รูปแบบและระบบนิเวศสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่ช่วยเยียวยาส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีต่อเด็กและเยาวชนในสถานศึกษาเพื่อลดผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
คำสำคัญ:
ระบบนิเวศสื่อ, สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์, สุขภาพจิต, จังหวัดชายแดนภาคใต้บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง รูปแบบและระบบนิเวศสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่ช่วยเยียวยาส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีต่อเด็กและเยาวชนในสถานศึกษาเพื่อลดผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่ช่วยเยียวยาส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีต่อเด็กและเยาวชนในสถานศึกษาเพื่อลดผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) ศึกษาระบบนิเวศสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ในสถาบันการศึกษาอันเปราะบางจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ฯที่เหมาะสม กล่าวคือ เป็นนิเวศมวลรวมผลของการทำงานระหว่าง โรงเรียน ผู้ปกครอง และภาคีที่เกี่ยวข้องจากการศึกษาวิจัย และ3) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่ช่วยเยียวยาส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีต่อเด็กและเยาวชนในสถานศึกษาเพื่อลดผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ผลการศึกษาพบว่า
รูปแบบสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่ช่วยเยียวยาส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีต่อเด็กและเยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อลดผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรง ให้ครอบคลุมถึงประเด็นสำคัญ กล่าวคือ 1) การสร้างพื้นที่ปลอดภัยแก่เด็กและเยาวชนในบริเวณโรงเรียน 2) การสร้างภูมิคุ้มกันในการบริโภคสื่อข่าวสารของเด็กนักเรียน 3) การนำเสนอสื่อโดยลดความอคติและความเกลียดชัง 4) การคงอยู่ของสภาพแวดล้อมจริงที่เกิดขึ้นบริเวณโรงเรียน 5) การจัดการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านจิตใจ และ 6) ครูต้องเก่งในเรื่องการสื่อสารกับเด็กนักเรียน อีกทั้งระบบนิเวศสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ในสถาบันศึกษาจำเป็นต้องสร้างนิเวศมวลรวมผลของการทำงานระหว่าง โรงเรียน ผู้ปกครอง และภาคีที่เกี่ยวข้อง ซึ่งควรครอบคลุมในประเด็นสำคัญ กล่าวคือ 1) ผู้ปกครองต้องเป็นสื่อกลางในการขับเคลื่อนชุมชน 2) การบริหารจัดการสื่อ 3) ครูในโรงเรียนต้องมีทักษะในการจัดการสื่อ 4) การมีพื้นที่กลางของสื่อ 5) การเยียวยาต้องสร้างให้เห็นเป้าหมายใหม่และท้าทาย และ 6) การดำเนินนโยบายคุ้มครองเด็ก
สำหรับข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์และนิเวศสื่อที่ช่วยเยียวยาส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีต่อเด็กและเยาวชนในสถานศึกษาเพื่อลดผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า
- โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความจำเป็นต้องร่วมกันออกแบบพื้นที่ปลอดภัยภายในโรงเรียน และการสร้างภูมิคุ้มกันในการรับมือจากสถานการณ์ซึ่งต้องคำนึงถึงการสร้างพื้นที่ปลอดภัยเพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ครูในฐานะบุคลากรในสถานศึกษา จำเป็นต้องมีทักษะการสื่อสารมากกว่าการสอนนักเรียน กล่าวคือ ครูต้องมีทักษะในการสื่อสาร ทั้งกับกลุ่มเด็กที่ได้รับผลกระทบ และบุคคลภายนอกโรงเรียน
- องค์กรที่ทำหน้าที่ในการนำเสนอสื่อ เช่น เพจต่าง ๆ ในพื้นที่ ควรมีการนำเสนอสื่อของการคงอยู่สภาพแวดล้อมจริงอันสวยงามที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เช่น สถานที่ท่องเที่ยว สถานที่ทางวัฒนธรรม มิติความเป็นอยู่ของผู้คนในพื้นที่ ที่ยังคงดำเนินตามปกติภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบ และการนำเสนอสื่อต่าง ๆ ที่ออกมาต้องไม่มีความอคติและความเกลียดชังซ้อนอยู่ ประกอบชุมชน ต้องออกมาสื่อสารกับบุคคลภายนอกให้มาก เพื่อเป็นการเปิดพื้นที่ให้กับคนตัวเล็กตัวน้อยได้นำเสนอข้อมูลข่าวสารในท้องถิ่นของตนมากขึ้น และที่สำคัญองค์ที่ทำงานด้านสื่อ ควรติดอาวุธทางปัญญาแก่ชุมชนในการมีทักษะการรับรู้และเท่าทันต่อการใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์
- หน่วยงานที่ดูแลในเรื่องสถานศึกษา ควรมีการจัดอบรมกับครูในเรื่องเยียวยากับการสื่อสารในพื้นที่ความขัดแย้ง เนื่องจากเมื่อมีเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นในพื้นที่คนแรกๆ ที่อยู่กับเด็กและเยาวชนคือ ครู ฉะนั้นครูควรมีทักษะการเยียวยาและการสื่อสารให้คนข้างนอกรับรู้ ประกอบกับควรมีการคัดเลือกหรือพิจารณาครูที่ต้องการเข้ามาสอนในโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสุขภาพจิต เพื่อเป็นการสร้างบุคลากรทางการศึกษาได้มีความรู้ในเรื่องการเยียวยา และการสื่อสารด้านสุขภาพจิตที่ดีต่อเด็กและเยาวชนในสถานศึกษา ขณะที่หน่วยงานทางด้านความมั่นคง ซึ่งทำหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ ควรจัดตั้งฐานบัญชาการให้ห่างไกลจากสถานศึกษา เนื่องจากเป็นหน่วยงานทีมีความเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรง ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อโรงเรียน และเด็กนักเรียนในสถานศึกษา ในส่วนของหน่วยงานทางด้านสาธารณสุข ซึ่งมีหน้าที่ได้ในการดูแลและการเยียวยาสุขภาพจิตในพื้นที่อยู่แล้ว ควรเข้ามามีบทบาทในการดูแลอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มทักษะของการสื่อสารในกลุ่มคนทำงานให้เป็นพื้นที่กลางของการกระจายความรู้ในเรื่องของการเยียวยา โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชนในสถานศึกษา
References
เกศิริ บัวคิด. (2017). โครงสร้างการบริหารการจัดการสื่อสมัยใหม่. นิเทสยามปรทิศัน์. 11 (12), 13-18.
