การสร้างประสบการณ์ตราสินค้ากับผู้บริโภคในยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • อริสรา ไวยเจริญ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ประสบการณ์ตราสินค้า, ดิจิทัล, ผู้บริโภค

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวทางการสร้างประสบการณ์ตราสินค้ากับผู้บริโภค เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคใช้เวลาอยู่บนโลกดิจิทัล มีการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์ และผู้บริโภค   มีความต้องการในสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นเฉพาะตัวมากขึ้น ดังนั้นตราสินค้าควรสร้างประสบการณ์ให้เกิดขึ้นกับผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคจดจำและยังคงใช้สินค้าต่อไป โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงก่อนการตัดสินใจซื้อสินค้า ด้วยการโฆษณา การออกแบบเว็บไซต์ การให้ข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ ข้อมูลของร้านค้าจัดจำหน่าย การ  ใช้แอปพลิเคชั่น การเสนอสิทธิประโยชน์ การตอบกลับทันทีทันใด การเสนอข้อมูลอย่างจริงใจ ต่อมาในช่วงการตัดสินใจซื้อสินค้า ควรมีปุ่มสั่งซื้อสินค้าที่ใช้งานง่าย  สะดวกปลอดภัยใน    การชำระเงิน ความรวดเร็วในการจัดส่งสินค้า ความประหยัด การรับประกันเปลี่ยนหรือคืนสินค้า การใช้ออมนิชาแนล (Omni Channel) พร้อมการบริการของพนักงานร้านค้าจัดจำหน่าย และสุดท้ายในช่วงหลังการตัดสินใจซื้อสินค้า มีการใช้อีเมล์ การติดต่อสื่อสารกับผู้บริโภคอย่างสม่ำเสมอ การเปลี่ยนหรือคืนสินค้า รวมถึงการส่งบัตรส่วนลดหรือของขวัญในวันพิเศษ และการใช้ข้อความชื่นชมสินค้าของผู้บริโภคในการ บอกต่อกับผู้อื่น


Author Biography

อริสรา ไวยเจริญ, คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ และหัวหน้าหลักสูตรการโฆษณา คณะนิเทศศาสตร์  มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

References

1. ธีรเดช ดำรงค์พลาสิทธิ์. (2017). สแกนใจ เจาะพฤติกรรมนักช้อป 2017 พร้อมทำความรู้จัก
“Behavior 4.0” ค้าปลีกต้องรับมือให้ไว. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก
https://www.brandbuffet.in.th/2017/06/rethink-retail-behavior-4-0-insight/. (สืบค้นข้อมูล 14
พฤศจิกายน 2017).

2. นปภัช ลิ้มวรากุล. (2016). Omni Channel กระแสที่ต้องไปทางนี้. Marketeer, 17(197). หน้า 146-147.

3. บริษัท กันตาร์เวิร์ลดพาแนล (ไทยแลนด์) จำกัด. (2016). ผู้บริโภคยุคออนไลน์ใช้อินเทอร์เน็ตวัน
ละ 2.2 ชม. (ออนไลน์). 36, 3,217 เข้าถึงได้จาก
http://www.thansettakij.com/content/119014. (สืบค้นข้อมูล 8 พฤศจิกายน (2017).

4. บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด. (2017). Omni Channel คำตอบของธุรกิจค้าปลีกยุคใหม่. (ออนไลน์).
เข้าถึงได้จาก https://www.dmit.co.th/th/blog/2017/10/17/omni-channel/. (สืบค้นข้อมูล 19
พฤศจิกายน 2017).

5. บริษัท เพย์แพล จำกัด. (2017). เปลือยพฤติกรรมคนไทยบ้าช้อปใช้จ่ายทะลุกว่า 3 แสนล้าน นิยม
ซื้อผ่านมือถือ รองจากจีน. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://www.brandbuffet.in.th/2017/02/.thai-consumer-online-shopping-behavior-paypal/. (สืบค้นข้อมูล 16 พฤศจิกายน 2017).

