กลยุทธ์การบริหารงานของบริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) ในยุคเทคโนโลยีพลิกผัน
คำสำคัญ:
เทคโนโลยีพลิกผัน, กลยุทธ์การบริหาร, การปรับตัวของผู้ผลิตสื่อบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากลยุทธ์การดำเนินธุรกิจสื่อในยุคเทคโนโลยีพลิกผันของบริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) และ (2) ศึกษาการปรับตัวในกระบวนการทำงานของผู้ผลิตสื่อของบริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) ในยุคเทคโนโลยีพลิกผัน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้บริหาร และบุคลากรฝ่ายปฏิบัติงาน รวม 7 คน ประกอบกับการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของบริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2559 ถึงปีพ.ศ. 2564
ผลการศึกษาพบว่า บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) ที่เคยเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านสื่อสิ่งพิมพ์ในยุคก่อนการแพร่กระจายของอินเทอร์เน็ตและสื่อออนไลน์ ได้ปรับตัวมาเป็นองค์กรสื่อที่สร้างดิจิทัลคอนเทนต์ในยุคเทคโนโลยีพลิกผัน สอดคล้องกับภาพรวมอุตสาหกรรมสื่อทั่วโลกที่มีการเติบโตของสื่อออนไลน์ ในแง่กลยุทธ์การบริหารงานของบริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) ได้ใช้กลยุทธ์ 5 รูปแบบได้แก่ (1) การลดค่าใช้จ่าย (2) ขยายงานด้านการขนส่ง (3) เพิ่มรายได้ทางธุรกิจการพิมพ์ (4) เน้นการทำธุรกิจด้านกิจกรรมพิเศษ และ (5) มุ่งธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์ ทั้งนี้จากผลการศึกษายังพบอีกว่า บุคลากรผู้ผลิตสื่อที่อายุและประสบการณ์การทำงานต่างกัน จะมีการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการทำงานและมีการปรับตัวที่แตกต่างกัน
References
กนกรัตน์ ศศิโรจน์. (2564). แนวทางการบริหารองค์กรสื่อหนังสือพิมพ์เพื่อความอยู่รอดในยุคดิจิทัล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กฤษณะ อิสระ. (2556). การวิเคราะห์การสื่อสารแบรนด์บุคคลของนักออกแบบกราฟิกผ่านสื่อสังคม. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กองบรรณาธิการผู้จัดการออนไลน์. (2559, 20 กุมภาพันธ์). ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ไทย ในวันลมหายใจรวยริน, สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2566, จาก https://mgronline.com/daily/detail/9590000018407
กัญญาภัทร สังขรชัฎ. (2561). กรณีศึกษาการควบรวมกิจการระหว่างธนาคารสัญชาติญี่ปุ่นกับธนาคารสัญชาติไทย (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ฐิตินัน บุญภาพ คอมมอน. (2559). การบริหารจัดการสื่อโทรทัศน์ในยุคดิจิทัลหลอมรวม (ทุนอุดหนุนจากศูนย์วิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
พิชญาณี ภู่ตระกูล. (2549). การใช้ประโยชน์จากการหลอมรวมสื่อและเครือข่ายบนเวิลด์ไวด์เว็บในรายการอะคาเดมี่ แฟนเทเซีย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รณพัชร์ เลิศเดชะ. (2558). การปรับตัวของนิตยสารในทศวรรษที่ 2010 - 2020 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รายงานประจำปี 2561 บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (มหาชน), สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2566, จาก https://market.sec.or.th/public/idisc/th/FinancialReport/ALL-0000001386
วิลักษณ์ โหลทอง. (2564). รายงานประจำปี 2564 บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (มหาชน), สืบค้นเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2566, จาก https://market.sec.or.th/public/idisc/th/FinancialReport/ALL-0000001386
ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ). (2562, 3 พฤศจิกายน). “Media Disruption ‘สื่อไทย' ยุค Disrupt ถึงจุดดิ่งสุดแล้วหรือยัง”, สืบค้นวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.tcijthai.com/news/2019/03/scoop/9541
สมอุษา วิไลพันธุ์. (2561). การปฏิรูปกระบวนการทำงานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (บทความวิชาการ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สํานักส่งเสริมธุรกิจบริการและโลจิสติกส์การค้า. (2557). ธุรกิจสิ่งพิมพ์ไทย, สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2566, จาก https://oldweb.ditp.go.th/contents_attach/85965/85965.pdf
อุษณีย์ ศิริสุนทรไพบูลย์. (2563). การปรับตัวของสื่อมวลชนท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ตในยุคหลอมรวมสื่อ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ภูเก็ต: มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์เป็นของวารสาร....