โครงการหน่วยเคลื่อนที่เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้. (2559). โครงการหน่วยเคลื่อนที่เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้. ม.ป.พ. ม.ป.ท.
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. (2562) ความรู้สำหรับแพทย์ทั่วไป. สืบค้นจาก https://med.mahidol.ac.th/ramamental/generaldoctor/05302015-1735 วันที่ 25 มิถุนายน 2562.
ชาติชาย คงเพ็ชรดิษฐ์ และธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). การพัฒนาทักษะการสื่อสารเพื่อการเจรจาเชิงผลได้ของพนักงานบริหารงานลูกค้าในอุตสาหกรรมโฆษณา,วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ 9(2), 14-30
ธิดา วิวัฒน์พาณิชย์. (2558). วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลยัราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 9( 3), 209-219.
เพ็ญศรี ไชยสลี และคณะ. (2559). การมีส่วนร่วมและแนวทางการพัฒนาของผู้ปกครองในการจัด การเรียนรู้ระดับปฐมวัยโรงเรียนสาธิตอุดมศึกษา สังกัดคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย.
พีระ จิรโสภณ และคณะ. (2559). ความรู้เท่าทันการสื่อสารยุคดิจิทัลกับบทบาทในการกำหนดแนวทางการปฏิรูปการสื่อสารในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
มาโนช ชุ่มเมืองปัก. (2019). สื่อ-แวด-ล้อม: นิเวศสื่อที่ดีเพื่อสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์.
ยูนีเซฟ. (2559). การสํารวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2558-2559.กรุงเทพฯ : ยูนีเซฟแห่งประเทศไทย.
ยาแก้ว และคณะ (2561) ที่ศึกษาพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตพื้นที่ภาคตะวันออก วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์, 2(2), 1-14
ราณี ฉายินทุ วัลลี ธรรมโกสิทธ (2553). คู่มือการช่วยเหลือเยียวยาจิตใจประชาชนในภาวะวิกฤต. กรุงเทพฯ: สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร
ศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก (2017). จัดระบบความปลอดภัยในโรงเรียน เรื่องใหญ่ที่ต้องจริงจัง https://www.thaichildrights.org/story/
อภิวัฒน์ สุดสาว (2552) การปฏิรูปสื่อภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐. วารสารคมความคิด เข็มทิศรัฐธรรมนูญ, จุลนิติ พ.ค.- มิ.ย. 52: 93-103.
อุราเพ็ญ ยิ้มประเสริฐ. (2557). รู้เท่าทันสื่อ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
10 ปี ไฟใต้ เด็ก-เยาวชนในวังวนความรุนแรง. (2557). 10 ปี ไฟใต้ เด็ก-เยาวชนในวังวนความรุนแรง. สืบค้นจาก https://thailandunicef.blogspot.com/2014/03/10.html [เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2561]
Abuza, Zachary.
2003. Militant Islam in Southeast Asia: Crucible of Terror. Boulder, Colorado:
Lynne Rienner Publishers, Inc.
2005. “A Conspiracy of Silence: Who is Behind the Escalating Insurgency in Southern Thailand?,” Jamestown Foundation Terrorism Monitor. Vol. 3, No. 9.
Askew, Marc.
2007. Conspiracy, Politics, and a Disorderly Border: the Struggle to Comprehend
Insurgency in Thailand’s Deep South. Singapore: East-West Center Washington, and
ISEAS.
Croissant, Aurel.
2005. “Unrest in South Thailand: Contours, Causes and Consequences since 2001,” Contemporary Southeast Asia. Vol. 21, No. 1.
Liow, Joseph Chinyong.
2006. “International Jihad and Muslim Radicalism in Thailand? Toward and
Alternative Interpretation,” Asia Policy. No. 2.
McCargo, Duncan.
2006. “Thaksin and the Resurgence of Violence in the Thai South: Network Monarchy Strikes Back?” Critical Asian Studies. Vol. 38, No. 1.
2006. Riots, Pogroms, Jihad: Religious Violence in Indonesia. Ithaca and London:
Cornell University Press.
Srisompob Jitpiromsri and Panyasak Sobhonvasu.
2006. “Unpacking Thailand’s Southern Conflict: The Poverty of Structural Explanations,” Critical Asian Studies. Vol. 38, No. 1.
Ukrist Pathmanand.
2006. “Thaksin’s Achilles’ heel: The Failure of Hawkish Approaches in the Thai South,” Critical Asian Studies. Vol. 38, No. 1.
Wattana Sugunnasil.
2006. “Islam, Radicalism, and Violence in Southern Thailand: Berjihad di Patani and the 28 April 2004 Attacks,” Critical Asian Studies. Vol. 38, No. 1.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์เป็นของวารสาร....