ภาพลักษณ์ธนาคารอาคารสงเคราะห์ในการรับรู้ของผู้ใช้บริการและไม่เคยใช้บริการ

ผู้แต่ง

  • กรภัทร์ เกียรติจารุกุล -
  • แอนนา จุมพลเสถียร

คำสำคัญ:

การเปิดรับสื่อ, ภาพลักษณ์, ภาพลักษณ์องค์กร, พฤติกรรมการใช้บริการ, แนวโน้มพฤติกรรมการใช้บริการ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ด้วยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research Method) เพื่อศึกษาการเปิดรับสื่อ การรับรู้ภาพลักษณ์ พฤติกรรม และแนวโน้มพฤติกรรมการใช้บริการธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในกลุ่มผู้ใช้บริการและไม่เคยใช้บริการ และ ศึกษาความแตกต่างและความสัมพันธ์ของตัวแปรดังกล่าว โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นบุคคลที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป กำลังประกอบอาชีพ และมีรายได้จากการประกอบอาชีพ จำนวน 400 คน แบ่งออกเป็น ผู้ใช้บริการธนาคารอาคารสงเคราะห์ จำนวน 200 คน และ ผู้ไม่เคยใช้บริการธนาคารอาคารสงเคราะห์ จำนวน 200 คน

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 25 - 34 ปี ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัท/ห้างร้านเอกชน มีรายได้ 40,001 บาทขึ้นไป

ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 1 พบว่า ผู้ใช้บริการธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่มีเพศ อายุ และ รายได้ แตกต่างกันจะมีการเปิดรับสื่อของธนาคารอาคารสงเคราะห์ไม่แตกต่างกัน ในขณะที่ผู้ใช้บริการธนาคารอาคารสงเคราะห์ ที่มีอาชีพแตกต่างกันจะมีการเปิดรับสื่อของธนาคารอาคารสงเคราะห์แตกต่างกัน สำหรับผู้ไม่เคยผู้ใช้บริการธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่มี เพศ อายุ อาชีพ และรายได้ แตกต่างกันจะมีการเปิดรับสื่อของธนาคารอาคารสงเคราะห์ไม่แตกต่างกัน และประเภทของลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่แตกต่างกันจะมีการเปิดรับสื่อของธนาคารอาคารสงเคราะห์แตกต่างกัน

ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 2 พบว่า การเปิดรับสื่อกับการรับรู้ภาพลักษณ์ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ของผู้ใช้บริการและไม่เคยใช้บริการธนาคารอาคารสงเคราะห์ มีความสัมพันธ์กันทางบวก และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลางเท่ากัน

ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 3 พบว่า การรับรู้ภาพลักษณ์กับแนวโน้มพฤติกรรมการใช้บริการธนาคารอาคารสงเคราะห์ของผู้ใช้บริการและไม่เคยใช้บริการธนาคารอาคารสงเคราะห์ มีความสัมพันธ์กันทางบวก และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในระดับสูงมาก และ สูง ตามลำดับ

คำสำคัญ : การเปิดรับสื่อ ภาพลักษณ์องค์กร พฤติกรรมการใช้บริการ แนวโน้มพฤติกรรมการใช้บริการ

References

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ชุติมา จริเกษม. (2553). ภาพลักษณ์และประสิทธิผลการประชาสัมพันธ์ของบริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. CUIR at Chulalongkorn University. https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30531

ณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจามรี. (2559). หลักการประชาสัมพันธ์. เกษตรศาสตร์.

ดวงพร คำนูณวัฒน์ และ วาสนา จันทร์สว่าง. (2563). การสื่อสารการประชาสัมพันธ์. ทีทีพรินท์.

ธนาคารอาคารสงเคราะห์. (2565). รายงานการพัฒนาความยั่งยืน ประจำปี 2564 ธนาคารอาคารสงเคราะห์. ผู้แต่ง.

ธนาคารอาคารสงเคราะห์. (2565). รายงานประจำปี 2564 ธนาคารอาคารสงเคราะห์. ผู้แต่ง.

นฤพร กัลยาณลาภ. (2561). การเปิดรับเครื่องมือการสื่อสารการตลาดการรับรู้ภาพลักษณ์ และแนวโน้มพฤติกรรมต่อแอปพลิเคชัน K Plus [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2018/TU_2018_6007010355_10593_10841.pdf

ปรมะ สตะเวทิน. (2546). หลักนิเทศศาสตร์. รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์.

พิชญาพร ประครองใจ. (2558). หลักนิเทศศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิชามญชุ์ ธีระพันธ์. (2559). การเปิดรับสื่อ ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้งานของประชาชน

ในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อบริการโอนเงินและรับโอนเงินแบบใหม่ พร้อมเพย์-PromptPay [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016/TU_2016_5507010378_7142_5430.pdf

วชิรวัชร งามละม่อม. (2558, 15 กันยายน). แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับลักษณะทางประชากรศาสตร์. http://learningofpublic.blogspot.com/2015/09/blog-post_11.html

วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์. (2548). การสร้างภาพลักษณ์โรงเรียน. ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2538). พฤติกรรมผู้บริโภค ฉบับสมบูรณ์. พัฒนาศึกษา.

สุกัญญา อำพันแสง. (2546). การเปิดรับ ความพึงพอใจและการใช้ประโยชน์จากการรับฟัง รายการข่าวสารความรู้ทางหอกระจายข่าวในเขตตำบลหนองตาด จังหวัดบุรีรัมย์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุรศักดิ์ ประสาร. (2558). ภาพลักษณ์องค์กรที่มีผลต่อแรงจูงใจในการเข้าทำงานโรงแรมของนักศึกษา

สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรมที่ศึกษาในจังหวัดมหาสารคาม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]. Mahasarakham University Library.

http://khoon.msu.ac.th/_dir/fulltext/fulltextman/full4/surasak9806/titlepage.pdf

หนึ่งฤทัย โฉมมณี. (2562). การเปิดรับข่าวสาร ภาพลักษณ์ และการตัดสินใจใช้บริการธนาคารรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลัง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. CUIR at Chulalongkorn University. https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69873

Dominick, J. R. (1999). The dynamics of mass communication (6th ed.). McGrawHill College.

Fombrun, C. J. (1996). Reputation: Realizing value from the corporate image. Harvard Business School Press.

Hoyer, W. D., & Macinnis, D. J. (2001). Consumer behavior. Houghton Mifflin.

Keller, K. L. (2008). Branding perspectives on social marketing. In W. Alba Joseph and J. Wesley Hutchinson (Eds.), Advances in consumer research, 25 (pp. 299-302). Association for Consumer Research.

Loudon, D. L., & Della Bitta, A. J. (1993). Consumer behaviour: Concepts and applications (4th ed.). McGraw-Hill.

Mowen, J. C., & Minor, M. S. (2001). Consumer behavior: A framework. Prentice Hall.

Solomon, M. R. (2012). Consumer behaviour: Buying, having, and being (10th ed.). Person Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-06