การถ่ายทอดวัฒนธรรมผ่านการเล่าเรื่องจากละครชุดอินเดีย สีดาราม ศึกรักมหาลงกา
คำสำคัญ:
การถ่ายทอดวัฒนธรรม, วัฒนธรรมอินเดีย, การเล่าเรื่องบทคัดย่อ
งานวิจัย “การถ่ายทอดวัฒนธรรมผ่านการเล่าเรื่องจากละครชุดอินเดีย สีดาราม ศึกรักมหาลงกา” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการเล่าเรื่องและการถ่ายทอดวัฒนธรรมอินเดียที่สะท้อนผ่านละครชุดสีดาราม ศึกรักมหาลงกา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบการวิเคราะห์จากตัวบท (Textual Analysis) ทำการศึกษาจากละครชุดจำนวนทั้งสิ้น 110 ตอน ตอนละ 1 ชั่วโมง ผลการวิจัยพบว่า วิธีการการเล่าเรื่องในละครชุดสีดาราม ศึกรักมหาลงกา นั้น มีองค์ประกอบโครงสร้างการเล่าเรื่อง 7 องค์ประกอบ โดยมีโครงเรื่องที่ประกอบด้วยการเปิดเรื่อง การพัฒนาเหตุการณ์ จุดสูงสุดทางอารมณ์ การคลี่คลายเรื่อง และการจบเรื่อง ที่ถูกนำเสนอออกมาอย่างครบถ้วน ผ่านเส้นทางความรักของพระรามและสีดาด้วยแก่นความคิดเกี่ยวกับสัจจะวาจาที่ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญของการเป็นมนุษย์ ภายใต้ความขัดแย้งทั้งมนุษย์กับอมนุษย์และอมนุษย์กับอมนุษย์ ผ่านเหตุการณ์ที่มีปัจจัยด้านเวลา ปัจจัยด้านภูมิศาสตร์ ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและโครงสร้างสังคม และปัจจัยด้านประเพณี ค่านิยม ศีลธรรมและธรรมเนียมปฏิบัติ พร้อมทั้งการตีความหมายภายใต้ระบบสัญลักษณ์พิเศษต่างๆ นอกจากนี้ผู้วิจัยยังพบการสอดแทรกวัฒนธรรมทางความคิดหรือความเชื่อถือเกี่ยวกับการนับถือเทพเจ้า การเชื่อในภพนี้ภพหน้า และการทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว ส่วนในด้านวัฒนธรรมทางระเบียบประเพณีจะมีการเชื่อว่าบทบาทบุรุษเป็นใหญ่ ผู้ปกครองดูแลผู้ใต้ปกครอง การนับถือผู้ที่มีอาวุโส การแบ่งชั้นวรรณะ เชื่อว่าประเพณีเป็นสิ่งถูกต้องที่กำหนดมาเพื่อมนุษย์ และกฎหมายคือข้อกำหนดในสังคมที่ทุกคนต้องปฏิบัติตาม นอกจากนั้นในด้านของวัฒนธรรมทางวัตถุได้มุ่งเน้นการสื่อความหมายออกมาทางสัญลักษณ์ ซึ่งการถ่ายทอดวัฒนธรรมจากละครชุดเรื่องนี้ก็เพื่อการแพร่กระจายแง่คิด ความเชื่อ ทัศนคติ คุณธรรม คติสอนใจในการใช้ชีวิตในแง่มุมต่างๆ อย่างมากมายให้ผู้ชมได้รับรู้แล้วนำไปใช้ต่อในการดำรงชีวิตและการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคมต่อไป ขณะเดียวกันยังทำให้ชาวไทยรู้จักประเทศอินเดียในมิติของวัฒนธรรมได้อย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
References
2. กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน. (2551). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับ สื่อสารการศึกษา. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วน ภาพพิมพ์.
3. คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง. (2559). ความเข้าใจ (ผิด) เกี่ยวกับ "รามายณะ" (2). สืบค้นข้อมูล 28 กุมภาพันธ์ 2561, เข้าถึงได้จาก https://www.matichon.co.th/news/195328
4. ดวงธิดา ราเมศวร์. (2558). ต้นตำนานรามเกียรติ์ จากต้นฉบับเดิม รามายณะ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กอบแก้ว.
5. ประดิษฐ์ มัชฌิมา. (2522). สังคมวิทยาชนบท. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
6. พรจันทร์ เสียงสอน. (2557). การนำเสนอผู้หญิงและความรุนแรงในภาพยนตร์ไทย. ศิลปศาสตรมหา
บัณฑิต (การสื่อสารประยุกต์). คณะภาษาและการสื่อสาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
7. รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม. (2558). การเขียนบทภาพยนตร์บันเทิง. กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
8. สมควร กวียะ. (2547). หลุมดำแห่งความรัก ทฤษฎีว่าด้วยจักรวาล ชีวิต ความรัก ความตาย เวลา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โกสินทร์.
9. สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2526). รามเกียรติ์ การแปลความหมายทางการเมือง. รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต.
ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
10. สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2561). สารกับการสื่อความหมาย. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.
11. องอาจ สิงห์ลำพอง. (2557ก). กระบวนการผลิตละครโทรทัศน์ไทย. กรุงเทพฯ: บจม. ซีเอ็ดคีเอชั่น.
12. องอาจ สิงห์ลำพอง. (2557ข). การอภิปรายความการสื่อสารทางการเมืองในภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์
ไทย เรื่องตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช. กรุงเทพฯ: บจม.ซีเอ็ดคีเอชั่น.
13. Arneil, Barbara. (1999). Politics and Feminism. USA: Blackwell Publishers Inc.
14. Boggs, J. & Petrie, D. (2003). The Art of Watching Film. (6th ed.). New York: McGraw-Hill
Companies.
15. Cantor, Mutiel G. & E. Jones. (1983). Creating fiction for women. Communication Research 1:1
(Jan 1983), 111-137.
16. Giannetti, Louis D. (2014). Understanding movies. (13rd. ed) Pearson Education Inc.
17. Saussure, Ferdinand de. (1983). Course in General Linguistics. trans. by Roy Harris. London:
Duckworth.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์เป็นของวารสาร....