รูปแบบการใช้สื่อดิจิทัลกับการเรียนรู้ทางสังคม และการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • ปุณณรัตน์ พิงคานนท์ Surin Rajabhat University
  • พนารัตน์ ลิ้ม คณะนิเทศศาตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

การใช้สื่อดิจิทัล/ การเรียนรู้ทางสังคม/ การเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

บทคัดย่อ

       งานวิจัยเรื่อง รูปแบบการใช้สื่อดิจิทัลกับการเรียนรู้ทางสังคมและการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของเด็กปฐมวัย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการใช้สื่อดิจิทัลกับการเรียนรู้ทางสังคมและการเสริมสร้างสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของเด็กปฐมวัย 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการใช้สื่อดิจิทัลกับองค์ประกอบการเรียนรู้ทางสังคมของเด็กปฐมวัย 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการใช้สื่อดิจิทัลกับองค์ประกอบการเสริมสร้างสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของเด็กปฐมวัย ของเด็กปฐมวัย และ 4) เพื่อศึกษารูปแบบการใช้สื่อดิจิทัลของเด็กปฐมวัยกับการเรียนรู้ทางสังคมและการสร้างเสริมสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของเด็กปฐมวัย โดยอาศัยทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมและแนวคิดการสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมาประยุกต์ใช้

              วิธีการวิจัยที่นำมาใช้ในงานวิจัยนี้คือระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน มีรูปแบบการศึกษาวิจัย 2 รูปแบบ คือ 1) การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยกระบวนการสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครอง และครูปฐมวัย ในจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 8 คน และ 2) การวิจัยเชิงปริมาณ จากข้อมูลการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง ผู้ปกครอง และครูปฐมวัย ในจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 400 คน โดยแจกแบบสอบถามให้ตอบด้วยตนเอง และแบบสอบถามออนไลน์ มาประมวลผลด้วยโปรแกรมทางสถิติ ด้วย Multiple Regression

          ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการใช้สื่อดิจิทัลกับการเรียนรู้ทางสังคมของเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย 1) เด็กปฐมวัยเกิดกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมผ่านสื่อดิจิทัล 2) เด็กปฐมวัยใช้สื่อดิจิทัลในการเรียนรู้ทางสังคม ทั้งในโอกาสที่ผู้ปกครองไม่ได้อยู่กับบุตรหลาน และขณะที่ผู้ปกครองอยู่กับบุตรหลาน รวมทั้งใช้เพื่อการเรียนของบุตรหลานโดยตรง 3) สื่อดิจิทัลส่งเสริมการเรียนรู้ทางสังคมของเด็กปฐมวัย ด้านคุณธรรม การทำความดีความชั่ว บาปบุญคุณโทษ และเรียนรู้ความเป็นไทย ส่วนรูปแบบการใช้สื่อดิจิทัลกับองค์ประกอบการสร้างเสริมสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย 1) เด็กปฐมวัยมีกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมผ่านสื่อดิจิทัล 2) เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ทางสังคมผ่านใช้สื่อดิจิทัลในขณะเรียน โดยมีครูปฐมวัยเป็นผู้ใช้สื่อดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางสังคมให้แก่เด็กปฐมวัย 3) สื่อดิจิทัลส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยด้านคุณธรรม การทำความดีความชั่ว

          การพยากรณ์รูปแบบการใช้สื่อดิจิทัลกับการเรียนรู้ทางสังคมของเด็กปฐมวัย พบว่า ปัจจัยด้านการให้คำปรึกษาและช่วยเหลือการใช้ การมีส่วนร่วมในการใช้ และการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้สื่อดิจิทัล สามารถพยากรณ์การเรียนรู้ทางสังคมของเด็กปฐมวัยได้ ส่วนการพยากรณ์รูปแบบใช้สื่อดิจิทัลกับการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของเด็กปฐมวัย พบว่า ปัจจัยด้านการให้คำปรึกษาและช่วยเหลือการใช้ การมีส่วนร่วมในการใช้ และการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้สื่อดิจิทัล สามารถพยากรณ์การเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของเด็กปฐมวัยได้

