การสื่อสารเพื่อช่วงชิงพื้นที่ทางความคิดในการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม กรณีโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดกระบี่

ผู้แต่ง

  • ทิพย์อนงค์ จินตวิจิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • สมสุข หินวิมาน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การสื่อสาร, การช่วงชิงพื้นที่ทางความคิด / การเคลื่อนไหวทางสังคม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการสื่อสารของกลุ่มผู้สนับสนุนและกลุ่มผู้คัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดกระบี่ในการช่วงชิงพื้นที่ทางความคิด โดยใช้วิธีการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวกับโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ โดยแบ่งช่วงเวลาการเก็บข้อมูลเป็น 3 ช่วง ช่วงที่1 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2555 – เดือนธันวาคม พ.ศ.2557 ช่วงที่ 2 เดือนมกราคม – เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2558 และช่วงที่3 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2559 – มีนาคม พ.ศ.2560 โดยผู้วิจัยเลือกใช้แหล่งข้อมูล 3 แหล่งคือ 1)แหล่งข้อมูลประเภทเอกสาร ได้แก่ สื่อระดับชาติ สื่อเฉพาะกิจ 2)แหล่งข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ เว็บไซต์, เฟสบุ๊ค 3) สื่อกิจกรรม

          ผู้วิจัยได้ศึกษาการใช้สื่อของกลุ่มผู้สนับสนุนและกลุ่มผู้คัดค้าน โดยแต่ละฝ่ายมีการสร้างกลุ่มทางประวัติศาสตร์ (Historical Bloc) ของตนขึ้นมา และทำการช่วงชิงพื้นที่ทางความคิดผ่านสื่อ อันนำมาซึ่งชัยชนะของแต่ละฝ่ายผ่านชุดความหมายที่สร้างขึ้น จากการวิจัยพบว่าฝ่ายผู้สนับสนุนมีการช่วงชิงพื้นที่ทางความคิดโดยใช้สื่อ ดังนี้ 1. สื่อกิจกรรม 2. สื่อประชาสัมพันธ์ 3. การใช้สื่อท้องถิ่น 4. สื่อมวลชนกระแสหลัก 5.เว็บไซต์ 6.เฟสบุ๊ค โดยมีเป้าหมายให้ผู้รับสารเห็นด้วยกับโครงการ เปลี่ยนแปลงความคิด และหาแนวร่วมในการสนับสนุน

ในส่วนของกลุ่มผู้คัดค้านมีการสื่อสารผ่านเว็บไซต์กรีนพีซต่อผู้ที่สนใจเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมและคนทั่วไปที่เข้าชมเว็บไซต์ และใช้เพจหยุดถ่านหินกระบี่ในเฟซบุ๊ค เป็นช่องทางหลักในการสื่อสารกับแนวร่วมในการคัดค้าน ผู้ที่สนใจ โดยมีการนำเสนอข่าวสารการเคลื่อนไหวต่างๆของทางกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นการเดินขบวน การยื่นหนังสือ และให้ข้อมูลถึงพิษภัยของโรงไฟฟ้าถ่านหิน และรายงานสถานการณ์สดในการชุมนุม รวมถึงใช้เป็นช่องทางในการให้ข้อมูลตอบโต้การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ผู้เป็นเจ้าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดกระบี่ด้วย

Author Biographies

ทิพย์อนงค์ จินตวิจิต, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นักศึกษาหลักสูตรปริญญาเอก คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สมสุข หินวิมาน, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อาจารย์ประจำ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

References

1. กาญจนา แก้วเทพ และ สมสุข หินวิมาน. (2553). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎี เศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์

2. คมชัดลึก. (2557, 21 เมษายน). ผู้นำองค์กรท้องถิ่นหนุนสร้างโรงไฟฟ้ากระบี่ (2). หน้า 9

3. วีระศักร จันทร์ส่งแสง. ( 2560). เอาถ่านไหมกระบี่ถามไทยก่อนเลือกทาง. สารคดี, 33(385). หน้า 71-72.

4. สุเจน กรรพฤทธิ์. (2560). จับตาโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน. สารคดี, 33(385), หน้า 82-83.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-05