การสื่อสารเพื่อการสืบทอดและพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ประเพณีบุญผะเหวดจังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
การสื่อสารเพื่อการสืบทอด, การท่องเที่ยวยั่งยืน, บุญผะเหวดบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการสื่อสารเพื่อการสืบทอดและพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ประเพณีบุญผะเหวดจังหวัดร้อยเอ็ด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ของประเพณี กระบวนการสื่อสารเพื่อสืบทอด และการสื่อสารเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวประเพณีบุญผะเหวด จังหวัดร้อยเอ็ดอย่างยั่งยืน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม
ผลการวิจัย พบว่า บุญผะเหวดมีบทบาทสืบเนื่องด้านศาสนา การสร้างสายสัมพันธ์ การอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา บทบาทคลี่คลายด้านความงดงามของความเป็นท้องถิ่นอีสานและการคลี่คลายอันเกิดจากการปรับประยุกต์ บทบาทเพิ่มใหม่ด้านการท่องเที่ยว พื้นที่ในการนำเสนอตัวตน พื้นที่นำเสนอความคิดสร้างสรรค์ การสื่อสารเพื่อการสืบทอดประเพณีบุญผะเหวด จังหวัดร้อยเอ็ด ผู้ส่งสารอยู่ในทุกระดับของสังคม เนื้อหาที่ทำการสื่อสารมีทั้งความหมายเดิม และการสร้างความหมายใหม่ ผ่านช่องทางการสื่อสารหลากหลายโดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์ มีการปรับกิจกรรมเพื่อสร้างผู้รับสารกลุ่มเยาวชน อย่างไรก็ตามการสื่อสารจะต้องสื่อสารรูปแบบและความหมายควบคู่กันไป การสื่อสารเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวประเพณีบุญผะเหวดอย่างยั่งยืน
สามารถสื่อสารในรูปแบบ Phawet PASUK Model (ผะเหวด พาสุข) ประกอบด้วย การมีส่วนร่วม การ
สร้างสรรค์กิจกรรม การเล่าเรื่อง การสะท้อนเอกลักษณ์ และการถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อให้บุญผะเหวดกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตและนำไปสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
References
กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน. (2551). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษากรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
คณะกรรมการจัดทำหนังสือที่ระลึกงานบุญผะเหวด.(2543).หนังสือที่ระลึกงานบุญผะเหวด.กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์
นาตยา บุตรอยู่.(2557). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มโณรส จันทร์พิทักษ์. (2550). การสื่อสารเพื่อการรื้อฟื้นและสืบทอดการสวดสรภัญญะ ที่บ้านใหม่สมบูรณ์ อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา . วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มรรยาท อัครจันทโชติ.(2560). การเล่าเรื่องแบบทรานส์มีเดียกับการสร้างความผูกพันร่วมในการสื่อสารประเด็นทางสังคม.วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิไลวรรณ ทวิชศรี. (2560). อัตลักษณ์ชุมชน : แนวคิดและการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยหลักพุทธสันติวิธีของเทศบาลตำบลเชียงคาน จังหวัดเลย. วารสารศิลปการจัดการ. 1(2) (พฤษภาคม – สิงหาคม),63-72.
สรัญพัฒน์ ต้นสุขเกษม. (2547). การสื่อสารและการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมงานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี.วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุจิตต์ วงษ์เทศ.(2555).ร้อยเอ็ดมาจากไหน.กรุงเทพฯ : แม่คำผาง.
สำนักงานจังหวัดร้อยเอ็ด.(2562). แผนพัฒนาจังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ.2561– 2564 ฉบับปี พ.ศ.2562.ค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2562, จาก http://www.roiet.go.th/2013/
อำพร ศรีรัตน์. (2551). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมในประเพณีบุญผะเหวด: กรณีศึกษาอำเภอเมืองจังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์เป็นของวารสาร....