ศักยภาพของประเทศไทยด้านธุรกิจการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย : การวิเคราะห์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ที่เกื้อหนุนธุรกิจการถ่ายทำ ภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย
คำสำคัญ:
ธุรกิจการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย, วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, อุตสาหกรรมภาพยนตร์บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์ สภาพการณ์ สภาวะทางธุรกิจ รวมถึงความพร้อม และขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ และผู้ที่เกี่ยวข้องในธุรกิจการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย ระเบียบวิธีการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 วิธี ได้แก่ การศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึก จำนวน 54 คน และการสนทนากลุ่มเจาะจง จำนวน 64 คนโดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ 1) กลุ่มธุรกิจการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย 2) กลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย และ 3) กลุ่มบุคลากรที่ทำงานอยู่ในหน่วย งานราชการที่เกี่ยวข้อง
ผลการศึกษาพบว่าประเทศไทยมีความพร้อมทางด้านบุคลากร พื้นที่ถ่ายทำ และธุรกิจที่เชื่อมโยง แม้จะยังมีอุปสรรคในเรื่องกระบวนการในการขออนุญาตในการถ่ายทำ แต่ทางหน่วยงานภาครัฐเองก็พยายามที่จะปรับปรุง แก้ไข เพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถดำเนินงานได้อย่างราบรื่น และรวดเร็ว ทางด้านแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการธุรกิจการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทั้งผู้ประสานงานกองถ่าย บุคลากรในกองถ่าย บุคลากรในพื้นที่ และหน่วยงานราชการ โดยบทบาทในการพัฒนาศักยภาพสามารถแบ่งออกเป็น 3 ภาคส่วน ได้แก่ บทบาทของภาครัฐ บทบาทของภาคเอกชน และบทบาทของภาคการศึกษา
ดังนั้น ในการพัฒนาธุรกิจการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทยอย่างยั่งยืน และให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรม ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษาจึงต้องมีความร่วมมือกัน รวมถึงวิเคราะห์ ติดตาม สภาพการณ์ และสภาวะทางธุรกิจของธุรกิจการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย และเตรียมความพร้อม และขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่ และผู้ที่เกี่ยวข้องในธุรกิจการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย
References
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2556). สร้างแบรนด์ “ประเทศไทย” สู่การเป็น Hub ธุรกิจบันเทิง
ในอาเซียน. DITP ชี้ช่องการค้า, 3(28), 3-5.
พีรชัย เกิดสินธุ์, รัตนา จักกะพาก, โสภาวรรณ บุญนิมิตร และเศรษฐา วีระธรรมานนท์ (2553). ภาพ
อนาคตอาณาจักรภาพยนตร์ในประเทศไทย: แนวทางการสร้างและบริหารจัดการ. สืบค้นเมื่อ 8
กรกฎาคม 2560, จาก http://www.ocac.go.th/userfiles/53-7.pdf
มินตรา อะแดร์. (2560). ธุรกิจถ่ายทำภาพยนตร์รายได้ดีในอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2560,
จาก http://www.tnnthailand.com/news_detail.php?id=144198&t=news
รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม. (2545). แนวทางการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศ
ไทย: รายงานผลการวิจัย. กรุงเทพฯ: กรมประชาสัมพันธ์ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
วรกานต์ แซ่ลิ่ม. (2558). อนาคตไทยก้าวไกลด้วยคลัสเตอร์. วารสารส่งเสริมการลงทุน, 26(12), 9-18.
วิชัย โถสุวรรณจินดา. (2549). ครบเครื่องเรื่องบริหารธุรกิจขนาดย่อม (แนวปฏิบัติและกรณีศึกษา)
(พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
วีระศักดิ์ โควสุรัตน์. (2559, 12 มิถุนายน). ไทยแลนด์ 4.0 ดึงดูดกองถ่าย. เดลินิวส์. สืบค้นเมื่อ 26
ตุลาคม 2559, จาก http://www.dailynews.co.th/article/501803
ศุภเจตน์ จันทร์สาส์น, อรรยา สิงห์สงบ, กาญจนา ส่งวัฒนา, ปนิญญา ภักษา, และป่าน จินดาพล.
