รูปแบบของสื่อดิจิทัลที่ส่งผลกระทบต่อผู้สูงวัย

ผู้แต่ง

  • โสภัทร นาสวัสดิ์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

รูปแบบ, สื่อดิจิทัล, ผู้สูงวัย, ผลกระทบ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง รูปแบบของสื่อดิจิทัลที่ส่งผลกระทบต่อผู้สูงวัย เป็นการศึกษาในรูปแบบการวิจัยผสมผสาน (Mixed Methodology research) โดยมีรูปแบบการศึกษาวิจัย 2 รูปแบบ คือ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้วิธีการเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เก็บข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 200 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) กับผู้ร่วมสนทนา จำนวน 6 คน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของสื่อดิจิทัลที่ส่งผลกระทบต่อผู้สูงวัย  ศึกษาผลของการใช้สื่อดิจิทัลที่ส่งผลกระทบต่อผู้สูงวัย และเพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้สื่อดิจิทัลของต่อผู้สูงวัย โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากการตอบแบบสอบถาม และคำตอบจากการสนทนากลุ่ม

ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงวัยมีรูปแบบการใช้สื่อทีวีดิจิทัลและ ใช้แอปพลิเคชันไลน์ มากที่สุด โดยใช้เพื่อติดตามข่าวสาร ติดต่อสื่อสาร และความบันเทิงตามลำดับ การสีบค้นข้อมูลที่นิยมมากที่สุดคือ Google โดยมีการเข้าถึงโซเชียลมีเดีย ผ่านโทรศัพท์มือถือมากที่สุด ผลของการใช้สื่อดิจิทัล พบว่าผู้สูงวัยใช้สื่อดิจิทัลเพื่อความบันเทิง มากที่สุด นอกจากนั้นยังได้รับข้อมูลข่าวสาร การติดต่อสื่อสาร และประโยชน์จากการใช้สื่อดิจิทัล  ผู้สูงวัยมีความพึงพอใจในการใช้สื่อดิจิทัลในระดับมาก โดยผลกระทบจากสื่อโทรทัศน์ดิจิทัลมีมากที่สุด รองลงมาคือโทรศัพท์มือถือ และอินเทอร์เน็ต โดยผลกระทบของสื่อดิจิทัลต่อผู้สูงวัยคือ ได้รับข้อมูลได้ง่าย ทันสมัย รวดเร็ว และได้รับความเพลิดเพลิน สนุกทสานจากการใช้สื่อดิจิทัล

Author Biography

โสภัทร นาสวัสดิ์, คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

 อาจารย์ประจำหลักสูตรสื่อดิจิทัลและการสร้างสรรค์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

 

References

กวีพงษ์ เลิศวัชรา, และกาญจนศักดิ์ จารุปาณ. (2555). การศึกษาปัญหาการเรียนรู้เทคโนโลยีของผู้สูงอายุ

(รายงานผลการวิจัย). วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กุศล สุนทรธาดา. (2559). สูงวัยกับไฮเทค, สืบค้น 25 พฤษภาคม 2560, จาก

http://www2.ipsr.mahidol.ac.th/newsletter/index.php/component/content/article/91-

vol33-no6/135- vol33-no6-issue01

ขวัญชนก กมลศุภจินดา. (2557). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์และการแสดงตัวตนของ

เจเนอเรชั่น: กรณีศึกษาความแตกต่างระหว่างเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์สและเจเนอเรชั่นวาย.

[การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. http://dspace.bu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/1484/1/kwanchanok.kamo.pdf

จารุวรรณ นิธิไพบูลย์, สันทัด ทองรินทร์, และวิทยาธร ท่อแก้ว. (2559). การพัฒนารายการโทรทัศน์เพื่อ

ผู้สูงอายุ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(2), 21-39.

ชมพูนุท พรหมภักดิ์. (2556). การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. สํานักวิชาการ สํานักงาน

เลขาธิการวุฒิสภา.

พนม คลี่ฉายา. (2555). ความต้องการข่าวสารการใช้สื่อและนิสัยการเปิดรับสื่อของผู้สูงอายุไทย.

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มนัสสินี บุญมีศรีสง่า, และมินตรา สดชื่น. (2560). รูปแบบการใช้สื่อโซเชียลมีเดียของผู้สูงอายุ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รวีวรรณ ทรัพย์อินทร์, และญาศิณี เคารพธรรม. (2560). สื่อกับผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารนิเทศ ศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 11(2), 367-387

วรนารถ ดวงอุดม. (2554). การพัฒนาสื่อที่เหมาะสมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ใน กรุงเทพมหานครและจังหวัดแพร่. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

ศูนย์สารสนเทศยุทธศาสตร์ภาครัฐ. กลุ่มสารสนเทศเชิงพื้นที่. (2559, 6 กันยายน). สูงวัย ใจสตรอง. สืบค้น 26 ธันวาคม, จาก http://ebook.nic.go.th/smart_aged/smart_aged.pdf

สังคมผู้สูงวัย สื่ออาจไม่ใช่เพื่อน อย่าให้ทีวีดูแลคนแก่. (2555, 2 กันยายน). โพสต์ทูเดย์.

http://www.opm.go.th/opmportal/multimedia/pimjaing/File/september/2/13.pdf

สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ. (ม.ป.ป.). พัฒนาการสื่อใหม่ (New Media): อิทธิพลภาษาดิจิตอลต่อรูปแบบการสื่อสาร ของมนุษยชาติและผลกระทบต่อจริยธรรมสื่อ (รายงานผลการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนัน ทา. สืบค้น 25 พฤษภาคม 2560, จาก

http://www.elfms.ssru.ac.th/surasit_vi/file.php/1/New_Media_Evolution_Surasit.pdf

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). การสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557, สืบค้น 25 พฤษภาคม 2560, จาก http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/files/ elderly workFullReport57-1.pdf

Burnett, R., & Marshall, P. D. (2003). Web Theory. Routlege.

Jafrey, I. (2019). Americans 60 and older are spending more time in front of their screens than a decade ago. Forbes Technology Council.

Wallace, B. (2013). The effect of media and technology on young children in the U.S. [Infographic]. Retrieved May 25, 2017, from https://www.socialmediatoday.com/content/effects-media-and- technology-young-children-us-infographic

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-05