การแสวงหาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุในตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • ดลฤดี ศรีมันตะ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

คำสำคัญ:

การแสวงหาความรู้, / การสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์, พฤติกรรการสื่อสาร, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุในตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 2. เพื่อศึกษาทัศนคติที่มีต่อการสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุในตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 3. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุในตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 4. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์กับทัศนคติที่มีต่อการสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุในตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 5. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์กับพฤติกรรมการสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุในตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และ 6. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติที่มีต่อการสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์กับพฤติกรรมการสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุในตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 360 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 นอกจากนี้งานวิจัยยังใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้สูงอายุจำนวน 15 คน เพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมในเชิงกว้างและลึกจากคำถามที่ใช้ในแบบสอบถาม

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง มีอายุ 60 ปี – 65 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี มีอาชีพค้าขาย/ประกอบธุรกิจ มีรายได้ส่วนตัวต่อเดือนโดยเฉลี่ยน้อยกว่าหรือเท่ากับ 15,000 บาท มีแหล่งที่มาของรายได้จากการประกอบอาชีพที่ทำอยู่ในปัจจุบัน มีสถานภาพสมรส และอยู่ร่วมกับคู่สมรส และพักอาศัยอยู่กับคู่สมรส กลุ่มตัวอย่างมีการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์อยู่ในระดับปานกลาง (xˉ = 2.99, S.D. = 0.786) มีทัศนคติที่มีต่อการสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์อยู่ในระดับปานกลาง (xˉ = 3.34, S.D. = 0.792) และมีพฤติกรรมการสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์อยู่ในระดับปานกลาง (xˉ = 3.00, S.D. = 0.804) สำหรับผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัยที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 พบว่า การแสวงหาความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวก

สำหรับการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุในตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า ผู้สูงอายุมีการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์จากสื่อประเภทต่างๆ เช่น สื่อมวลชน สื่อบุคคล สื่อใหม่ และสื่อเฉพาะกิจ โดยเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการโทรสนทนาผ่านไลน์ การส่งข้อความและการส่งรูปภาพ โดยมีทัศนคติที่มีต่อการสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ว่า เป็นการสื่อสารที่มีประโยชน์เพราะสามารถใช้ในการติดต่อสื่อสารและติดตามข้อมูลข่าวสารความรู้ต่างๆ ใช้งานไม่ยาก มีความสะดวกในการติดต่อสื่อสารมากขึ้น สำหรับพฤติกรรมการสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ได้แก่ ใช้ไลน์ (LINE) และเฟซบุ๊ก (Facebook) ทุกวัน ใช้แต่ละครั้งน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30 นาที ใช้เพื่อติดต่อสื่อสารกับเพื่อน ใช้เพื่อค้นคว้าข้อมูลต่างๆ ใช้ติดต่อสื่อสารกับบุตรหลาน และใช้เพื่อประกอบธุรกิจของตนเอง และเห็นว่ามีผลเสียคืออาจจะเกิดความไม่เข้าใจกันในการติดต่อสื่อสารและเสียเวลาไปทำอย่างอื่น

Author Biography

ดลฤดี ศรีมันตะ, คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

References

1. ขวัญเรือน กิตติวัฒน์. (2531). พฤติกรรมการสื่อสาร. ใน พลศาสตร์การสื่อสาร (ล. 1, น. 8, 10- 11). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

2. จุฑามณี คายะนันทน์. (2554). พฤติกรรมและผลกระทบจากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊คดอทคอม (www.facebook.com). รายงานโครงการเฉพาะบุคคลปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

3. จุฑารัตน์ ประเสริฐ. (2557). พฤติกรรมการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์กับการรับรู้ตนเองและสร้าง ความสัมพันธ์กับผู้อื่นของผู้สูงอายุไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

4. จุมพล รอดคำดี. (2532). สื่อมวลชนเพื่อการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

5. ดวงทิพย์ เจริญรุกข์ เผื่อนโชติ. (2556). ทัศคติ การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีต่อเครือข่ายสังคมออนไลน์. ใน นิเทศศาสตร์ ปริทัศน์. 17 (1), (กรกฎาคม - ธันวาคม), 25-37, มหาวิทยาลัยรังสิต.

6. นันทิช ฉลองโภคศิลชัย และหทัยชนก สุขเจริญ. (2555). พฤติกรรมการใช้เฟซบุค (Facebook) ของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการ. จุลนิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร เพชรบุรี.

7. ปรมะ สตะเวทิน. (2533). หลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

8. พรทิพย์ วรกิจโภคาทร. (2529). ความสำคัญของผู้รับสาร. ใน เอกสารการสอนชุดหลักและทฤษฎีการสื่อสาร. (หน่วยที่ 6). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

9. วิมลพรรณ อาภาเวท ชาญ เดชอัศวนง และสาวิตรี ชีวะสาธน์. (2554). พฤติกรรมการสื่อสารในเฟซบุ๊ค (Facebook) ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

10. วิรัช ลภิรัตนกุล. (2527). การประชาสัมพันธ์ระหว่างประเทศ. ภาควิชาประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศ ศาสตร์,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

11. สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2533). การสื่อสารกับสังคม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรางคณา วายุภาพ. (2558). ผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2558. จาก https://thumbsup.in.th/2014/08/thailand- internet-user- profile-2014/.

12. องค์การบริหารส่วนตำบลบางแก้ว. (2554). ลักษณะสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลบางแก้ว. (ออนไลน์). สืบค้นวันที่ 11 กันยายน 2558. จาก https://www.tambonbangkaew.go.th/public/social/data/index/menu/25.social-media.

13. องอาจ ฤทธิ์ทองพิทักษ์. (2539). พฤติกรรมการสื่อสารผ่านระบบเวิลด์ไวด์เว็บของนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

14. อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. (2542). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

15. เอมิกา เหมมินทร์. (2556). พฤติกรรมการใช้และความคิดเห็นเกี่ยวกับผลที่ได้จากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Media). วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสถิติ ประยุกต์ คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

16. Atkin, C. K. (1973). Instrumental utilities and Information Seeking. In Clarke P. (ed.), New Models for Mass Communication Research. Beverly Hill: Sage.

17. Cronbach, Lee Joseph. (1984). Essential of Psychology and Education. New York: Mc–Graw Hill.

18. Yamane, T. (1967). Statistics and introduction analysis. 2nd ed. New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-02