แนวทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • อดิศักดิ์ จำปาทอง คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น
  • ศชากานท์ แก้วแพร่

คำสำคัญ:

สื่อสังคมออนไลน์ / คุณภาพชีวิต / ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดลำปาง และเสนอแนวทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดลำปาง ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) การเสวนากลุ่มย่อย (Focus group) และการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ผู้สูงอายุและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 24 คน

ผลการวิจัยพบว่า ปัญหา อุปสรรค และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดลำปาง ประกอบด้วย 1) ด้านเศรษฐกิจ 2) ด้านสุขภาพกายและโรคประจำตัว 3) ด้านที่อยู่อาศัยและและการสนับสนุนจากบุตรหลานและญาติ และ 4) ด้านสังคมและชุมชน ซึ่งปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวมีความจำเป็นต้องใช้สื่อออนไลน์เข้ามาช่วยพัฒนาด้วย จึงร่วมกันค้นหาแนวทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดลำปาง ประกอบด้วย 1) ด้านเศรษฐกิจ โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ส่งเสริมสินค้าให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ขยายการรับรู้ข่าวสาร การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ รวมถึงการขยายเครือข่ายด้านการขายและการตลาด 2) ด้านสุขภาพ โดยส่งเสริมการใช้แอปพลิเคชันไลน์ (Line) เฟซบุ๊ค (Facebook) และยูทูป (YouTube) เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ ฟังและชมคลิปบันเทิง สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ ทำให้รู้สึกสบายใจ ผ่อนคลาย 3) ด้านที่อยู่อาศัยและชุมชน โดยส่งเสริมการใช้แอปพลิเคชันไลน์ (Line) และเฟซบุ๊ค (Facebook) ในการสืบค้นและแชร์ข้อมูลการจัดที่อยู่อาศัยให้ถูกสุขลักษณะและน่าอยู่ และติดต่อกับหน่วยงานผู้รับผิดชอบปรับปรุงที่อยู่อาศัยและสิ่งรองรับผู้สูงอายุให้มีคุณภาพที่ดี 4) ด้านกลุ่มสังคมและชุมชน โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อเพิ่มช่องทางการสื่อสารกับหน่วยงานด้านสวัสดิการกองทุนผู้สูงอายุ ให้เข้าถึงข้อมูลได้สะดวกยิ่งขึ้น รวมถึงขยายเครือข่ายผู้สูงอายุให้เข้มแข็ง 5) ด้านความภูมิใจคุณค่าในตนเอง โดยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุใช้สื่อสังคมออนไลน์ส่งเสริมการทำงานเพื่อสังคม การแบ่งปันข้อมูล การแสดงความคิดเห็น การสร้างการยอมรับ การสร้างเพื่อนใหม่ สังคมใหม่ และเครือข่ายใหม่

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2562). มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมสูงอายุ (ฉบับปรับปรุง) พ.ศ.2562 (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2564, จาก https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/335

กุลิศรา ปิ่นทอง, สุชีพ พิริยสมิทธ์ และเดชา บัวเทศ. (2561). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 10(2), 107-117.

นลินี ศรีวิลาศ และปริญญา หรุ่นโพธิ์. (2560). พฤติกรรมการเข้าถึงและการใช้งานอินเทอร์เน็ตของ กลุ่มผู้สูงอายุอำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2564, จาก http://repository.rmutr.ac.th/bitstream/handle/123456789/808/rmutrconth_161.pdf?sequence=1&isAllowed=y

ภูมิวัฒน์ พรวนสุข. (2558). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดแพร่. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์, 10(1), 77-87.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2562). สังคมผู้สูงอายุ : นัยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2564, จาก https://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sec/Lom12/05-04.html

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2562). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2562 (ออนไลน์).
สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2564, จาก https://thaitgri.org/?p=39387

ระวีวรรณ ทรัพย์อินทร์ และญาศิณี เคารพธรรม. (2560). สื่อกับผู้สูงอายในประเทศไทย. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิต, 11(2), 367-387.

สมคิด แทวกระโทก. (2560). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัย, 11(1), 158-170.

สำนักงานจังหวัดลำปาง. (2561). แผนพัฒนาจังหวัดลําปาง 4 ปี (พ.ศ.2561–2564) ฉบับทบทวนปี พ.ศ.2562 (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2564, จาก http://www.lampang.go.th/strategy/index_pl.htm

อดิศักดิ์ จำปาทอง, คนึงนิจ ติกะมาตย์, เกสร มณีวรรณ และนิฤมล หิรัญวิจิตรภรณ์. (2562). แนวทางในการใช้สื่อเพื่อส่งเสริมกิจกรรมของผู้สูงอายุจังหวัดลำปาง. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 11(3), 254-265.

World Health Organization. (2002). What is "active ageing"? [Online]. Retrived July 3, 2015, from: http://www.who.int/ageing/ active_ageing/en/

Cronbach. Lee. J (1963) Educational Psychology. New York: Harcourt, Brace and World

Thumbsupteam. (2556). จับตาไลฟ์สไตล์การใช้งานออนไลน์ของผู้สูงอายุ น่าสนใจไม่แพ้วัยทีน (ออนไลน์).
สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2564, จาก https://www.thumbsup.in.th/seniors-boomers-internet-usage

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-03