การบูรณาการการสื่อสารสื่อพื้นบ้านกับสื่อใหม่ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาวัฒนธรรมผ้าย้อมคราม จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ศศิกานต์ สังข์ทอง นักศึกษาระดับปริญญาเอก คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ฐิตินัน บุญภาพ คอมมอน อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

คำสำคัญ:

การบูรณาการการสื่อสาร, สื่อพื้นบ้าน, สื่อใหม่, วัฒนธรรมผ้าย้อมคราม

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องการบูรณาการการสื่อสารสื่อพื้นบ้านกับสื่อใหม่เพื่อส่งเสริมและพัฒนาวัฒนธรรมผ้าย้อมครามจังหวัดสกลนคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการของการบูรณาการสื่อสารสื่อพื้นบ้านกับสื่อใหม่เพื่อส่งเสริมและพัฒนาวัฒนธรรมผ้าย้อมครามจังหวัดสกลนครและเพื่อศึกษากลยุทธ์และสร้างรูปแบบการบูรณาการการสื่อสารสื่อพื้นบ้านกับสื่อใหม่เพื่อส่งเสริมและพัฒนาวัฒนธรรมผ้าย้อมครามจังหวัดสกลนคร

            งานวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและสนทนากลุ่ม มีผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 24 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ตามบทบาทหน้าที่ในการสื่อสารได้แก่ กลุ่มผู้สงสาร กลุ่มสื่อ กลุ่มผู้รับสาร โดยการวิจัยแบ่งออกเป็นสองส่วนดังต่อไปนี้

            ผลการวิจัยในส่วนที่ 1 คือ การศึกษากระบวนการการบูรณาการการสื่อสารสื่อพื้นบ้านกับสื่อใหม่เพื่อส่งเสริมและพัฒนาวัฒนธรรมผ้าย้อมครามจังหวัดสกลนคร พบว่า 1) ผู้ส่งสารมีกระบวนการสื่อสารคือ รูปแบบของการสื่อสารแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ การสื่อสารแบบแนวดิ่ง แนวตั้ง แนวนอนและมีวิธีการสื่อสารแบบทางเดียวและสองทาง 2) สารคือ รายละเอียดโครงการ ข้อคำถาม องค์ความรู้และภูมิปัญญาผ้าย้อมคราม 3) สื่อที่ใช้คือ 1. สื่อพื้นบ้าน 2. สื่อบุคคล 3. สื่อกิจกรรม 4. สื่อเก่า 5. สื่อใหม่ 4) ผู้รับสารมีกระบวนการสื่อสาร คือ รูปแบบของการสื่อสารแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ การสื่อสารแบบแนวดิ่ง แนวตั้ง แนวนอนและมีวิธีการสื่อสารแบบทางเดียวและสองทาง 5) ผลสะท้อนกลับได้แก่ ปัญหาด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการสื่อสารภาษาต่างประเทศ ความไม่เข้าใจและไม่ยอมรับนวัตกรรมสื่อใหม่ ด้านผู้ส่งสารยังขาดทักษะการถ่ายทอดเรื่องเล่า ไม่สามารถสร้างสื่อได้ด้วยตัวเอง ด้านสารมีการจัดทำโครงการซ้ำซ้อนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกลยุทธ์ที่ได้รับการส่งเสริมได้แก่ กลยุทธ์การสื่อสารด้วยเรื่องเล่าบนสื่อใหม่ และกลยุทธ์สื่อบูรณาการระหว่างสื่อพื้นบ้านกับสื่อใหม่

            ผลวิจัยในส่วนที่ 2 ผู้วิจัยได้ใช้แนวคิด C4D สร้างแบบจำลองกระบวนการการบูรณาการการสื่อสารสื่อพื้นบ้านกับสื่อใหม่เพื่อส่งเสริมและพัฒนาสินค้าผ้าย้อมคราม จังหวัดสกลนคร เพื่อศึกษากลยุทธ์และรูปแบบการบูรณาการ การสื่อสารสื่อพื้นบ้านกับสื่อใหม่ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาสินค้าผ้าย้อมครามจังหวัดสกลนคร พบว่ามีการใช้กลยุทธ์การสื่อสารบูรณาการ มี 2 รูปแบบคือ 1. การสื่อสารแบบผสมผสาน 2. การสื่อสารบูรณาการ และได้ข้อเสนอแนะโมเดลการใช้สื่อบูรณาการเพื่อส่งเสริมและพัฒนาวัฒนธรรมผ้าย้อมครามจังหวัดสกลนคร องค์ประกอบ 5Ss (5Ss Communication model) ดังนี้ 1. S 1 = Speedy การตั้งเป้าหมาย คือการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม 2. S 2 = Station สถานีสื่อ เป็นหน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบวางแผน ผลิต พัฒนาสื่อและบริหารสื่อ 3. S 3 = Speech การสื่อสารออนไลน์ไปยังเครือข่ายทุกภาคส่วนและทุกระดับชั้น 4. S 4 = Supply ศูนย์เชื่อมโยงเครือข่าย เป็นการบูรณาการเครือข่ายสื่อสารข้อมูลของทุกภาคส่วนและทุกระดับชั้น 5. S 5 = Supervisor ผู้ดูแลนโยบาย เป็นผู้มีอำนาจการตัดสินใจระดับนโยบาย

