การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย กับการพัฒนาศักยภาพของเยาวชนไทย

ผู้แต่ง

  • อานนท์ บัวภา คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • มาโนช ชุ่มเมืองปัก ผู้อำนวยการหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

การสื่อสารแบบมีส่วนร่วม, ศักยภาพ, สภาเด็กและเยาวชน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการดำเนินงานโดยใช้การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย และ (2) ศึกษาการพัฒนาศักยภาพของเยาวชนจากกระบวนการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน มีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักซึ่งเป็นคณะบริหารขององค์กร ในประเด็นการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมขององค์กรและการพัฒนาศักยภาพในมุมมองของเยาวชนแกนนำ และการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากการทำแบบสอบถามประเด็นผลการพัฒนาศักยภาพที่เกิดขึ้นในมุมมองของเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมขององค์กร และนำผลจากแบบสอบถามมาวิเคราะห์ร่วมกันกับคณะบริหารในลักษณะการสนทนากลุ่ม

          ผลการวิจัยพบว่า สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทยมีการใช้การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อขับเคลื่อนงานด้านเด็กและเยาวชนในเชิงนโยบาย โดยเริ่มจากกระบวนการทำงานขององค์กรที่เน้นความเท่าเทียมและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามหลักประชาธิปไตย โดยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ได้ส่งผลให้รูปแบบการสื่อสารขององค์กรเกิดการปรับตัวไปในลักษณะออนไลน์ค่อนข้างมาก ทั้งนี้ ผลการศึกษายังพบว่ามีปัจจัยหลายประการที่ส่งผลต่อกระบวนการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม ได้แก่ (1) ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ (2) ปัจจัยด้านคุณวุฒิและวัยวุฒิ (3) ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ส่วนบุคคล และ (4) ปัจจัยด้านความรู้และประสบการณ์ สำหรับผลของการพัฒนาศักยภาพจากกระบวนการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมนั้น เยาวชนที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่เห็นว่าตนเองได้รับการพัฒนาศักยภาพทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ (1) การพัฒนาด้านความรู้ (2) การพัฒนาด้านพฤตินิสัย และ (3) การพัฒนาด้านทักษะ

 

References

กนกพรรณ คันธจันทร์. (2554). เทคโนโลยีการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2563, จาก

http://52040337kanokphan.blogspot.com/2011/09/blog-post_6027.html

กาญจนา แก้วเทพ, กำจร หลุยยะพงศ์, รุจิรา สุภาษา, และวีรพงษ์ พลนิกรกิจ. (2543). สื่อเพื่อชุมชน: การประมวลองค์ความรู้. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

กุลฤดี นุ่มทอง. (2557). การสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความตระหนักรู้สิทธิขั้นพื้นฐานของ

แรงงานเด็กข้ามชาติในชุมชนจังหวัดสมุทรสาคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. http://library.nida.ac.th/2015/index.php/en/

จินตวีร์ เกษมศุข. (2550). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการสื่อสารระหว่างบุคคล ของ นักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. วารสารศรีปทุมปริทัศน์, 7(2), 13-25.

ณัฐกฤตา มัธยมสุข. (2559). การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในโครงการ 4ม. ขอคืนพื้นที่เขาใหญ่ ของกลุ่มเยาวชนต้นกล้า จังหวัดนครนายก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย สวนดุสิต]. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. https://arit.dusit.ac.th/2019/

ทิพย์สุดา ปานเกษม. (2559). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ใน จังหวัดน่าน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]. สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. http://library.nida.ac.th/2015/index.php/en/

บุษบา หินเธาว์. (2554). รูปแบบการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมของชาวบ้านเพื่อการจัดการป่าชุมชนอย่าง ยั่งยืน. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ปาริชาต สถาปิตานนท์. (2549). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน จากแนวคิดสู่ ปฏิบัติการวิจัยในสังคมไทย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ปิยะนันท์ ทรงสุนทรวัฒน์. (2559). บทบาทของสภาเด็กและเยาวชนในการขับเคลื่อนกิจกรรม

เทศบาลนครราชสีมา [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016/TU_2016_5803011328_5070_5066.pdf

ภาณุพงศ์ ภูโต. (2551). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษา ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน

เขาสมอคอน อ.ท่าวุ้ง ต.เขาสมอคอน จ.ลพบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. https://lib.dpu.ac.th/

วุฒิพร ลิ้มวราภัส. (2563). กระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์: กรณีศึกษาโพสต์ทู เดย์ และแนวหน้า [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. http://library.nida.ac.th/2015/index.php/en/

สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย. (2560). สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย. สืบค้น

พฤศจิกายน 2563, จาก https://cyct.dcy.go.th/

McQuail, D. (1987). Mass Communication Theory. An Introduction (2nd ed.). Sage.

Robbin, S. P., & Coulter, M. (1959). Mass communication. Random House.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-03