มโนทัศน์เรื่องทุนของชนชั้นกลางกับพัฒนาการของละครเพลงไทย

ผู้แต่ง

  • นิโลบล วงศ์ภัทรนนท์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • สมสุข หินวิมาน

คำสำคัญ:

ละครเพลง, ชนชั้นกลาง, ทุน, วัฒนธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการของละครเพลงไทยในระหว่างปี พ.ศ. 2474-2562 กับแนวคิดเรื่องทุนทั้ง 4 ประเภทของปิแอร์ บูร์ดิเยอ      อันได้แก่ ทุนวัฒนธรรม ทุนเศรษฐกิจ ทุนทางสังคมและทุนสัญลักษณ์ ผลการวิจัยพบว่าการสถาปนาวัฒนธรรมละครเพลงนั้นมีปัจจัยสำคัญคือทุน ซึ่งชนชั้นกลางผู้ผลิตมีข้อจำกัดคือทุนทางวัฒนธรรมเนื่องจากเป็นชนชั้นใหม่ในสังคมไทยที่เกิดขึ้นหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 การผลิตวัฒนธรรมจึงต้องยึดโยงกับวัฒนธรรมของชนชั้นอื่นในสังคมและได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมโลกที่มาพร้อมกระแสโลกาภิวัตน์ พัฒนาการของละครเพลงอย่างต่อเนื่องสร้างทุนทางเศรษฐกิจและก่อให้เกิดเครือข่ายที่เป็นทุนทางสังคม ในที่สุดละครเพลงก็สามารถพัฒนาให้กลายเป็นสินค้าที่สร้างทุนสัญลักษณ์ให้กับชนชั้นผู้เสพว่าเป็นผู้มีระดับและมีฐานะทางสังคมดี

References

กนกพันธ์ จินตนาดิลก. (2546). การสื่อสารระหว่างผู้กำกับการแสดงและนักแสดง (พ.ศ. 2486-2596) และละครโทรทัศน์ (พ.ศ. 2498-2519) (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
กัลยรัตน์ หล่อมณีนพรัตน์. (2535). การศึกษาเชิงวิเคราะห์บทละครร้องของพรานบูรพ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
จริยา ศรีธนพล. (2557). ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของธุรกิจละครเวที บริษัท ซีเนริโอ จำกัด ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของกลุ่มผู้บริโภค (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
ทัศน์พล พรพงษ์อภิสิทธิ์. (2562). วิเคราะห์อุปสงค์การรับชมละครเพลงของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะเศรษฐศาสตร์.
ประภาภรณ์ รัตโน และ หยกขาว สมหวัง. (2560). อุตสาหกรรมการสร้างวัฒนธรรมและการสื่อสารในยุค
ดิจิทัล กรณีศึกษาอุตสาหกรรมการสร้างวัฒนธรรมไทยในจีน. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 5(1), 121-136.
พวงเพ็ญ สว่างใจ. (2551). คุณค่าทางวรรณคดีของบทละครร้องของไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข. (2557). มโนทัศน์ชนชั้นและทุนของปิแอร์ บูดิเออ. วารศาสตร์เศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 2(1), 29-44.

ศิริมงคล นาฏยกุล. (2545). การแสดงละครเพลงของไทย พ.ศ.2490-2496. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
อัจฉราวรรณ ภู่สิริวิโรจน์. (2543). พัฒนาการละครเพลงของรพีพร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
Appadurai, A. (1990). Disjuncture and Difference in the Global Cultural Economy. In Global
Culture. (Ed.), M. Featherstone. Thousand Oaks. CA: Sage.
Bhabha, K. H. (1990). Nation and Narration. New York: Routledge.
Bourdieu, P. (1997) ‘The Forms of Capital’ in Halsey, A.H., H. Lauder, P. Brown and A.S. Wells
(eds). Education: Culture, Economy, Society. Oxford: Oxford University Press.
Bourdieu, P. (1989). Distinction: A Social Critique of the Judgement of Taste. London: Routledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-03