6. บริษัท เพย์แพล จำกัด และ บริษัท อิปซอสส์ จำกัด. (2017). เปลือยพฤติกรรมคนไทยบ้าช้อป
ใช้จ่ายทะลุกว่า 3 แสนล้าน นิยมซื้อผ่านมือถือ รองจากจีน. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก
https://www.brandbuffet.in.th/2017/02/.thai-consumer-online-shopping-behavior-paypal/.
(สืบค้นข้อมูล 16 พฤศจิกายน 2017).

7. ไมเคิล จิตติวาณิชย์. (2017). Google เผย Path to purchase 4 ช่วงเวลาสำคัญก่อนผู้บริโภคตัดสินใจซื้อ. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://www.brandbuffet.in.th/2017/06/google-seo-
path-purchase/. (สืบค้นข้อมูล 14 พฤศจิกายน 2017).

8. ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์. (2017). เจาะลึกพฤติกรรมผู้บริโภคยุค 4.0 “รีวิว-
โซเชียลมีเดีย” มีอิทธิพลสูงสุด. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.bangkokbiznews.com/
news/detail/760750. (สืบค้นข้อมูล 14 พฤศจิกายน 2017).

9. สุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์. (2017). สมาคมการตลาดฟันธง 4 เทรนด์การตลาดต้องรู้ในยุคเทคโนโลยี
และดิจิตอลถาโถม. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://www.brandbuffet.in.th/
2017/11/marketing-day-be-real-strategy/. (สืบค้นข้อมูล 25 พฤศจิกายน 2017).

10. สำนักงานพัฒนาธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์(องค์กรมหาชน). (2017). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรม
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2560. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://www.etda.
or.th/publishing-detail/thailand-internet-user-profile-2017.html. (สืบค้นข้อมูล 14
พฤศจิกายน 2017).

11. Criteo. (2017). App commerce goes big in asia-pacific. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก
http://www2.criteo.com/l/126241/2017-09-14/49kc5s. (สืบค้นข้อมูล 10 ตุลาคม 2017).

12. Kotler, P., Kartajaya, H., and Den Huan, H. (2017). Marketing competitiveness : asia to the
world in the age of digital consumers. Singapore : World Scientific Publishing Co. Pte.
Ltd.

13. MarketingSherpa. (2017). Customer experience 2017 : the journey toward customer-centricity
continues. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://www.emarketer.com/Report/Customer-
Experience-2017-Journey-Toward-Customer-Centricity-Continues/2002050. (สืบค้น
ข้อมูล 19 กันยายน 2017).

14. Ryan, J. (2017). For Many Marketers, Email Is Still King. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก
https://www.emarketer.com/Article/Many-Marketers-Email-Still-
King/1016393?ecid=NL1013. (สืบค้นข้อมูล 19 กันยายน 2017).

15. Sitecore. (2017). Your Customers Think You Know What They’ve Been Buying. (ออนไลน์).
เข้าถึงได้จาก https://retail.emarketer.com/article/your-customers-think-you-know-what-
theyve-been-buying/59e787c3ebd4000aa48d8e89?ecid=NL1014. (สืบค้นข้อมูล 14
พฤศจิกายน 2017).

16. Townsend, W. (2017). The New Meaning of Loyalty at Dunkin’ Brands. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก
https://retail.emarketer.com/article/new-meaning-of-loyalty-dunkin- brands/
59e0dc65ebd4000aa48d8e7c?ecid=NL1014. (สืบค้นข้อมูล 17 ตุลาคม 2017).

17. Walker Sands Communications. (2017). How US Retailers Stack Up in the Global Omnichannel
Race. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://retail.emarketer.com/article/how-us-retailers-stack-
up-global-omnichannel-race/59d6a9f7ebd4000aa48d8e64?ecid=NL1014. (สืบค้นข้อมูล
9 ตุลาคม 2017).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-06