การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคสื่อออนไลน์ในธุรกิจค่ายเพลง

ผู้แต่ง

  • สุวรรณี ห้วยหงษ์ทอง สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,
  • รวิษรา เปรมกลาง

คำสำคัญ:

พฤติกรรมผู้บริโภค, สื่อออนไลน์, ธุรกิจค่ายเพลง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพฤติกรรมผู้บริโภคสื่อออนไลน์ในธุรกิจค่ายเพลง ประยุกต์ใช้แนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีพฤติกรรมของผู้บริโภคและทฤษฎีเกี่ยวกับการเปิดรับสื่อ ใช้ระเบียบวิธีวิจัย คือ การวิจัยเชิงสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงสถิติ ประชากรคือผู้บริโภคสื่อออนไลน์ของค่ายเพลง คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของทาโร่ ยามาเน่ มีจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้บริโภคมักจะบริโภคสื่อออนไลน์ในช่วงเวลา 18.00 – 24.00 น. มากที่สุด 2. ผู้บริโภคบริโภคสื่อออนไลน์เป็นระยะเวลา 3 – 5 ชั่วโมงต่อวัน 3. สื่อออนไลน์ที่ผู้บริโภคนั้นบริโภคมากที่สุด คือ สื่อผลงานเพลงที่มีลักษณะเป็นมิวสิควิดีโอ (Music Video) หรือสื่อที่มีเนื้อหาเป็นเรื่องราว 4. ผู้บริโภคส่วนใหญ่ใช้สมาร์ทโฟนในการเข้าถึงสื่อออนไลน์ 5. ผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกเปิดรับสื่อจากแพลตฟอร์มที่มีความเคลื่อนไหวอย่างสม่ำเสมอเท่านั้น เช่น มีการอัปโหลดผลงานหรือข่าวสารของศิลปินทุกวัน การอัปโหลดสื่อออนไลน์ที่ตรงต่อเวลาตามที่เคยเผยแพร่ไว้ก่อนนั้น 6. ผู้บริโภคส่วนใหญ่มักบริโภคสื่อออนไลน์ที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกับประสบการณ์ชีวิต มากกว่าการถ่ายทำในสตูดิโอ หรือผลิตออกมาในรูปแบบกราฟิก 7. ผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกจดจำสื่อออนไลน์ที่เป็นภาพเคลื่อนไหวหรือวีดีโอมากที่สุด

References

ชานนท์ ศิริธร. (2559). พฤติกรรมการบริโภคสมาร์ทโฟนของผ้บริโภคเจเนอเรชั่นวาย. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า, 3(1), 77-104.
ตั๋น นิลมาติ และ ดร.วิโรจน์ มโนพิโมกษ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมติดการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา. 4 (1), 157-165.
รัญญา นาคนุ่น. (2558). การสำรวจพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารทางสื่อออนไลน์ (สื่ออินเตอร์เน็ต) และทัศนคติที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์สบู่แครอทฟิลิปปินส์ที่จำหน่ายทางออนไลน์. การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.), บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วัฒนี พานิชกุล. (2545). ค่าเช่าทางเศรษฐกิจในอุตสาหกรรมเพลง : กรณีศึกษาส่วนแบ่งระหว่างค่ายเพลงกับนักร้อง. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักเลขาธิการวุฒิสภา. (2561). Strategies for promoting through social media using (Facebook). กรุงเทพฯ: สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักเลขาธิการวุฒิสภา.
อภิวัฒน์ น้ำทรัพย์. (2545). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการซื้อและฟังเทปเพลงไทยสากลและซีดี:กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนระดับปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์ธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
อาทิตยา ทรัพย์สินวิวัฒน์ และรัตนวดี เศรษฐจิตร. (2562). รูปแบบการสื่อสารของมิวสิควิดีโอทางยูทูบกับปรากฎการณ์ 100 ล้านวิว. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 7(2), 194-204.
อุษณีย์ ด่านกลาง และ บุญญรัตน์ สัมพันธ์วัฒนชัย. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ชมวิดีโอคอนเทนท์บนสื่อสังคมออนไลน์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 2(2), 78-90.
Balakrishnan, B. K., Dahnil, M. I., & Wong, J. Y. (2014). The impact of social media marketing medium toward purchase intention and brand loyalty among generation Y. Social and Behavioral Sciences, 1(148), 177–185.
Celebi, S. I. (2015). How do motives affect attitudes and behaviors toward internet advertising and Facebook advertising?. Computers in Human Behavior, 51, Part A, 312-324.
Gigolo. (2019). Phoei Phaen Senthang GMM Bot Phisut Nueng Diao Thi Yuenyat Nai Thurakit Banthoeng Thai. Retrieved 3 March 2021 From https://www.marketingoops.com/news/brand-move/gmm-business/
Klapper, Joseph T. (1960). The effects of mass communication. Glencoe, Illinois: Free Press.
Klapper, Joseph T. (1969). The comparative effects of various media. The Process and Effects of Mass Communications.
Kotler, P. & Armstrong, G. (2018). Principles of marketing (17th ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Kotler, P. and Keller, K.L. (2012). Marketing Management 12th Edition. Edinburgh Gate: Pearson Education Limited.
Suwannatat, P. (2021). อุตสาหกรรมเพลงโลกกลับสู่ยุครุ่งเรืองอีกครั้ง รายได้เกิน 6 แสนล้านบาท เท่ายุคปี 2000. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2564 จาก https://brandinside.asia/music-industry-revenue-2020/
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory statistics, (Second Edition). New York: Harper & Row.
Zhou, Z., & Bao, Y. (2002). Users’ attitudes toward Web advertising: Effects of Internet motivation and Internet ability. Advances in Consumer Research. Association for Consumer Research, 71-78.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-03