จากความตายของมาเรียม..สู่การเลิกใช้พลาสติกในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ทิพย์อนงค์ จินตวิจิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

บทคัดย่อ

การเสียชีวิตของพะยูนชื่อมาเรียม
นับเป็นจุดเริ่มต้นที่มนุษย์ต้องพิจารณาเรื่องปัญหาจากขยะพลาสติกอย่างจริงจัง
ทำให้กระแสของการเลิกใช้ถุงพลาสติก ถูกจัดเป็นวาระแห่งชาติ และเริ่มมีการรณรงค์อย่างจริงจังในสังคมไทย
โดยการรณรงค์ดังกล่าวเป็นการรณรงค์ผ่านแนวคิดเรื่อง การสื่อสารกับสิ่งแวดล้อม
การเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่ และ การสื่อสารผ่านสังคมเครือข่าย
การเสียชีวิตของมาเรียมเป็นหนึ่งในกรณีศึกษาที่น่าสนใจ
ที่การสื่อสารผ่านสังคมเครือข่ายมีพลังอย่างมากในการเป็นจุดเปลี่ยนของกระแสสังคมในการทิ้งขยะพลาสติก
จากการศึกษาผู้เขียนพบว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มที่เรียกร้องให้ยกเลิกการใช้พลาสติกในประเทศไทยนั้นเริ่มต้นจา
กคน (single) ที่ตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม และมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม (group)
ผ่านการสื่อสารทางสังคมเครือข่าย คือ เฟซบุ๊ก และเว็บไซต์ ซึ่งประเด็นดังกล่าวสามารถขับเคลื่อนไปถึงรัฐบาล
ในที่นี้ คือ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ได้ออกกฎหมายในการบังคับให้เลิกใช้ถุงพลาสติกในห้างสรรพสินค้า และร้านสะดวกซื้อ
รวมถึงมีการขอความร่วมมือ ให้ร่วมกันลด ละ เลิกใช้พลาสติก ในร้านค้า และตลาดทั่วไป
แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่นั้น สามารถใช้พื้นที่การสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์
โดยใช้เป็นกลไกหนึ่งของการรวมตัวกันในการรณรงค์ทางด้านสิ่งแวดล้อม
และผลักดันให้การรณรงค์ดังกล่าวประสบผลสำเร็จ รวมถึงสร้างจิตสำนึกให้คนในสังคมได้อีกทางหนึ่งด้วย

Author Biography

ทิพย์อนงค์ จินตวิจิต, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

หัวหน้าแขนงวารสารศาสตร์ดิจิทัล สาขานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

References

กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. (มปป.). อะไรคือพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง. สืบค้นจาก
https://www.greenpeace.org/thailand/explore/resist/plastic/single-use-plastic/
กรีนเนอรี่. (2561, 31 สิงหาคม). Greenery Challenge: ชวนมาลดขยะด้วยการนับจำนวน. สืบค้นจาก
https://www.greenery.org/articles/greenerychallenge09/?fbclid=IwAR2bkP1F4j9Z3SPl6ReSrCRcNT
D_NxZ4eQwu9fX0U9bU2_M70aAEOpJdqQg

กันทลัส ทองบุญมา, (2562). ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่เพื่อการรณรงค์ไม่ใช้หลอดพลาสติก.
วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 12(2), 1-16.
กาญจนา แก้วเทพ และศรีธรณ์ โรจนสุพจน์. (2556). สื่อสาร-สิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2545). ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่. กรุงเทพฯ: วิภาษา.
ณภัทร เวชชศาสตร์. (2562). จากมาเรียมสู่พะยูน 250 ตัวสุดท้ายในประเทศไทย. สารคดี, 35(414), 66.
ไทยพีบีเอส. (2562, 8 กันยายน). ดีเดย์ 1 ม.ค.64 ไทยเลิกแจก "ถุงพลาสติก" ทั่วประเทศ. สืบค้นจาก
https://news.thaipbs.or.th/content/283923
บางกอกอินไซต์. (2562). มาเรียมต้องไม่ตายฟรี ปลุกกระแสรณรงค์ลดใช้ถุงพลาสติก. สืบค้นจาก
https://www.thebangkokinsight.com/194965/
เพชร มโนปวิตร. (2561). ความตายของวาฬ ขยะของเรา พลาสติกในโศกนาฏกรรมธรรมชาติ. สารคดี, 34(400),
89.
สมพร อัจนปัญญา. (2550). การเคลื่อนไหวภาคประชาชนไทยบนอินเตอร์เน็ตกับโลกาภิวัฒน์ทางเศรษฐกิจ.
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2562, 10 พฤศจิกายน). งดใช้ถุงพลาสติกหิ้วประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง
ดันธุรกิจถุงหิ้วที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกว่า 400 ล้านใบ. สยามรัฐ. สืบค้นจาก
https://siamrath.co.th/n/130166
อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว. (2561). สื่อศาสตร์ MEDIUMOLOGY หลักการ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-09