(2558). การยกระดับความได้เปรียบในการแข่งขันของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยภายใต้
การค้าเสรี: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2543). พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
พ.ศ. 2543. กรุงเทพฯ: สำนักงาน.
สำนักวิชาการ (2558). คลัสเตอร์: การรวมกลุ่มธุรกิจเพื่อการแข่งขัน. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภา
ผู้แทนราษฎร.
สิรยา คงสมพงษ์. (2557). การสร้างมูลค่าจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ: โครงการพัฒนาประสิทธิภาพด้านการ
บริหารจัดการแก่ผู้บริหารระดับสูงภาครัฐ. กรุงเทพฯ: สำนักงานการพัฒนาระบบราชการ.
สุภาพร ตันติสันติสม. (2545). การจัดการธุรกิจขนาดย่อม. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาการจัดการ
สถาบันราชภัฏจันทรเกษม.
Organisation for Economic Co-operation and Development. (1997). Globalization and small and
medium enterprises (SMEs). Paris: OECD.
Porter, M. (1985). Competitive advantage creating and sustaining superior performance.
New York: The Free Press.
Bibliography
Academic Bureau. (2015). Cluster: Business integration for competition. Bangkok: Secretariat of
the House of Representatives. (In Thai).
Department of International Trade Promotion. (2013). Brand Building "Thailand" to become an
entertainment business hub in ASEAN. Think Trade Think DITP, 3(28), 3-5. (In Thai).
Mintra Adare. (2010). Good income in filmmaking business in ASEAN. Retrieved August 23,
2017, from http://www.tnnthailand.com/news_detail.php?id=144198&t=news. (In Thai).
Office of the Council of State. (2000). Supporting of Small and Medium Enterprises Act in
2000. Bangkok. (In Thai).
Organisation for Economic Co-operation and Development. (1997). Globalization and small and
medium enterprises (SMEs). Paris: OECD.
Peerachai Kerdsin, Rattana Chakkapak, Sopawan Boonnimit and Settha Veerathamanon (2010).
The Scenario of Movie Town in Thailand:Direction for Setting up and Management.
Retrieved July 8, 2017, from http://www.ocac.go.th/userfiles/53-7.pdf. (In Thai).
Porter, M. (1985). Competitive advantage creating and sustaining superior performance.
New York: The Free Press.
Raksarn Wiwatsinudom. (2002). Guidelines for promoting foreign film production in Thailand.
Research Report. Bangkok: Department of Public Relations And Tourism Authority of
Thailand. (In Thai).
Siraya Kongsomphong. (2014). Creating Value from upstream to downstream: Management
developing project for senior government officials. Bangkok: Office of the Public Sector
Development Commission. (In Thai).
Supaporn Tantisantisom. (2002). Small business management. Bangkok: Faculty of
Management Science. Chandrakasem Rajabhat University. (In Thai).
Suphachet Chanasan, Orraya Singkhao, Kanchana Songwattana, Paniya Phakha, and Pan
Chinda phol. (2015). Enhancing the competitive advantage of the Thai film industry
under Free trade. Research Report. Bangkok: Thailand Research Fund (TRF). (In Thai).
Veerasak Kowsurat. (2016). Attracts the film production by Thailand 4.0. Daily News. Retrieved
October 26, 2016, from http://www.dailynews.co.th/article/501803. ). (In Thai).
Wichai Thansuwanchinda. (2006). Covering all about small business administration (Guidelines
and case studies). 9th Edition. Bangkok: Technology Promotion Association (Thai-
Japan). (In Thai).
Worakan Sae-Lim. (2015). The future of Thailand with A Cluster. BOI e-Journal, 26 (12), 9-18.
(In Thai).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์เป็นของวารสาร....