References

กมลรัฐ อินทรทัศน์ และ พรทิพย์ เย็นจะบก. (2547). หลักและทฤษฎีการสื่อสาร. เข้าถึงเมื่อวันที่
9 กันยายน 2563. จาก https://pirun.ku.ac.th/~agrpct/lesson3/com
_theory.html
กาญจนา แก้วเทพ และนิคม ชัยขุนพล. ( 2544). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพฯ: เ
อดิสัน เพรสโปรดักชั่น.
__________. (2547). การศึกษาสื่อมวลชนด้วยทฤษฎีวิพากษ์. กรุงเทพฯ: แบรนด์เอจ.
__________. (2552). สื่อสารมวลชน ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
คณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. 2562. มาตรฐานสถาบันพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ.
เอกสารประกอบการประชุมชี้แจงแนววทางการดำเนินงานตามมาตรฐานสถาบัน
พัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ, 7 กุมภาพันธ์ 2562 โรงแรมรอยัล ซิตี้ กรุงเทพฯ.
จรรจา สุวรรณทัต. (2554). ชุดความรู้เกี่ยวกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว
ตามมาตรฐานครอบครัวเข้มแข็ง. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการสตรีและสถาบัน
ครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
จิตตินันท์ บุญสถิรกุล. (2557). รูปแบบการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย. หน่วยที่ 10. ชุดวิชา พัฒนาการ
และการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เฉลิมชัย เลี้ยงสกุล. (2563). การศึกษาในยุค COVID-๑๙. สืบค้น 21 มิถุนายน 2564, จาก https://docs.
google.com/document/d/zLnGRGKqbKEidWSRgUDzbPqjrZGZoY6miO5vgjZo/edit
ชนิพรรณ จาติเสถียร อ้างถึงใน Daugherty, L., & Dossani, R. (2014). The role of technology in the
lives of children. In The Rand Blog.
ชนิพรรณ จาติเสถียร (25..) สื่ออิเล็กทรอนิกส์กับการพัฒนาเด็กปฐมวัย. หน่วยที่ 10. ชุดวิชา
นวัตกรรม สื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษาปฐมวัย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชุติมา เล็กพงศ์ และปนัฐษรณ์ จารุชัยนิวัฒน์. (2561). บทบาทของผู้ปกครองในการใช้เทคโนโลยี
และสื่อปฏิสัมพันธ์กับเด็กวัยอนุบาล ในโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร
เขตคลองเตย. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา 31, 3. หน้า 71-81.
ฐิตินัน บุญภาพ คอมมอน. (2556). บทบาทของสื่อใหม่ในการสร้างค่านิยมทางสังคมและอัตลักษณ์
ของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์ (หน่วยที่ 5 การพัฒนาเจคติที่ดีต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย ชุดวิชา ประสบการณ์
วิชาชีพการพัฒนาเด็กปฐมวัย) นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว (2554) ธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี. นิตยสาร สสวท. ปีที่ 40 ฉบับที่ 174 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2544. หน้า 32-35.
ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ และ ประสพชัย พสุนนท์. (2559). กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับ
การวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ. ปีที่ 29 ฉบับที่ 2 ตุลาคม –
ธันวาคม 2559. หน้า 31 – 48.
พรพรรณ ประจักษ์เนตร. (2557). นวัตกรรมการสื่อสารและการขยายพลังอำนาจในการอธิบาย
ของทฤษฎีการสื่อสารจาก “พื้นที่โลกจริง” ไปสู่ “พื้นที่เสมือนจริง”.วารสารนิเทศศาสตร์
และนวัตกรรมนิด้าฉบับปฐมฤกษ์ หน้า 33-48.
พีระ จิรโสภณ. (2557). หน่วยที่ 12 ทฤษฎีการสื่อสารมวลชน. ประมวลสาระชุดวิชา ปรัชญานิเทศศาสตร์
และทฤษฎีการสื่อสาร. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธราช.
แพรวพรรณ อัคคะประสา. (2557). แนวคิดและทฤษฎีการรู้เท่าทันสื่อ. สืบค้น 21 มิถุนายน 2564, จาก
http://bcp.nbtc.go.th/uploads/items/attachments/b7bb35b9c6ca2aee2df08cf09d7016c2/_6
51dab51d77cc9cc0b46de8a418db8e7.pdf
ไพฑูรย์ มะณู. (ม.ป.ป.). สื่อดิจิทัล digital media. สืบค้น 21 พฤษภาคม 2562, จากhttp://
paitoon.esdc.go.th/sux-dicithal
ระวีวรรณ ทรัพย์อินทร์. (2562). พฤติกรรมการใช้สื่อวิทยุและโทรทัศน์กับลักษณะเนื้อหาและรูปแบบ
ที่เหมาะสมสำหรับเด็กและเยาวชนไทย. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์. 13-1
มกราคม-มิถุนายน 2562.
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2551 คลังสารสนเทศของสถาบัน
