การสื่อสารภาพลักษณ์ผ่านวัฒนธรรมเกาหลีด้านอาหาร กรณีศึกษาละครเรื่อง Itaewon Class และ My Secret Romance

ผู้แต่ง

  • หนึ่งฤทัย ประเสริฐ National Institute of Development Administration
  • ธีรติร์ บรรเทิง

คำสำคัญ:

Iteawon Class, My Secret Romance, การสื่อสารภาพลักษณ์, วัฒนธรรมเกาหลีด้านอาหาร

บทคัดย่อ

            การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการนำเสนอภาพลักษณ์วัฒนธรรมการบริโภคอาหารเกาหลีผ่านละครเรื่อง Itaewon Class และ My Secret Romance 2) ศึกษากลยุทธ์การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของละครเรื่อง Itaewon Class และ My Secret Romance 3) เปรียบเทียบการนำเสนอภาพลักษณ์วัฒนธรรมการบริโภคอาหารเกาหลีผ่านละครเรื่อง Itaewon Class และ My Secret Romance โดยการศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลมีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ในละครเกาหลีใต้เรื่อง Itaewon Class ตอนที่ 1, 5, 11, 13, 16 และเรื่อง My Secret Romance ตอนที่ 1, 7, 8, 12, 14 ทั้งนี้ยังมีการใช้ข้อมูลสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) จากกลุ่มที่รับชมละครและบริโภคอาหารเกาหลีใต้จากละครเรื่อง Itaewon Class และเรื่อง My Secret Romance ผ่านช่องทาง Netflix จำนวน 6 ท่าน

          ผลจากการวิจัยในครั้งนี้พบว่า 1) การนำเสนอภาพลักษณ์วัฒนธรรมการบริโภคอาหารมากกว่าการปรุงอาหาร 2) กลยุทธ์การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมจะเน้นไปที่การใช้เพลงประกอบฉากมากที่สุด ในละครเรื่อง Itaewon Class มีการนำเสนอเมนูอาหารส่วนใหญ่จะเป็นเมนูที่รู้จักกันอยู่แล้ว ในละครเรื่อง My Secret Romance มีการนำเสนอเมนูอาหารท้องถิ่น 3) การถ่ายทอดวัฒนธรรมเกาหลีด้านอาหารของทั้งสองเรื่องมีความเหมือนกันเพราะเนื้อเรื่องมีการอธิบายถึงสรรพคุณของอาหาร ความใส่ใจในการทำอาหารในทุก ๆ ขั้นตอน แต่ละครเรื่อง Itaewon Class ทำให้อยากบริโภคอาหารมากกว่าเรื่อง My Secret Romance

References

ฐิยากร แสวงพรรค. (2564). การเล่าเรื่องผ่านสัญญะทางสังคมในซีรีส์เรื่อง Squid game [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ปิยวรรณ เฉลิมฉัตรวานิช. (2564, 14 ตุลาคม). จากวันที่เกาหลีส่งออกคอนเทนต์ลง Netflix: Soft power ช่วยสร้างเศรษฐกิจในเกาหลียังไงบ้าง?. The Matter. https://thematter.co/entertainment/korea-soft-power-in-netflix/157679

พัฒน์นรี ศรีศุภโอฬาร. (2559). วัฒนธรรมและการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วริศา ภาคมาลี. (2563). การทูตสาธารณะ เครื่องมือ Soft Power ของเกาหลีใต้ กรณีศึกษา การทูตวัฒนธรรม [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2020/TU_2020_6203011439_13304_13622.pdf

วาสิตา บุญสาธร. (2563). การสื่อสารเชิงกลยุทธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิรัช ลภิรัตนกุล. (2553). การประชาสัมพันธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 12). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิสาขา เทียมลม. (2565). อาหารเกาหลีทำให้เราเพลิดเพลิน: อุตสาหกรรมวัฒนธรรมในซีรีส์เกาหลี. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประประศาสนศาสตร์, 5(2), 1-33. http://ojs.ru.ac.th/index.php/MPA/article/view/287/242

สิรารมย์ เตชะศรีอมรรัตน์. (2564, 14 พฤศจิกายน). ผ่านมา 23 ปี Soft Power ‘เกาหลี’ ไปไกลแค่ไหน ทำไม ‘ไทย’ ยังอยู่ที่เดิม. Workpoint Today. https://workpointtoday.com/23-year-soft-power-thai-korean/

เสาวลักษณ์ เชื้อคำ. (ม.ป.ป.). K-Entertainment พลังที่ทำให้ทั้งโลกหลงรักอาหารเกาหลี. Krua.co. https://krua.co/food_story/kpopsoftpower/

อาโป เอกอนันต์. (2561). พัฒนาการของกระแส K-WAVE: กรณีศึกษาละครชุดเกาหลีในไทย (ค.ศ. 2000ปัจจุบัน) [บทความวิจัยปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. ฐานข้อมูลบทความวิจัยเอเชียศึกษา. http://isas.arts.su.ac.th/wp-content/uploads/2561/history/05580575.pdf

Brand Finance Brandirectory. (2022). Global soft power index 2022. https://brandirectory.com/softpower/nation?country=75&rRegion=1&rCountry=0

Dinnie, K. (2008). Nation branding: Concepts, issues, practice. Elsevier. http://www.culturaldiplomacy.org

Ha, S-J. (2022, May 4). Shinsegae to resume soju business targeting Southeast Asia. The Korean Economic Daily Global Edition. https://www.kedglobal.com/food-beverage/newsView/ked202205040003

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-06