การสื่อสารองค์กรบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กับวิธีประมวลข่าวสารของกลุ่มสาธารณะต่อการยอมรับ

ผู้แต่ง

  • กัญญรัตน์ หงส์วรนันท์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

การสื่อสารองค์กร, มีส่วนได้เสียและกลุ่มสาธารณะ, วิธีการประมวลข่าวสาร, เส้นทางพิจารณาสาร, แบบไตร่ตรอง, เส้นทางพิจารณาสารแบบผิวเผิน, บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), Corporate Communication, Stakeholder and Publics, Elaboration likelihood methods, Central route, Peripheral route, PTT Public Company Limited

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณและใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของการรับรู้สื่อปตท.ที่มีผลต่อการยอมรับองค์กรของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียและเพื่อศึกษาแรงจูงใจและความสามารถพิจารณาสารที่ส่งผลต่ออิทธิพลของการรับรู้สื่อปตท.ที่มีผลต่อการยอมรับองค์กรของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย  การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบสอบถามจำนวน 733 ชุดกับประชากร 2 กลุ่ม คือกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง (พนักงานและผู้บริหารปตท.) และกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียโดยอ้อม (คู่ค้า,ลูกค้า,สื่อมวลชน)ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากแบบสอบถามนำมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการแบบHierarchical Regression Analysis อีกทั้งยังทำการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเพิ่มเติมกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน 2 คน คือ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานที่มีความเกี่ยวข้องด้านการสื่อสาร ปตท. และผู้นำความคิดภาคประชาชาชนด้านพลังงานที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารสาธารณะและการเคลื่อนไหวทางสังคมกับ ปตท.

      งานวิจัยนี้เลือกใช้แนวคิดการประมวลข่าวสาร (Elaboration Likelihood Model: ELM Model)ที่ว่า กระบวนการยอมรับหรือไม่ยอมรับต่อเรื่องใดเกิดจากการที่แต่ละบุคคลเปิดรับข่าวสารเรื่องนั้นๆ ผ่านปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ แรงจูงใจ (Motivation) และความสามารถพิจารณาสาร (Ability) ซึ่งผลการวิจัยพบว่า อิทธิพลการเปิดรับสื่อ ปตท.ส่งผลต่อการยอมรับการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลทั้ง 6 ด้าน  ในขณะที่อิทธิพลของแรงจูงใจและความสามารถพิจารณาสารส่งผลต่อการยอมรับองค์กรตามหลักธรรมาภิบาลไม่ครอบคลุมทุกด้าน  แสดงว่า ผู้มีส่วนได้เสียมีรูปแบบการยอมรับองค์กรเป็นไปตามเส้นทางรอง (Peripheral Route) คือ กระบวนการที่บุคคลเลือกใช้อารมณ์ ใช้ความรู้สึกต่อการพิจารณาข่าวสารอย่างผิวเผิน เนื่องจากไม่มีอิทธิพลร่วมระหว่างแรงจูงใจและความสามารถพิจารณาสาร หากแต่มีอิทธิพลเฉพาะปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งจึงไม่เป็นไปตามแนวคิด ELM อย่างสมบูรณ์ แต่อย่างไรก็ตามผู้มีส่วนได้เสียยอมรับการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลทั้ง 6 ด้านผ่านการใช้สื่อบุคคลที่สามารถสร้างความเชื่อมั่นต่อการยอมรับได้มากกว่าสื่อประเภทอื่นๆ

Author Biography

กัญญรัตน์ หงส์วรนันท์, คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

หัวหน้าหลักสูตรการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

References

1. ชนานิษฐ์ สุขเกษม.(2551). สัมฤทธิผลของรูปแบบการสื่อสารภายในองค์กรของบริษัท เพนพัลบิช
ชิ่ง จำกัด .วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

2. พรนภัส สิงห์ทอง. (2554). พัฒนาการสื่อสารในองค์กรของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน).
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

3. ทีมข่าวเศรษฐกิจ.(2558). การลดลงของราคาน้ำมันในตลาดโลก (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก
http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/626804 (สืบค้นข้อมูล 11 พฤศจิกายน 2559)

4. ชนิกา สุขสมจิตร. (2559). กลยุทธ์นายใหญ่ ปตท. เรียกความเชื่อมั่นในสังคม. (ออนไลน์).
เข้าถึงได้จาก www.posttoday.com/analysis/interview/423641 (สืบค้น เมื่อ 20 กุมภาพันธ์
2560)

5. วันทนีย์ จารึก. (2550). ความคิดเห็นของนักศึกษาปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจที่มีต่อการแปรรูป
รัฐวิสาหกิจ กรณีศึกษา : บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

6. ชนกพร ดีมาก. (2556). การตรวจสอบรัฐวิสาหกิจไทยตามหลักธรรมาภิบาล : กรณีศึกษาการขาย
หุ้นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในปีพ.ศ.2544. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

7. รายงานประจำปีบมจ. ปตท. (2559). รายงานการพัฒนาธุรกิจร่วมไปกับสิ่งแวดล้อมและ
สังคมบมจ.ปตท ประจำปี พ.ศ. 2558. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก
http://www.pttplc.com/th/About/ Pages/Vision-Mission-Values.aspx (สืบค้นข้อมูล10
พฤศจิกายน 2559)

8. ทีมข่าวสกู้ปพิเศษ. (2554) ฟ้องปตท.ฉ้อฉลปล้นประชาชน. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก
https://m.mgronline.com/specialscoop/detail/9540000096705 (สืบค้นข้อมูล 20 กุมภาพันธ์
2561)

9. ทีมข่าวเศรษฐกิจ. (2557). ปตท.งัดข้อมูลสยบความเท็จ 8 ข้อ (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก
http://www.thairath.co.th/content/428670 (สืบค้นข้อมูล 30 เมษายน 2560)

10. ดรัลพร ดำยศ. (2557).การประชาสัมพันธ์เพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นหลังเกิดภาวะวิกฤตของ
อุตสาหกรรมปิโตรเคมี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.



11. วรทัย ราวินิจ(2556).แบบจำลององค์ประกอบเชิงอารมณ์ของการสื่อสารในภาวะวิกฤต.
วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

12. Joep Cornelissen. (2008). A Corporate Communication : A Guide to Theory and Practice:
2nd ed, Sage Publication Ltd.,

13. John T. Cacioppo & Richard E. Petty. (1981). Elaboration Likelihood Model of
Persuasion Advances in experimental Social. Vol:19 pp.144-149 . Academic Press

14. Park Hanna. (2012). Exploring Corporate Social Responsibility Crisis Relevance and
Effectivepost-crisis response strategies. Doctor dissertation. Florida: University of Florida

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-06