STRONG). สืบค้นวันที่ 26 ธันวาคม 2559 จาก https://ebook.nic.go.th/smart_aged/smart_aged.pdf

13. สังคมผู้สูงวัย สื่ออาจไม่ใช่เพื่อน อย่าให้ทีวีดูแลคนแก่.สืบค้นวันที่ 1 ธันวาคม 2559 จาก https://www.opm.go.th/opmportal/multimedia/pimjaing/File/september/2/13.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-25