มองไอดอล (Idol) ผ่าน BNK 48

ผู้แต่ง

  • กันต์ธนัน ดําดี นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • อดิพล เอื้อจรัสพันธุ์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ไอดอล, ฺ์BNK48

บทคัดย่อ

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อสำรวจ ทบทวนความหมายของคำว่า “ไอดอล” ในยุคที่คำนี้ถูกใช้อย่างฟุ่มเฟือยบนโลกออนไลน์ โดยมุ่งเน้นแสดงให้ผู้อ่านได้เห็นถึงความหมาย ความเป็นมาของไอดอล และอิทธิพลของไอดอลในประเทศไทย รวมถึงบทวิเคราะห์เปรียบเทียบลักษณะของไอดอลประเทศเกาหลี ไอดอลประเทศญี่ปุ่น และไอดอลประเทศไทย (BNK48) พบว่า ลักษณะของไอดอลทั้ง 3 ประเทศที่มีความเหมือนกันมากที่สุดมีอยู่สองประการด้วยกัน คือ 1. เข้าวงการตั้งแต่อายุยังน้อย และ 2. อยู่ภายใต้กฎระเบียบอย่างเคร่งครัด และยังมีลักษณะอื่นๆที่เป็นเอกลักษณ์ของไอดอลแต่ละประเภท โดยไอดอลประเทศเกาหลีมีลักษณะสำคัญอยู่ 5 ประการ คือ 1.หน้าตาดีมีความพิมพ์นิยมระดับเอเชีย 2.ร้องเพลงเพราะ 3. เต้นเก่ง 4. เมื่อเปิดตัวมาแล้วถือว่าเป็นศิลปินโดยสมบูรณ์แบบ และ 5. ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติสูง ในขณะที่ไอดอลจากประเทศญี่ปุ่นมีคุณลักษณะสำคัญ 7 ประการในการประกอบสร้างให้เป็นไอดอลที่เป็นเอกลักษณ์ในแบบญี่ปุ่น กล่าวคือ 1.ขายได้ในระยะยาว 2. เน้นความธรรมชาติ 3. มีการแข่งขันภายในวงสูง 4. ต้องเป็นแบบอย่างของความพยายาม 5. มีกิจกรรมในฐานะไอดอลมากมาย 6. ไอดอลถูกสนับสนุนให้มีมากกว่า 1 อาชีพ และ 7. คอนเสิร์ตคือเวทีสำหรับฝึกฝน และไอดอลไทย (BNK48) เนื่องจากรับเอาวัฒนธรรมไอดอลมาจากวง AKB48 ซึ่งเป็นวงพี่สาวจากประเทศญี่ปุ่นจึงมาความคล้ายคลึงกับไอดอลญี่ปุ่นหลายประการ คือ 1.หน้าตาดี มีความพิมพ์นิยมระดับเอเชีย 2. ร้องเพลงเพราะ 3. เต้นเก่ง 4. เน้นความธรรมชาติ 5. เมื่อเปิดตัวมาแล้วถือว่าเป็นศิลปินโดยสมบูรณ์แบบ 6. มีการแข่งขันภายในวงสูง 7. ต้องเป็นแบบอย่างของความพยายาม และ 8. มีกิจกรรมในฐานะไอดอลมากมาย

References

ชนารัตน์ ยิ้มแฉ่ง และ พรทิพย์ เย็นจะบก. (2557). การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมเกาหลีผ่านซีรีย์เกาหลี. เรื่องเต็ม การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 52: สาขาศึกษาศาสตร์, สาขาเศรษฐศาสตร์ และบริหารธุรกิจ, สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, (52), 526-533. สืบค้นจาก https://kukr.lib.ku.ac.th/proceedings/index.php?/KUCON2/search_detail/result/13872
ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์. (2559). พลวัตของการกลายเป็นท้องถิ่นของ “ความเป็นญี่ปุ่น” ในประเทศไทย ตั้งแต่ทศวรรษ 2520. วารสารญี่ปุ่นศึกษา, 32(2), 27-46. สืบค้นจาก https://so02.tci- thaijo.org/index.php/japanese/article/view/51159
ผู้จัดการออนไลน์. (2562). เด็กสุด 12 ขวบ! CGM48 เปิดตัว 25 สมาชิก "ออม" ลั่นจับฝึกหนักเต้น ร้อง. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2563. จาก https://mgronline.com/onlinesection/detail/9620000103123
BNK48.com (2559). BNK48. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2563. จาก https://www.bnk48.com/index.php?page=news
MytaaeMin. (ม.ป.ป). ศิลปิน K-POP กลุ่มแรกๆที่ก้าวสู่ตลาดโลก. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2563. จาก https://sites.google.com/site/mytaemi/silpin-k-pop-klum-raek-thi-kaw-su-tlad-lok
vancouverobserver.com. (2012). Bizarre 'Gangnam Style' K-pop music video blows up worldwide. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.vancouverobserver.com/blogs/thescene/bizarre-gangnam-style-k-pop- music-video-blows-worldwide
ศกลรัตน์ วรอุไร. (8 กรกฎาคม 2560). Club Friday SHOW โฟร์ ศกลรัตน์ [EP.121] วันที่ 8 กรกฎาคม 2560 [Video file]. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=zPlmToV0aH4&t=3375s

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-03