นิติบัญญัติ วุฒิสภา (เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2563)
https://dl.parliament.go.th/backoffice/viewer2300/web/viewer.php
ละเอียด นาถวงษ์. (2544). ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพระหว่างบุคคลกับความยึดมั่นผูกพัน
ต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ กรณีศึกษาโรงพยาบาลอินทร์บุรี สิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์
หลักสูตรปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิไลภรณ์ จิรวัฒนเศรษฐ์. (2560). เด็กยุคดิจิทัลภายใต้สังคมแห่งสื่อออนไลน์และการเรียนรู้
ทางสังคม. วารสารอนาคตวิทยาทางการศึกษา. 1(1): 1-12.
สมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี การใช้สื่อเทคโนโลยีสำหรับเด็กปฐมวัย วิกฤตปฐมวัยและ
แนวทางแก้ไข (ชนิพรรรณ จาติเสถียร, กันตวรรณ มีสมสาร, และอภิรดี ไชยกาล.
ธิดา พิทักษ์สินสุข บรรณาธิการ, 2560) พลัสเพรส.
สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย. (2560). (เข้าถึงเมื่อ 13 ตุลาคม 2563, เว็บไซต์ http://thairealestate.org/ )
สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน และประเสริฐ อินทร์รักษ์. (2562). การบริหารจัดการสื่อดิจิทัลเพื่อ
เด็กปฐมวัย. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ 10 ฉบับที่ 1
(มกราคม – มิถุนายน 2562).
สราลี พุ่มกุมาร. (2562). การใช้สื่อใหม่เพื่อนันทนาการด้านกีฬาฟุตบอลกับการรับรู้สภาวะ
ความสัมพันธ์ทางสังคมและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาแฟนบอล
สโมสรชลบุรี เอฟซี (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สุวภา บุญอุไร และคณะ. (2561). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการใช้สมาร์ตโฟนของเด็ก
และผู้ปกครองที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย. วารสารหาดใหญ่
วิชาการ 16(2)ก.ค. - ธ.ค. 2561.
สุริยา ฆ้องเสนาะ (2558) บทความวิชาการ การศึกษาของเด็กปฐมวัย หัวใจสำคัญของการศึกษา
สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (เข้าจาก
https://library2.parliament.go.th/ebook/content-issue/2558/hi2558-082.pdf)
เข้าถึงเมื่อ 15 ธันวาคม 2563.
สุวิชชา เนียมสอน. (2558). เทคโนโลยีกับการศึกษาปฐมวัย: กระแสนิยมหรือสิ่งจำเป็น?. วารสาร
วิจัย มสด สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 11 (2). พ.ค.-ส.ค. 2558 หน้า 179-192.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (2561). พฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
ในประเทศไทย ปี 2561. สืบค้น 21 พฤษภาคม 2562, จาก https://www.etda.or.th/content/etda
-reveals-thailand-internet-user-profile-2018.html
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560). 5 องค์ประกอบของการรู้เท่าทันสื่อ. สืบค้น
21 มิถุนายน 2564,จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/39558
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). สภาวการณ์จัดการเรียนรู้เชิงพื้นที่ในบริบทประเทศไทย.
กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561) คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำหรับ
เด็กอายุ 3 – 6 ปี กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
อภิชาติ วีระสกุลรักษ์. (2559). ศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในการสร้างสื่อและเทคโนโลยีเพื่อ
เสริมสร้างพัฒนาการสำหรับเด็กอายุ 0-3 ปี. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรนิเทศศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจบันเทิงและการผลิตบัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
อภิรพีเศรษฐรักษ์ตันเจริญวงศ์, ศรีรัฐภักดีรณชิตและญาณวุฒิเศวตธิติกุล. (2561). พฤติกรรม
การใช้หน้าจอของเด็กไทยวัย 0 – 3 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร.วารสารวิชาการ
นวัตกรรมสื่อสารสังคม, ปีที่ 6 ฉบับที่ 2(12) ก.ค.-ธ.ค. 61 หน้า 60-69.
Marketing Oops!, (2562). ล้วง Insight การใช้งาน “ดิจิทัล” ทั่วโลก 2019 “คนไทย” ใช้เน็ต9
ชั่วโมงต่อวัน-มือถือมี 99 แอปฯ!!. สืบค้น 21 พฤษภาคม 2562, จากhttps://www.
marketingoops.com/reports/global-and-thailand-digital-trend-2019/

