การสร้างความเข้าใจโรคจิตเวชในวัยรุ่นผ่านการเล่าเรื่องจากภาพยนตร์เรื่อง “The Perks of being a wallflower.”

ผู้แต่ง

  • นภสร ลิ้มไชยาวัฒน์ อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ภาพยนตร์, โรคจิตเวช, โรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์รุนแรง, โรคซึมเศร้า, วัยรุ่น

บทคัดย่อ

บทความวิชาการเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเล่าเรื่องของภาพยนตร์เรื่อง The Perks of being a wallflower ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่นำเสนอและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรคจิตเวชในวัยรุ่น โดยศึกษาแนวคิดการเล่าเรื่อง (Narrative Theory) และแนวคิดโรคเครียดหลังจากผ่านเหตุการณ์รุนแรง (Post-Traumatic Stress Disorder หรือ PTSD) ร่วมด้วยโรคซึมเศร้า (Depression) โดยจากการวิเคราะห์พบว่า วิธีการนำเสนอโรคทางจิตเวชในภาพยนตร์เรื่องนี้เต็มไปด้วยความเข้าใจ ทั้งจากสาเหตุที่สร้างความเจ็บป่วย ภาวะภายในจิตใจหรือห้วงความคิดที่สับสนจนถึงพฤติกรรมที่แสดงออก ด้วยการนำเสนอผ่านภาพยนตร์แนวก้าวข้ามวัย (Coming of age) จึงทำให้เรื่องราวมีสีสันของวัยรุ่น ทั้งความตลก สนุกสนาน รัก และสะเทือนอารมณ์ไปพร้อมๆ กับนำเสนออาการทางจิตเวชซึ่งสอดแทรกเข้าไปในเรื่องราวผ่านองค์ประกอบต่างๆ ตามทฤษฎีการเล่าเรื่อง เริ่มตั้งแต่การออกแบบตัวละครหลักคือ ชาลี โดยให้เขาเป็นผู้ดำเนินเรื่องซึ่งเป็นการเล่าเรื่องแบบมุมมองบุคคลที่ 1 จึงทำให้ผู้ชมติดตามชีวิตของเขา ประกอบกับการวางโครงสร้างภาพยนตร์แบบค่อยเป็นไปจากองก์ 1 คือ การปูเรื่องด้วยการเปิดตัวละครชาลีในภาพเด็กหนุ่มวัยรุ่นขี้อาย จนถึงองก์ 2 ผู้ชมเริ่มรู้ว่าชาลีมีปมในอดีตและภาพเหล่านั้นมักเกิดขึ้นวนเวียนซ้ำๆ ในจิตใจของเขา นำไปสู่จุดไคลแมกซ์ที่อาการของชาลีกำเริบรุนแรงเป็นภาพหลอน ก่อนเข้าองก์ 3 เมื่อเขาได้รับการช่วยเหลือทันเวลานำไปสู่การรักษาถึงสาเหตุที่ถูกต้อง จวบจนช่วงจบเรื่องเมื่อชาลีเข้ารับการรักษาจนหายดี โดยมีครอบครัว เพื่อนและคนรักคอยเคียงข้าง เขาจึงตัดสินใจก้าวข้ามอดีตและเห็นคุณค่าในตัวเอง ซึ่งเป็นแก่นของเรื่อง (Theme) สอดคล้องกับการยอมรับและเห็นคุณค่าในตนเองของผู้ป่วยจิตเวช จัดเป็นการบำบัดรักษาอาการทางจิตเวชที่ดีที่สุด

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2542). การวิเคราะห์สื่อแนวคิดและเทคนิค. เอดิสันเพรสโปรดักส์.

กาญจนา แก้วเทพ. (2552). แนวคิดใหม่ในการสื่อสารศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โควิด 19 กระทบ “กาย-ใจ” เด็ก แนะพ่อแม่สร้างเวลาคุณภาพ. (2564, 22 ธันวาคม). กรุงเทพธุรกิจ. https://www.bangkokbiznews.com/social/978631

จักรพงษ์ อินทร์จันทร์. (2560, 19 กรกฎาคม). กรมสุขภาพจิตเผยปัญหาสุขภาพจิตคนไทยอายุ 18 ปีขึ้นไป. Thaihealth. https://www.thaihealth.or.th/Content/37821-

บุณยาพร กิตติสุนทโรภาส. (2560). ภาพตัวแทนของตัวละครที่มีภาวะจิตเภทในภาพยนตร์ไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. เข้าถึงได้จาก

http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2017/TU_2017_5907030232_8317_8821.pdf

ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. (2554). หนังโรคจิต. โพสต์บุ๊กส์.

ปัญหาสุขภาพจิต ประสบกับผู้คนมากกว่า 792 ล้านคนทั่วโลก. (2564, 10 สิงหาคม). สปริงนิวส์. https://www.springnews.co.th/infographic/813868.

ปิยะฉัตร วัฒนพานิช, และอุบลวรรณ เปรมศรีรัตน์. (2558). การเล่าเรื่องในภาพยนตร์แอนิเมชั่นยอดนิยมในบริบทสากล. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า, 3(1), 181-200.

ภัทริยา วิริยะศิริวัฒนะ. (2558). การวิเคราะห์การเล่าเรื่องในภาพยนตร์เรื่อง LES MISERABLES [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]. เข้าถึงได้จาก

http://gscm.nida.ac.th/uploads/files/1598584023.pdf

มาโนช ชุ่มเมืองปัก. (2559). เอกสารประกอบการสอนวิชาศิลปะการเล่าเรื่องในภาพยนตร์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม. (2547). เสกฝัน ปั้นหนัง. บ้านฟ้า.

วรรณา ชำนาญกิจ. (2536). พัฒนาการนวนิยายของระพีพร. ยูโรป้าเฟสการพิมพ์.

วริษา กาญจนชัยภูมิ (2563, 1 ตุลาคม). การดูแลจิตใจเด็กหลังเผชิญเหตุการณ์รุนแรง. Samitivejhospitals. https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/post-traumatic-stress-disorder-ptsd

สมร แสงอรุณ, และ จันทร์เพ็ญ แสงอรุณ. (2564). ผลของการปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวโลโกเทอราปีต่อระดับความหมายในชีวิตและความซึมเศร้าของนักศึกษาครุศาสตร์. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

Bowman, K. (2014). Movies in the classroom: A review of Perks of Being a Wallflower. In J. Michael McGuire (Ed.), The CPNP Perspective Preview of CPNP 2014 and Legislative Update. https://cpnp.org/perspective/2014/03

Brown, C., & Hammer, T, R. (2015). Creativity in the cinema the perks of being relational: Reviewing The Perks of Being a Wallflower. Journal of Creativity in Mental Health, 10(2), 258-261.

Corey, G. (1996). Theory and practice of counseling and psychotherapy. Brooks/Cole.

Dattani S., Ritchie H., & Roser M. (2018, April). Mental health. Ourworldindata. https://ourworldindata.org/mental-health

Giannetti, L. D. (1972). Understanding movies. Prentice-Hall.

McKittrick, C. (2019, September 27). What is a coming-of-age movies? definition and top films. liveabout.com. https://www.liveabout.com/coming-of-age-movies-4690625

Movie-Locations. (n.d). The Perks of Being a Wallflower Location. movie-locations. https://www.movie-locations.com/movies/p/Perks-Of-Being-A-Wallflower.php).

Swain, D. V. (1988). Film scriptwriting: A practical manual. Focal Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-01