ภาพตัวแทนผู้หญิง “สู้ชีวิต”ในซีรีย์เกาหลีได้รับความนิยมในประเทศไทย กรณีศึกษาเรื่อง When the camellia blooms

ผู้แต่ง

  • รัญชนา รุ่งเรือง นักศึกษาระดับปริญญาโท คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • พรรษา รอดอาตม์ อาจารย์ที่ปรึกษา กลุ่มวิชาสื่อสารองค์กร คณะวารสารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน

คำสำคัญ:

ภาพตัวแทน, ซีรีย์เกาหลี, การต่อสู้ของผู้หญิง, การประกอบสร้าง, Representative images, Korean television series, Feminism, Women as fighters.

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง ภาพตัวแทนผู้หญิง “สู้ชีวิต” ในซีรีย์เกาหลีที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย กรณีศึกษาเรื่อง When the camellia blooms มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประกอบสร้างภาพตัวแทนผู้หญิงในซีรีย์เกาหลีที่ต่อสู้ในการใช้ชีวิต สำหรับกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ คือ ตัวละครผู้หญิงในซีรีย์จำนวน 4 ตัวที่ต่อสู้ชีวิตทั้ง 3 ด้าน คือ ครอบครัว การทำงานและสังคม When the camellia blooms เป็นซีรีย์ที่ถูกจัดอันดับว่า มีผู้รับชมในประเทศไทยมากที่สุดใน Netflix ไทยในช่วงที่ซีรีย์ที่ออกอากาศ การศึกษาครั้งนี้วิเคราะห์ภายใต้ทฤษฎีสตรีนิยมหลังสมัยใหม่  (Postmodern feminism) และแนวคิดขงจื๊อ

          ผลการศึกษาพบว่า When the camellia blooms มีการสร้างภาพตัวแทนผู้หญิงเกาหลีใต้ที่คงเดิมตามความเชื่อว่า ชายเป็นใหญ่จากแนวคิดขงจื๊อและพบการประกอบสร้างภาพตัวแทนที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมซึ่งเป็นผลมาจากเหตุการณ์การต่อสู้ผ่านแนวคิดเกี่ยวกับบทบาทของผู้หญิงในประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสถานภาพของผู้หญิงให้ทัดเทียมกับผู้ชาย นอกจากนี้ การประกอบสร้างภาพตัวแทนของผู้หญิงเกาหลีใต้มีการต่อสู้กับปัญหาชีวิต เช่น การต่อสู้ในการทำงานเพื่อครอบครัว บทบาทการเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว และการทำมาหาเลี้ยงชีพ อย่างไรก็ตาม การประกอบสร้างภาพตัวแทนผู้หญิงที่ปรากฏในซีรีย์เป็นเพียงการหยิบยกมาเพียงบางส่วนเท่านั้น ไม่ใช่ภาพตัวแทนของผู้หญิงเกาหลีใต้ทั้งหมด

References

กิตติธัช ออไอศูรย์. (2564, 6 กุมภาพันธ์). ทำไมคนไทยถึงชอบดูซีรีส์เกาหลี. Songsue. https://www.songsue.co/553/

เกาหลีใต้ เรียนทรหด พุ่งเป้าสู่ SKY. (2563, 15 พฤษภาคม). Wealth Me up. https://wealthmeup.com/20-05-15-southkorea/

จันทิมา ปัทมธรรมกุล. (2550). วิเคราะห์การสร้างวาทกรรมความงามของโฆษณาผลิตภัณฑ์บำรุงผิว[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:110798

ณัฐมน เกตุแก้ว. (2561). ผู้หญิงทำงานในสังคมเกาหลี. ประชาไท. https://prachatai.com/journal/2018/05/76704

ดำรงค์ ฐานดี. (2553). เกาหลีปี 2553: วันนี้ที่เปลี่ยนไป. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 29(1), 59-74. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/huru/article/view/27867/23965

นภดล ชาติประเสริฐ. (2560). เกาหลีปัจจุบัน Korea today. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เพชรสาคร สมฟองบุตรขัน. (2554). กระบวนการสร้างทางสังคมของความเป็นแม่ในสังคมลาวที่กำลังเปลี่ยนไป: ประสบการณ์ชีวิตของผู้หญิงคนหนึ่ง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]. CMU Intellectual Repository. http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/35744

รังสิมา วิวัฒน์วงศ์วนา. (2562). การตีตรา การสนับสนุนทางสังคมและการปรับตัวในการเข้าสู่

การเป็นแม้เลี้ยงเดี่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ [รายงานผลการวิจัย, สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย]. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.).

รัญวรัชญ์ พูลศรี, ปพนพัชร์ กอบศิริธีร์วรา, พิสิฐ อำนวยเงินตรา, และ ลลิดา วิษณุวงศ์. (2563). ขงจื๊อนิยมและอิทธิพลต่อสตรีในเกาหลีและเวียดนาม. วารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 13(2), 397-420. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CSJ/article/view/245241/165996

สุกัญญา ศิริสมบูรณ์ชัย. (2562). ภาพตัวแทนนางเอกในละครโทรทัศน์ แนวย้อนเวลา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2019/TU_2019_6107030014_12219_12587.pdf

อรพรรณ จันทร์เทา. (2557). บทบาทองค์กรเพื่อสิทธิสตรีเกาหลีกับการยกสถานภาพทางด้านเศรษฐกิจของสตรีเกาหลี. วารสารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 10(1), 143-150. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/85713/68175

อิสริยา อ้นเงิน. (2560). ภาพตัวแทนของข้าราชการในละครโทรทัศน์ [วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2017/TU_2017_5907030083_8316_8647.pdf

#MeToo เกาหลีใต้กับประเด็นการคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศที่ผู้คนเมินเฉย. (2561). A day Bulletin. https://adaybulletin.com/agenda-metoo-ล่วงละเมิดทางเพศ/16515

Kim, Y. (2565). ประเพณีและธรรมเนียมงานศพของเกาหลี. Creatrip. https://www.creatrip.com/th/blog/8765

Chung, Y., & Son, S. (2022). No good choices: Concealing or disclosing single motherhood in Korea. Social Work Research, 46(2), 162–175, https://doi.org/10.1093/swr/svac002

Midha, A., Kaur, S., & Niveditha, S. (2018). Confucianism and changing gender roles. International Journal of Advance Research, Ideas and Innovations in Technology, 4(1), 347-353. https://www.ijariit.com/manuscripts/v4i1/V4I1-1270.pdf

Park, I. H., & Cho, L.-J. (1995). Confucianism and the Korean family. Journal of Comparative Family Studies, 26(1), 117-134. https://www.jstor.org/stable/41602370

University of Würzburg (2564). Ranking of Countries by Quality of Democracy 2020. https://www.democracymatrix.com/ranking

Yoon, L. (2564). Employment rate in South Korea from 2000 to 2021, by gender. Statista. https://www.statista.com/statistics/1027699/south-korea-employment-rate-by-gender/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-06