ลักษณะส่วนบุคคล การสื่อสารภายในองค์การ และความผูกพันต่อองค์การ กับภาวะหมดไฟในการทำงานของพนักงานบริษัทเอกชน
คำสำคัญ:
ภาวะหมดไฟในการทำงาน, การสื่อสารภายในองค์การ, บรรยากาศการสื่อสารภายในองค์การ, ความผูกพันต่อองค์การบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะส่วนบุคคล การสื่อสารภายในองค์การ และความผูกพันต่อองค์การกับภาวะหมดไฟในการทำงานของพนักงานบริษัทเอกชน โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคลากรในองค์การเอกชน อายุตั้งแต่ 21-60 ปี (เกิดระหว่าง พ.ศ. 2504-2543) และมีระยะเวลาในการปฏิบัติงานในองค์การปัจจุบันตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป รวมจำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล จากผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
- ลักษณะส่วนบุคคลของพนักงานบริษัทเอกชน ได้แก่ เพศ สถานภาพสมรส (ทางพฤตินัย) รายได้ส่วนตัวต่อเดือน และระดับตำแหน่งในการทำงานของพนักงานฯ ที่แตกต่างกันมีภาวะหมดไฟในการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
- บรรยากาศการสื่อสารภายในองค์การมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์การด้านบรรทัดฐาน ด้านจิตใจ และด้านการคงอยู่ในองค์การ (r=0.546, r=0.524 และ r=0.504 ตามลำดับ)
- ความผูกพันต่อองค์การด้านจิตใจมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะหมดไฟในการทำงานด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ (r=-0.225) และด้านการลดความสำเร็จส่วนบุคคล (r=-0.291) ในส่วนของความผูกพัน
ต่อองค์การด้านการคงอยู่ในองค์การมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะหมดไฟในการทำงานด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ (r=-0.218) และด้านการลดความสำเร็จส่วนบุคคล (r=-0.208) ในขณะที่ความผูกพันต่อองค์การด้านบรรทัดฐานมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะหมดไฟในการทำงานทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ ด้านการลดความสำเร็จส่วนบุคคล และด้านการลดความเป็นบุคคล (r=-0.312, r=-0.255 และ r=-0.111 ตามลำดับ) - บรรยากาศการสื่อสารภายในองค์การมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะหมดไฟในการทำงานด้านการลดความสำเร็จส่วนบุคคล ด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ และด้านการลดความเป็นบุคคล (r=-0.248, r=-0.221 และ r=-0.163 ตามลำดับ)
References
กริช สืบสนธ์. (2526). การสื่อสารในองค์การ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กาญจนา แก้วเทพ. (2541). การวิเคราะห์สื่อ: แนวคิดและเทคนิค. อินฟินิตี้เพรส.
ชนิดา จิตตรุทธะ. (2560). วัฒนธรรมองค์การ ปัจจัยสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2554). จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ติรยา เลิศหัตถศิลป์. (2554). ภาวะเหนื่อยล้าในการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของจิตแพทย์ในประเทศไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 56(4), 437-448.
ธนพร พงศ์บุญชู. (2559). อิทธิพลกำกับของภาวะผู้นำที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดในการทำงานภาวะหมดไฟในการทำงานและพฤติกรรมการทำงานที่เบี่ยงเบน [การค้นคว้าอิสระ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]
http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016/TU_2016_5802036268_5772_4256.pdf
นฤมล สุธีรวุฒิ. (2558). ภาวะหมดไฟ: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและแนวทางในการป้องกัน. วารสารการวัดผลการศึกษา, 32(91), 16-25.
นุจรี สุพัฒน์. (2563). อิทธิพลของความคาดหวังในการทำงานที่มีต่อการรับรู้อัตลักษณ์องค์กรและการตัดสินใจเลือกงานของกลุ่มเจนเนอเรชั่นวาย. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ, 9(1), 83-99.
เบญจมา ณ มหาไชย. (2551). การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ ปัจจัยความเครียดในการทำงาน ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค และความเหนื่อยหน่ายจากการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:123796
ปิยะวรรณ คุ้มญาติ. (2563). ความเครียดในงาน ความเหนื่อยหน่ายในงาน ความรู้สึกผูกพันกับองค์กรและการจัดการความเครียด: กรณีศึกษาของกลุ่มงานพยาธิวิทยาคลินิกโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี. The 7th National Conference Nakhonratchasima College, 12(1), 807-817.
