การใช้สีเพื่อการสร้างตราสินค้าธุรกิจธนาคารและการรับรู้ของผู้ใช้บริการ : กรณีศึกษา ธนาคารออมสิน
คำสำคัญ:
สี, ธนาคารออมสิน, การสร้างตราสินค้า, การใช้สีบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษากระบวนการเลือก รูปแบบการใช้สี และวิธีการใช้สีเพื่อการสร้างและสื่อสารตราสินค้าธนาคารออมสิน 2) เพื่อเปรียบเทียบลักษณะทางประชากรศาสตร์กับการรับรู้สีตราสินค้าและทัศนคติต่อตราสินค้าของธนาคารออมสิน 3) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคารออมสินกับการรับรู้สีตราสินค้าธนาคารออมสิน ซึ่งใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน ธนาคารออมสิน นักออกแบบกราฟิก รวม 6 คน และใช้การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากผู้ใช้บริการธนาคารออมสิน จำนวน 400 คน ผลการศึกษาพบว่า การปรับตราสินค้าหรือรีแบรนดิ้งธนาคารออมสินเกิดจากสภาพแวดล้อมการ ทำธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป อันเป็นผลมาจากการแก้ไขกฎกระทรวงที่อนุญาตให้ธนาคารออมสินประกอบธุรกิจเช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์อื่นๆ ธนาคารฯ จึงต้องปรับภาพลักษณ์องค์กรให้ทันสมัยเพื่อให้สามารถแข่งขันได้และขยายฐานลูกค้าไปสู่กลุ่มวัยรุ่น ในการรีแบรนดิ้งธนาคารออมสินได้ปรับสีตราสัญลักษณ์ใหม่และเลือกสีชมพูและสีทองเป็นคู่สีหลักของระบบเอกลักษณ์ใหม่ โดยสีชมพูสื่อถึงมิตรภาพความจริงใจ และสีทองสื่อถึงความมั่นคงและสง่างาม คู่สีหลักนี้ โดยเฉพาะสีชมพูถูกนำไปใช้อย่างโดดเด่นเพื่อการสื่อสารในสื่อแทบทุกประเภทอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างการรับรู้ การจดจำ และเชื่อมโยงถึงธนาคารออมสิน
ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า 1) ผู้ใช้บริการที่มีอายุและอาชีพแตกต่างกัน มีการรับรู้สีตราสินค้าของธนาคารออมสินแตกต่างกัน และผู้ใช้บริการที่มีอายุ การศึกษา และ รายได้ ที่แตกต่างกัน มีทัศนคติต่อตราสินค้าของธนาคารออมสินแตกต่างกัน 2) ผู้ใช้บริการที่พฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคารออมสินที่แตกต่างกันมีการรับรู้ของตราสินค้าของธนาคารออมสินไม่แตกต่างกัน
References
พฤศจิกายน 2555 จาก https://positioningmag.com/35622
2. ก่อเกียรติ ขวัญสกุล (2557). ความรู้ แนวคิด การออกแบบกราฟิก. กรุงเทพ: 2P Printing.
แบงก์ออมสินเปิดแบรนด์สู่รายย่อยกลุ่มใหม่ปฏิวัติผลิตภัณฑ์ครบวงจรบริการทุกหย่อมหญ้า. (พฤษภาคม
2549). ผู้จัดการรายสัปดาห์. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2555 จาก
http://info.gotomanager.com/news/details.aspx?id=48812
3. ปาพจน์ หนุนภักดี (2553). หลักการและกระบวนการออกแบบงานกราฟิกดีไซน์. กรุงเทพฯ : ดิจิอาร์ต.
4. มรกต จิรนิธิรัตน์ และพัชนี เชยจรรยา (2553). ภาพลักษณ์เปรียบเทียบของธนาคารพาณิชย์ไทยที่ร่วมทุน
กับต่างชาติ. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5. วิรุณ ตั้งเจริญ (2545). ออกแบบกราฟิก GRAPHIC DESIGN (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อี
แอนด์ไอคิว.
6. ศักดิ์ชัย เกียรตินาคินทร์ (2553). หลักการออกแบบศิลปะ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไว้ลาย
7. ศิริกุล เลากัยกุล (2551). สร้างแบรนด์อย่างพอเพียง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผู้จัดการราย
สัปดาห์
8. อัล รีย์ และลอร่า รีย์ (2544). 22 กฎเหล็กการสร้างแบรนด์. แปลและเรียบเรียงโดย บุริม โอทกานนท์ และ
สิทธิพร ชื่นชุ่มจิตร์. สมุทรปราการ: มาสเตอร์พีค.
9. Alina Wheeler. (2009). Designing brand identity: an essential guide for the entire branding
team (3rd ed.). NJ: John Wiley & Sons, Inc
10. Chai Lee Goi. (2011). Review on Models and Reasons of Rebranding. School of Business
Curtin University, Malaysia. Retrieved June 8, 2555, from
http://www.ipedr.com/vol5/no2/99-H10243.pdf
11. Edith Anderson Feisner. (2001). Color Studies (1st ed.). New York : Fairchild Publications
12. Edward Russell. (2010). The Fundamentals of Marketing. Switzerland: AVA Publishing
13. Kenneth Fehrman and Cherie Fehrman. (2004) Color: The Secret Influence. NJ: Prentice Hall
14. Karen Triedman & Cheryl Dangel Cullen. (2004). Color graphics: the power of color in graphic
design. USA: Rockport Publishers
15. Leatrice Eisemann. (2000). Pantone's Guide to Communicating with Color. Cincinnati: North
Light
16. Linda Holtzschue. (2005). Understanding Color An Introduction for Designer. NY: John
Wiley&Sons Inc
17. Lynn B. Upshaw. (1995). Building Brand Identity: A Strategy for Success in a Hostile
Marketplace. NJ: John Wiley and Sons
18. Mary Lambkin & Laurent Muzellec. (2008). "Rebranding in the banking industry following
mergers and acquisitions", International Journal of Bank Marketing, Vol. 26 Issue:
Retrieved June 8, 2012, from https://doi.org/10.1108/02652320810894398
Steven Bleicher. (2004). Contemporary Color Theory and Use. NY: Thomsom/Delmar Learning.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์เป็นของวารสาร....