การเปลี่ยนผ่านการสื่อสารเรื่องลาวและความเป็นลาวในแบบเรียนไทย

ผู้แต่ง

  • นิลุบล ไพเราะ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การสื่อสาร, ความเป็นลาว, แบบเรียนไทย, ชาตินิยม, ประชาคมอาเซียน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนผ่านการสื่อสารเรื่องลาวและความเป็นลาวในแบบเรียนไทย
ผ่านหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544
จนถึงหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เอกสาร
และวิเคราะห์เนื้อความในแบบเรียนไทยวิชาประวัติศาสตร์ โดยมีผลการศึกษา ดังนี้
การสื่อสารเรื่องลาวและความเป็นลาวในแบบเรียนไทยวิชาประวัติศาสตร์ก่อนปี พ.ศ. 2533
(พ.ศ.2503 – 2533) ภาพรวมพบว่าลาวกับไทยเป็นพันธมิตรสมัยประวัติศาสตร์เพราะมีผลประโยชน์ร่วมกัน
แต่มาช่วงหลังทศวรรษ 2520 เริ่มมีการสร้างภาพให้ลาวมีสถานะต่ำกว่า และ เป็นตัวปัญหาของไทย
ส่งผลถึงการสื่อสารเรื่องลาวและความเป็นลาวในยุคต่อมา ช่วงปี 2533 – 2544 จากหลักสูตร พ.ศ. 2521
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ลาวยังคงถูกสร้างให้มีสถานะต่ำกว่าไทย และ เป็นตัวปัญหาอย่างต่อเนื่อง
โดยรหัสที่ถูกใช้ในการสร้างภาพนี้คือ รหัสชาตินิยม จนกระทั่งเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงในส่วนของหลักสูตร พ.ศ.
2544 และ พ.ศ. 2551 เพื่อลดทอนทัศนคติด้านลบ ภาพลาวจึงเป็นภาพของดินแดน ผู้คน วัฒนธรรมประเพณี
ศิลปะ และ ในฐานะเป็นประเทศเพื่อนบ้าน โดยรหัสที่ถูกใช้คือ ประชาคมอาเซียน ดังนั้น จึงอาจสรุปได้ว่า
การสื่อสารเรื่องลาวและความเป็นลาว ถูกเปลี่ยนผ่านจากการเป็นพันธมิตรสมัยประวัติศาสตร์
มาเป็นตัวปัญหา เป็นน้องที่มีสถานะต่ำกว่า จนพัฒนาไปเป็นเพื่อนบ้านและพันธมิตรที่เท่าเทียม

Author Biography

นิลุบล ไพเราะ, วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

อาจารย์ประจำสาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

References

กาญจนา แก้วเทพ และ สมสุข หินวิมาน. (2551). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับ
สื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
จิระพันธ์ ชาติชินเชาวน์ และ ชลภูมิ บรรหาร. (ม.ป.ป.). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3 (คู่มือครู). กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
ชลภูมิ บรรหาร และ พิชัย ยินดีน้อย. (ม.ป.ป.). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 1 - 2 (คู่มือครู). กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
ฐิติมดี อาพัทธนานนท์. (2556, มกราคม-เมษายน). เนื้อหาความเป็นพหุวัฒนธรรมในแบบเรียนไทย.
วารสารสังคมกลุ่มน้ำโขง, 9(1), 107–130.
ณรงค์ พ่วงพิศ และ วุฒิชัย มูลศิลป์. (ม.ป.ป.). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 1-3. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ (2555). ลักษณะลาว. ใน อภิราดี จันทร์แสง (บรรณาธิการ), ประวัติศาสตร์ นอกขนบ.
(195–229). กรุงเทพฯ: อินทนิล.
นิคม มูสิกะคามะ, วิริยะ บุญยะนิวาสน์ และ สุพน ทิมอ่ำ. (2533). หนังสือเรียนสร้างเสริมประสบการณ์
ชีวิตประวัติศาสตร์ไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
ปวีณา วังมี. (2543). รัฐไทยกับการกล่อมเกลาทางการเมืองผ่านแบบเรียนในช่วง พ.ศ.2475-2487.

27

(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
พลับพลึง คงชนะ. (2558). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 .
กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ.
มนทิรา โกสุม และคณะ. (2533). หนังสือเรียนเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิตประวัติศาสตร์ไทยชั้น ประถมศึกษา
ปีที่ 5. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.
ลักขณา ปันวิชัย. (2542). อุดมการณ์รัฐของรัฐไทยในแบบเรียนชั้นประถมศึกษา พ.ศ. 2464-2533 ไม่มี
ชาติของประชาชนไทย ในแบบเรียน. รัฐศาสตร์สาร, 21(3), 105–173.
วงเดือน นาราสัจจ์ เเละ ชมพูนุท นาคีรักษ์. (2556). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ.
วารุณี โอสถารมย์, สุพรรณี กาญจนนัษฐิติ, จารุวรรณ ธรรมวัตร, ประภาส สุวรรณศรี และ พรสวรรค์
สุวรรณธาดา. (2544). ลาวฮู้หยัง–ไทยรู้อะไร: วิเคราะห์แบบเรียนสังคมศึกษา. กรุงเทพฯ: อัลฟ่า
พับลิชชิ่ง.
วัชรินทร์ มัสเจริญ. (2533). แบบเรียนสังคมศึกษากับการกล่อมเกลาทางการเมืองในสมัยจอมพลสฤษดิ์
ธนะรัชต์: ศึกษากรณีความมั่นคงของสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์. (วิทยานิพนธ์ ปริญญา
มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
วิลุบล สินธุมาเลย์. (2554). การรับรู้ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทย-ลาว: ผ่านแบบเรียน
ประวัติศาสตร์ไทยและลาว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 (ค.ศ.1975-2009). (วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
วุฒิชัย มูลศิลป์. (2551). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพฯ:
อักษรเจริญทัศน์.
สุเนตร ชุตินธรานนท์ และคณะ. (2557). ชาตินิยมในแบบเรียนไทย. กรุงเทพฯ: มติชน.
อนุจินต์ ลาภธนาภรณ์. (2546). การศึกษาวิจัยเรื่องการกล่อมเกลาทางการเมืองผ่านแบบเรียน: ศึกษา
เฉพาะกรณีแบบเรียนตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย.
(วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-09