ผกาวัลย์ อินทรวิชัย. (2558). อิทธิพลของปัจจัยทางการสื่อสารและความเพลิดเพลินในการทำงานต่อความผูกพันของพนักงานและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2015/TU_2015_5707011564_4254_3011.pdf
พรหมพร ภู่คุ้ม. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงาน พฤติกรรมต่อต้านการปฏิบัติงานและความตั้งใจในการลาออกของพนักงานบริษัทเอกชนวัยเริ่มทำงาน โดยมีภาวะหมดไฟในการทำงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน [การค้นคว้าอิสระ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:176319
วรากร อนันตวราศิลป์. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของผู้สอบบัญชี Gen Y ในสำนักงานสอบบัญชี Big 4 [การค้นคว้าอิสระ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:98434
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์ และศุกร เสรีรัตน์. (2538). การบริหารการตลาดยุคใหม่. พัฒนาศึกษา.
สมชาย คบขุนทด, รัชฎา ฟองธนกิจ และนพดล บุรณนัฎ. (2562). ปัจจัยความสุขในการทำงานของพนักงานในคอนโดมิเนียม จังหวัดภูเก็ต. วารสารสมาคมนักวิจัย, 24(3), 41-56.
สมยศ นาวีการ. (2527). การติดต่อสื่อสารขององค์การ. บรรณกิจ.
สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานะ. (2541). พฤติกรรมองค์การ: ทฤษฎีและการประยุกต์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สิระยา สัมมาวาจ. (2534). ความเหนื่อยหน่าย (Burnout) ของผู้บริหารระดับต้นทางการพยาบาล ศึกษาเฉพาะกรณีหัวหน้าหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลรามาธิบดี [สารนิพนธ์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:112571
สุนีย์ เวชพราหมณ์. (2546). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัย [สารนิพนธ์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. http://search.swu.ac.th/primo-explore/fulldisplay?docid=ALEPH_MONO000066299&vid=SWU&search_scope=default_scope&tab=default_tab&lang=en_US&context=L
สุรชัย ทุหมัด, และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2561). ความเครียดและผลกระทบต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานในหน่วยงานด้านศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 19(2), 151-165.
เสนาะ ติเยาว์. (2530). การสื่อสารในองค์การ. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เสาวรัจ รัตนคำฟู และ เมธาวี รัชตวิจิน. (2563). ผลกระทบของการทำงานที่บ้าน (Work from home) ในช่วงโควิด-19: กรณีศึกษาของทีดีอาร์ไอ. สืบค้นจาก https://tdri.or.th/2020/05/impact-of-working-from-home-covid-19/
อรอนงค์ สวัสดิ์บุรี. (2555). พฤติกรรมและการสื่อสารในองค์การ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Allen, N. J., & Meyer, J. P. (1990). The measurement and antecedents of affective, continuance, and normative commitment to the organization. The Journal of Occupational Psychology, 63, 1-18.
Freudenberger, H. J. (1974). Staff burnout. Journal of Social Issues, 30, 159-165.
Lee, R. T., & Ashforth, B. E. (1996). A meta-analytic examination of the correlates of the three dimensions of job burnout. Journal of Applied Psychology, 81, 123-133.
Maslach, C., & Jackson, S. E. (1986). Maslach burnout inventory (2nd ed.). Consulting Psychologists Press.
Maslach, C., & Leiter, M. P. (1997). The truth about burnout: How organizations cause personal stress and what to do about it. Jossey-Bass.
Maslach, C., Schaufeli, W. B., & Leiter, M. P. (2001). Job burnout. Annual Review of Psychology, 52, 397-422.
Pace, R. W., & Faules, D. F. (1994). Organizational communication. Prentice Hall.
Parker, P. A., Kulik, J .A., (1995). Burnout, self-and supervisor-rated job performance, and absenteeism among nurses. Journal of Behavioral Medicine, 18 (6), 581-599.
World Health Organization. (2019). Burn-out an “occupational phenomenon”: International classification of diseases. http://www.who.int/news/item/28-05-2019-burn-out-an-occupational-phenomenon-international-classification-of-diseases.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์เป็นของวารสาร....