References

บรรณานุกรม

ภาษาไทย
กรมการพัฒนาชุมชน. (2556). สรุปผลการดำเนินงาน โครงการลงทะเบียนผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP ปี 2555. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.
กรมส่งเสริมการส่งออก. (2551). รายงานสรุปมูลค่าการส่งออกของไทย. สืบค้น 29 กันยายน 2551, จาก http://www2.ops3.moc.go.th/
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2559). โครงการพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม (Clusters). สืบค้น 15 เมษายน 2559, จาก
http://info.dip.go.th/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%AD/Cluster/tabid/137/Default.aspx
กระทรวงมหาดไทย. (2547). ระบบฐานข้อมูลแผนที่ Cluster ( Custer Mapping Database (CMBD). สืบค้น 20 พฤศจิกายน 2560, จาก
http://cm.nesdb.go.th/pop_summary20.asp?ClusterID=C0039.
กระทรวงมหาดไทย. (2556). ผลการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี พ.ศ.2555 ครั้งที่ 1. สืบค้น 20 พฤศจิกายน, จาก http://www.thaitambon.com/knowledge/150820004854
กาญจนา แก้วเทพ. (2545). เมื่อสื่อส่องและสร้างวัฒนธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2.). กรุงเทพฯ: ศาลาแดง
กาญจนา แก้วเทพ. (2549). สื่อพื้นบ้านขานรับงานสุขภาพ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กาญจนา แก้วเทพ และนิคม ชัยขุนพล. (2555). คู่มือสื่อใหม่ศึกษา. กรุงเทพฯ: โครงการเมธีวิจัยอาวุโส ฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ณฐพัชร์ ไชยทิพย์. (2560). การสื่อสารเพื่อการพัฒนาสินค้าเชิงวัฒนธรรมม้งอย่างยั่งยืนในพื้นที่ตำบลเข็กน้อย จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารอารยธรรมศึกษาโขง-สาละวิน, 8(1), 167-195.
ดนัย ชาทิพฮด. (2557). ผ้าย้อมคราม : การทำวัฒนธรรมให้กลายเป็นสินค้าในกระแสโลกาภิวัตน์. วารสารไทยศึกษา, 10(2), 87-153.
พลชัย เพชรปลอด. (2555). กระบวนการพัฒนาการสื่อสารเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของปราชญ์ชาวบ้านศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านบ้านดอนผิงแดด จังหวัดเพชรบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พิมพากรณ์ กลั่นกลิ่นและคณะ. (2553). การศึกษาติดตามและประเมินผล การใช้ “การสื่อสารเพื่อพัฒนาพฤติกรรมและสังคม”. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ราชบัณฑิตสถาน. (2535). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
รุ่งนภา มุกดาอนันต์. (2544). กลยุทธ์การสื่อสารของกลุ่มปราชญ์ชาวบ้านเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รุจิรา จิตต์ตั้งตรง, และพัชนี เชยจรรยา. (2558, กันยายน – ธันวาคม). กลยุทธ์สื่อบุคคลเพื่อสร้างเครือข่ายการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนา “เกษตรอินทรีย์” วารสารการสื่อสารและการจัดการนิด้า, 1(3), 59-80.
อนุรัตน์ สายทอง. (2550). โครงการศึกษาการพัฒนาสีย้อมผ้าจากคราม. สกลนคร: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
อภิญญ์พัทร์ กุสิยารังสิทธิ์. (2560). การเล่าเรื่องในการสื่อสารการตลาดสินค้าโอทอปกุสุมา. วารสารประชากร, 5(1). 86-105.

ภาษาอังกฤษ
Broom, S. (1963). P.1983. Sociology: A Text with Adapted Reading. New York: Harper and Row.
Davies, J. (Ed.). Jackie Davies,. (2004). C4D: ‘Communication for Development’ Concept. Retrieved 20 November 2018, from
http://www.communicationforsocialchange.org/pdf/comm4devconceptpapermdgmeetingnov04.pdf
Kawamoto, K. (1997). Digital journalism Emerging Media and the Changing Horizons of Journalism. Retrieved 20 November 2018, from
https://books.google.co.th/books?id=dG9vHwHyDFUC&pg=PA1&lpg=PA1&dq=Kevin+Kawamoto.+(1997).+Digital+journalism+Emerging+Media+and+the+Changing+Horizons+of+Journalism.&source=bl&ots=ImXIbCKmJm&sig=ACfU3U164lxBpJefObU2Q_x1LW4MC29YUw&hl=th&sa=X&ved=2ahUKEwjssLbm9e_iAhUV3o8KHYkxD-UQ6AEwCnoECAcQAQ#v=onepage&q=Kevin%20Kawamoto.%20(1997).%20Digital%20journalism%20Emerging%20Media%20and%20the%20Changing%20Horizons%20of%20Journalism.&f=false
Sugiyama, K., & Andree, T. (2010). The Dentsu Way: Secrets of Cross Switch Marketing from the World’s Most Innovative Advertising Agency. England: McGraw-Hill. Harper and Row.
UNESCO. (1982). Folk Media and Mass Media in Population Communication. Retrieved 20 November, from http://unesdoc.unesco.org/images/0008/000805/080517eo.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-29