อีสานแมส/อีสานใหม่: กระแสนิยมของภาพยนตร์อีสาน และการประกอบสร้างความเป็นอีสานตั้งแต่ทศวรรษ 2550

ผู้แต่ง

  • ไซนิล สมบูรณ์ นักศึกษาปริญญาเอก คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • มาโนช ชุ่มเมืองปัก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ภาพยนตร์อีสาน, อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย, การผลิตภาพยนตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยและบริบททางสังคมที่ส่งผลต่อการเกิดกระแสนิยมของภาพยนตร์อีสานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยตั้งแต่ทศวรรษ 2550 และ 2) เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินงานและการผลิตภาพยนตร์อีสานตั้งแต่ทศวรรษ 2550 โดยเก็บข้อมูลจากการวิเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่มีความเกี่ยวข้อง

ผลการศึกษาค้นพบว่า ภาพยนตร์อีสานนั้นมีการก่อร่างสร้างตัวมาเป็นระยะเวลานานแล้ว และเกิดแรงกระเพื่อมมาหลายระลอก ผ่านทั้งปัจจัยด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม ที่กระทบตั้งแต่กระบวนการผลิต การจัดจำหน่าย ไปจนถึงการจัดฉายและการชมภาพยนตร์อีสาน จนทำให้เกิดกระแสนิยมของภาพยนตร์อีสานขึ้นตั้งแต่ทศวรรษ 2550 เป็นต้นมา ในส่วนรูปแบบการดำเนินงานและการผลิตภาพยนตร์อีสาน ข้อมูลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าสตูดิโอและผู้สร้างอิสระต่างก็มีบทบาทที่หนุนเสริมซึ่งกันและกัน โดยสตูดิโอเป็นส่วนสำคัญในการการผลิตภาพยนตร์อีสานเข้าสู่อุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง ส่วนระบบอิสระมีความสำคัญในแง่ของการสร้างผู้กำกับอีสานหน้าใหม่เข้าสู่วงการ และระบบอิสระเองก็มิได้มีแต่เพียงกลุ่มผู้สร้างที่ไม่ต้องการผลกำไรอีกต่อไป แต่ยังมีกลุ่มที่มุ่งหวังผลกำไรและผลิตภาพยนตร์ออกมาในรูปแบบที่ไม่ต่างไปจากระบบสตูดิโออยู่ด้วยเช่นกัน

References

ดุสิต เอื้อสามาลย์. (2536). สภาพสังคมอีสานจากภาพยนตร์ไทยระหว่างปี พ.ศ.2520-2526 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปริชาติ หาญตนศิริสกุล. (2564). สรุปบทความจากเสวนาคลับเฮาส์ : ปรากฏการณ์ THAI WAVE CINEMA ในทศวรรษ 2540 (ตอนที่ 1). สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2564, จากhttps://filmclubthailand.com/ articles/special-article/club-house-summarize-thai-wave-cinema-2540-part-1/

พอพันธ์ อุยยานนท์. (2560). เศรษฐกิจอีสาน: พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาณุ อารี. (2563). อุตสาหกรรมภาพยนตร์เปรียบเทียบ. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการผลิตภาพยนตร์ขั้นสูง หน่วยที่ 1-7 (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์(องค์กรมหาชน). (2564). อีสานฟีเวอร์ จากวิถีม่วนซื่นสู่อุตสาหกรรมระดับชาติ. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.cea.or.th/ en/single-statistic/ISAN-FEVER

อนงค์นาฏ รัศมีเวียงชัย. (2558). ธุรกิจภาพยนตร์. ใน ธุรกิจสื่อสารมวลชน.(น. 273-211). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

David Croteau and William Hoynes. (2019). Media/Society Technology, Industries, Content, and User. SAGE Publication.

Ebelebe, Ugo Ben. (2017). The Impact of Digital Technology on Emerging Film Industries (Lessons from Nigeria) (Thesis Doctor of Philosophy). School of Humanities, Languages & Social Science, Griffith University.

eukeik .ee. (2564). ส้มตำตามห้างเชนไหนรายได้แซ่บที่สุด. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2564, จาก https://marketeeronline.co/archives/243869

Ryan, Mark David and Hearn, Gregory N. (2010). Next generation ‘filmmaking’: new markets, new methods and new business models. Media International Australia: Incorporating Culture and Policy (136).

THAILAND BOXOFFICE TEAM. (2561). อันดับหนังทำเงินสูงสุดในไทย รายได้ประจำสัปดาห์ 19 พฤศจิกายน 61. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2564, จาก https://www.thailandboxoffice.com/ 2018/11/19/thailand-boxoffice-2/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-07