การวิเคราะห์ข้อความโฆษณาและการพัฒนาเกณฑ์ประเมินความแตกต่างระหว่างฉลากบรรจุภัณฑ์นมผงสำหรับทารกและฉลากบรรจุภัณฑ์นมผงสำหรับเด็กเล็กภายใต้พระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560

ผู้แต่ง

  • เหมือนฝัน คงสมแสวง อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • บวรสรรค์ เจี่ยดำรง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

คำสำคัญ:

ข้อความโฆษณา, เกณฑ์ประเมินความแตกต่าง, ฉลากบรรจุภัณฑ์, นมผง

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อความโฆษณาและความแตกต่างของการออกแบบฉลากบรรจุภัณฑ์ระหว่างนมผงสำหรับทารกและนมผงสำหรับเด็กเล็กที่จำหน่ายในประเทศไทย
ซึ่งดำเนินไปตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560

โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบฉลากบรรจุภัณฑ์นมผงสำหรับทารก และฉลากบรรจุภัณฑ์นมผงสำหรับเด็กเล็ก รวม 34 ชิ้น 17 คู่เทียบ ใช้มาตราวัดแบบ Likert Rating Scales 5 ระดับ ผ่านการจัดเวทีประชุมระดมสมองจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายร่วมประเมิน

ผลการวิจัย พบว่า ระดับความแตกต่างระหว่างฉลากบรรจุภัณฑ์นมผงสำหรับทารกมีความแตกต่างจากฉลากบรรจุภัณฑ์นมผงสำหรับเด็กเล็กอยู่ในระดับเกือบจะไม่แตกต่างและแยกแยะได้ยาก หมายความว่า การออกแบบฉลากบรรจุภัณฑ์นมผงสำหรับทารกทั้งหมดเข้าข่ายละเมิดตามมาตรา 15 ที่กำหนดให้ฉลากบรรจุภัณฑ์นมผงสำหรับทารกต้องมีความแตกต่างจากอาหารอื่นอย่างชัดเจน โดยจำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ฉลากบรรจุภัณฑ์นมผงสำหรับทารกเกือบจะไม่แตกต่างและแยกแยะได้ยาก จากฉลากบรรจุภัณฑ์นมผงสำหรับเด็กเล็ก คิดเป็นร้อยละ 70 กลุ่มที่ฉลากบรรจุภัณฑ์นมผงสำหรับทารกมีความแตกต่างเพียงเล็กน้อย แต่ไม่ชัดเจน จากฉลากบรรจุภัณฑ์นมผงสำหรับเด็กเล็ก คิดเป็นร้อยละ 18 และกลุ่มที่ฉลากบรรจุภัณฑ์นมผงสำหรับทารกไม่มีความแตกต่าง จากฉลากบรรจุภัณฑ์นมผงสำหรับเด็กเล็ก คิดเป็นร้อยละ 12

References

กรมอนามัย. (2546). การตรวจติดตามการละเมิดหลักเกณฑ์นานาชาติว่าด้วยการตลาดของผลิตภัณฑ์อาหารทดแทนนมแม่ในประเทศไทย. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

กัลยา จยุติรัตน์. (2550). หลักการสื่อสารการตลาด. ออลบุ๊คส์พับลิชชิ่ง.

กิตติ กันภัย, และบวรสรรค์ เจี่ยดำรง. (2556). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดของบริษัทนมผงกับการละเมิด CODE.

องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ.

ชมพูนุช ไทยจินดา และคณะ. (2557). การปฏิบัติตามนโยบายการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของบุคลากรสาธารณสุขและการทำแผนการตลาดของบริษัทนมผงในสถานพยาบาลของรัฐภายใต้ชุดโครงการวิจัยองค์ความรู้เพื่อสนับสนุนการพัฒนานโยบายส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. กระทรวงสาธารณสุข.

นมผงภายหลังประกาศใช้พระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

บวรสรรค์ เจี่ยดำรง และคณะ. (2563). การพลิกแพลงกลยุทธ์การโฆษณาและการส่งเสริมการตลาด

บวรสรรค์ เจี่ยดำรง. (2559). การเฝ้าระวังและติดตามกลยุทธ์การสื่อสารในการส่งเสริมการตลาดนมผงในประเทศไทยที่ละเมิดหลักเกณฑ์สากลว่าด้วยการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็กระหว่างการผลักดันพระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก. วารสารร่มพฤกษ์, 34(2), 105-124.

ปารีณา ศรีวนิชย์. (2525). กฎหมายควบคุมการโฆษณาผลิตภัณฑ์นมดัดแปลง. มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย.

พระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสําหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560. (2560, 10 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 120 ตอนที่ 72 ก. หน้า 1-14.

วารี ฉัตรอุดมผล. (2551). วส 205 ศิลปะเพื่อการสื่อสาร. คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักส่งเสริมสุขภาพ. (2561). พระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560. โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.

Aaker, D. A. (1991). Managing brand equity : Capitalizing on the value of a brand name. The Free Press.

Belch, G. E. & Belch, M. A. (2018). Advertising and Promotion: An Integrated Marketing Communications Perspective (11th ed). McGraw-Hill Education.

Berry, N. J., Jones, S., & Iverson, D. (2010). It’s all formula to me: women’s understandings of toddler milk ads. Breastfeeding Review, 18(1), 21-30.

IBFAN. (2014). Breaking the Rules 2014 (BTR) Evidence of Violation of the International Code of Marketing of Breastmilk Substitutes and subsequent resolutions compiled from January 2011 to December 2013. IBFAN S/B.

Kotler & Keller. (2016). Marketing management (15th ed.). Courier/Kendallville in the United States of America.

Schultz, D. & Schultz, H. (2004). IMC the next generation : five steps for delivering value and measuring returns using marketing communication. McGraw – Hill.

Shimp, T. A. (2010). Integrated marketing communication in advertising and promotion (8th ed). South-Western/Cengage Learning.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-07