รูปแบบการสื่อสารเพื่อจัดการความรู้เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยชุมชนบ้านห้วยเหียม อำเภอปากชม จังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • เชษฐา ขาวประเสริฐ นักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขานวัตกรรมการสื่อสารทางการปกครองฯ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ธิติพัฒน์ เอียมนิรันดร์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • หัสพร ทองแดง อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

รูปแบบการสื่อสาร, การจัดการความรู้, การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยชุมชน, Healthy-Tourism, Knowledge Management, Communication Pattern

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในชุมชนบ้านห้วยเหียม (2) เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารเพื่อจัดการความรู้ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยชุมชนบ้านห้วยเหียม (3) เพื่อเสนอรูปแบบ การสื่อสารเพื่อจัดการความรู้ด้านส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยชุมชนบ้านห้วยเหียม ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้เกี่ยวข้องกับ การท่องเที่ยวของอำเภอปากชมและผู้นำในชุมชนบ้านห้วยเหียมจำนวน 4 กลุ่ม 22 คน คือ (1) ผู้นำกลุ่มการท่องเที่ยวชุมชน บ้านห้วยเหียม จำนวน 5 คน (2) ผู้นำชุมชนบ้านห้วยเหียม จำนวน 8 คน (3) ผู้แทนภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว จำนวน 6 คน (4) นักวิชาการ/ผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว/ผู้เกี่ยวข้องภาคเอกชน จำนวน 3 คน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือ ในการศึกษาคือแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างประกอบด้วย (1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (2) การสนทนากลุ่ม (3) การสังเกต

              ผลการวิจัยพบว่า (1) รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในชุมชนบ้านห้วยเหียม คือ การท่องเที่ยวในชุมชนเกี่ยวกับ การพักผ่อนหย่อนใจโดยมีภาษาอังกฤษชุมชนบ้านห้วยเหียม ซึ่งประกอบด้วยประธานวิสาหกิจชุมชนกรรมการและสมาชิกวิสาหกิจชุมชนเป็นผู้จัดการการท่องเที่ยว มีกิจกรรมที่สำคัญคือ (1.1) การท่องเที่ยววิถีชีวิตลุ่มน้ำโขง ได้แก่ การล่องเรือการพักโฮมสเตย์ (1.2) กิจกรรมด้านสมุนไพร ได้แก่ การย่าง-หมัก-แช่-นวดร่างกายด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น (2) รูปแบบการสื่อสารเพื่อจัดการความรู้ ด้านส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยชุมชนบ้านห้วยเหียม เป็นการจัดระเบียบการสื่อสารของวิสาหกิจชุมชน โดยมีประธานวิสาหกิจชุมชนเป็นผู้จัดการสื่อสารภายในวิสาหกิจชุมชนและภายนอกวิสาหกิจชุมชน เพื่อนำความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่อยู่ในวิสาหกิจชุมชน มาจัดให้เกิดความชัดเจนและตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการได้ ซึ่งยังไม่สามารถดำเนินการได้ อย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากประธานวิสาหกิจชุมชน สื่อสารกับสมาชิกวิสาหกิจชุมชนไม่ครอบคลุมในทุกกิจกรรม (3) รูปแบบ การสื่อสารที่เหมาะสมเพื่อจัดการความรู้ด้านส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยชุมชนบ้านห้วยเหียม คือ การจัดการสื่อสาร ที่กรรมการวิสาหกิจชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดการความรู้ การนำความรู้ไปใช้ การเฝ้าตรวจสอบ ติดตาม และปรับปรุงแก้ไขวิธีการอยู่เสมอเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง โดยเฉพาะการนำเสนอข่าวสารด้วยสื่อใหม่ เป็นประจำในทุกช่องทาง ได้แก่ กลุ่มไลน์ เฟซบุ๊ค อินสตราแกรม

 

References

ธนพรรณ กุณาละสิริ. (2558). รูปแบบการสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานเป็นทีมในหน่วยงานผ่าตัด โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครสวรรค์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุษบา พันเอาว์. (2562). รูปแบบการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมของชาวบ้านเพื่อการจัดการป่าอย่างยั่งยืน กรณีป่าชุมชน ตำบลท่าอิบุญ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. (โครงการวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์).

พนิดา เกรียงทวีทรัพย์ และ สุรมาดล นิ่มธัตต์. (2561). รูปแบบการสื่อสารที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กร: กรณีศึกษาสำนักงานบริหาร หนี้สาธารณะ. Veridain E-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ (กันยายน - ธันวาคม 2561), 11(3), 3374-3394.

แพมาลา วัฒนเสถียรศิลป์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาการศึกษาในองค์กรกรณีศึกษา: บริษัทยูไนเต็ด แสตนดาร์ด เทอร์มินัล จำกัด (มหาชน). (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรารักษ์ สุรสีห์เรืองชัย. (2558). การติดต่อสื่อสารในโรงเรียนศึกษานารีวิทยา. (การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วินิดา หมัดเบ็ญหมาน. (2562). การพัฒนาแนวทางการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่โดยใช้ KMMM. (สารนิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

สุภางค์ จันทวานิช. (2553). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Stephen P. Robbins, & Mary Coulter. (2011). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. แปลจาก Management. แปลโดย วิรัช สงวนวงศ์วาน: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า, บจก.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-07