เอกสารต่างประเทศ
Albert Bandura. 1977. Social Learning Theory. New Jersey: Prentice Hall.
Chip Donohue & Roberta Schomburg. (2017). Technology and Interactive Media in Early
Childhood Programs: What We’ve Learned from Five Years of Research, Policy, and
Practice. Retrieved June 7, 2019, from https://www.naeyc.org/resources/pubs/
yc/sep2017/technology-and-interactive-media.
EnassOliemat, FathiIhmeideh, Mustafa Alkhawaldeh. (2018). The use of touch-screen
tablets in early childhood: Children's knowledge,skills, and attitudes
towards tablet technology. Retrieved June 7, 2019, from
FathiIhmeidehab, Mustafa Alkhawaldeha. (2017). Teachers' and parents' perceptions of the role of
technology and digital media in developing child culture in the early years. Retrieved June 7, 2019,
from https://www. sciencedirect.com/science/article/pii/S0190740917301330#!
Georgina F. Bentley, Katrina M. Turner, and Russell Jago. (2016). Mothers’ views of their preschool
child’s screen-viewing behaviour: a qualitative study Retrieved June 7, 2019, from https://www.
ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4973523/
Jane O’Connor, Olga Fotakopoulou, (2016). A threat to childhood innocence or the
future of learning? Parents’ perspectives on the use of touch-screen
technology by 0–3 year-olds in the UK. Retrieved June 7, 2019, from
Karen Lawson. (N/A).What Do We Mean by Personal Relationships? Retrieved June 7,
2019, from https://www.takingcharge.csh.umn.edu/what-do-we-mean-
personal-relationships
Michelle M. Neumann (2014).An examination of touch screen tablets and emergent literacy in Australian
pre-school children Retrieved June 7, 2019, from https://journals.sagepub.com/doi/abs/10.1177/0004944114523368
Sandra M. Lawrence (2018) Preschool Children and iPads: Observations of Social Interactions
During Digital Play, Early Education and Development, 29:2, 207-228.
Oxford University Press. (2020). A Dictionary of Media & Communication (3 ed.). Retrieved from
https://www.oxfordreference.com/view/10.1093/acref/9780198841838.001.0001/
acref-9780198841838-e-708?rskey=KIc2rr&result=1
UNESCO. (2021). Media and Information Literacy Curriculum for Teachers. Retrieved May 21, 2021,
from http://www.unesco.org/new/fileadmin/MULTIMEDIA/HQ/CI/CI/pdf/media_and_
information_literacy_curriculum_for_teachers_en.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-01