การออกแบบแอปพลิเคชันจับคู่ทางธุรกิจระหว่างนักศึกษาภาพยนตร์กับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสื่อ

ผู้แต่ง

  • จิตรตานันท์ ปานแก้ว วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • นพดล อินทร์จันทร์ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การออกแบบแอปพลิเคชัน, อุตสาหกรรมสื่อ, นักศึกษาภาพยนตร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบแอปพลิเคชันต้นแบบสำหรับจับคู่ทางธุรกิจระหว่างนักศึกษาภาพยนตร์กับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสื่อ โดยเป็นการศึกษาแบบวิจัยและพัฒนา เก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มบริษัทด้านสื่อและการผลิตภาพยนตร์ (กลุ่มผู้ว่าจ้าง) จำนวน 3 บริษัท ประกอบด้วย บริษัท Phenomena, บริษัท Unbox Now และบริษัท About Art Work โดยดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกกับเจ้าหน้าที่หรือพนักงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานดูแลด้านบุคคล 2) นิสิตนักศึกษาจบใหม่และศิษย์เก่า (กลุ่มผู้ถูกว่าจ้าง) จาก 4 มหาวิทยาลัย ที่มีการเรียนการสอนด้านภาพยนตร์โดยตรง ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จำนวน 300 คน โดยนำข้อมูลของทั้งสองกลุ่มมาวิเคราะห์เพื่อออกแบบแอปพลิเคชันเบื้องต้น จากนั้นนำต้นแบบแอปพลิเคชันให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบแอปพลิเคชันตรวจสอบและให้ข้อเสนอแนะนำเพิ่มเติม

ผลการวิจัย พบว่า ต้นแบบแอปพลิเคชันจับคู่ทางธุรกิจระหว่างนักศึกษาภาพยนตร์กับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสื่อที่ออกแบบขึ้น มีลักษณะเป็นสื่อสังคมออนไลน์รูปแบบหนึ่งสำหรับบุคลากรในอุตสาหกรรมสื่อได้มีพื้นที่ในการแสดงผลงานหรือคัดเลือกบุคลากรที่มีศักยภาพมาร่วมงาน โดยสามารถนำไปใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งผลประเมินด้านการออกแบบอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก มีวิธีการใช้งานที่สะดวก ง่ายต่อการติดต่อสื่อสาร เปิดโอกาสให้คนในวงการได้สร้างสัมพันธ์ต่อกัน และเพิ่มพื้นที่สำหรับเด็กรุ่นใหม่ที่กำลังเติบโตเข้าสู่อุตสาหกรรมสื่อได้

References

จิรัชฌา วิเชียรปัญญา และภานุวัฒน์ประสพสุข. (2560). การออกแบบอินเตอร์เฟสแอปพลิเคชันเพื่อการสื่อสารการตลาดออนไลน์ของ True Money Wallet. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต).

ธนากุล ชัยวารีวิทย์. (2557). นวัตกรรมแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนเพื่อส่งเสริมการใช้ฉลากคาร์บอนสำหรับการตลาดค้าปลีกสีเขียวและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ประวีณมัย บ่ายคล้อย. (2545). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการชมภาพยนตร์นอกกระแส. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

รักติบูล ประเสริฐสมภพ. (2560). คุณลักษณะของฟีเจอร์ (Features) ของแอพพลิเคชั่นสังคมออนไลน์ธุรกิจร้านอาหารที่มีผลต่อการเลือกใช้ของผู้บริโภค. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

รัชนีพร แก้ววิชิต. (2561). การรับรู้และการเข้าถึงผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน BTS Sky Train. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

สมสุข หินวิมาน และคณะ. (2558). ธุรกิจสื่อมวลชน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริพร แซ่ลิ้ม. (2558). พฤติกรรมการใช้ไลน์แอพพลิเคชั่นของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-06