เทคนิคการนำเสนอประเด็นข่าวผ่านรายการโนราห์เล่าข่าวของสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดภูเก็ต
คำสำคัญ:
เทคนิคการนำเสนอประเด็นข่าว, รายการโนราห์เล่าข่าว, สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดภูเก็ตบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำเสนอประเด็นข่าวในมุมมองของผู้ส่งสาร และผู้รับสารผ่านรายการโนราห์เล่าข่าวของสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดภูเก็ต เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้แบบการสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรมข้อมูลจากบุคลากรในสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดภูเก็ต ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ ด้วยแบบสอบถาม จากประชาชนที่อาศัยอยู่ในอำเภอเมืองภูเก็ต อำเภอกะทู้ และอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต จำนวน 422 คน
ผลการวิจัย พบว่า 1) การนำเสนอประเด็นข่าวในมุมมองของผู้ส่งสารผ่านรายการโนราห์เล่าข่าว มีแนวคิดและที่มาของรายการโนราห์เล่าข่าว คือ โนราห์เป็นศิลปะพื้นบ้านของภาคใต้ นำมาทำคลิปวิดิโอทำเป็นสื่อเผยแพร่ออกไปเพื่อที่จะให้ผู้ชมเข้าถึงได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น สามารถที่จะขาย soft power ได้ และเป็นนโยบายที่เป็นประเด็นร้อนแรงที่อยู่ในความสนใจของประชาชน ซึ่งมีที่มาของประเด็นข่าว คือ ประเด็น ioc เป็นนโยบายของรัฐบาลที่จะส่งมาจากศูนย์กลาง ซึ่งจะส่งให้กับหน่วยงานของกรมประชาสัมพันธ์ ทุกหน่วยทั้ง 76 จังหวัดเหตุการณ์ต่าง ๆ ของส่วนราชการหรือความสําคัญของนโยบายรัฐบาลที่จะเอามาผลิตสื่อต่าง ๆ เพื่อจะเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับทราบ หากมีประเด็นข่าวสําคัญเกิดขึ้นต้องรีบเอามาแปลและทำข่าว ออกแบบ infographic อัพโหลดลงเพจ Facebook ชี้แจงให้ประชาชนเขาเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว ด้านภาพและวิดีโอก็จะต้องมีการ movement ของกล้อง จะ move ช้า move เร็ว หรือว่าจะ pan ซ้าย pan ขวา และผู้ชมเมื่อเห็นภาพอะไรที่ชัดขึ้น กระบวนการผลิตคลิป การตัดต่อ กราฟิก ลงเสียง เวลาเฉลี่ย 3-4 นาที แต่งเสียงโดยใช้โปรแกรม Audition หาภาพพื้นหลังให้สอดคล้องกับเรื่องที่ทำ ใส่โลโก้ CG และกราฟิกให้มีความเหมาะสม สวยงาม และ ช่องทางการอัพข่าวสาร คือ เพจ facebook TikTok และ Line เช่น กลุ่ม ปชส. กลุ่ม อปมช. แต่ละกลุ่มจะมีประมาณ เกือบ 100 คน เป็นต้น
2) การนำเสนอประเด็นข่าวในมุมมองของผู้รับสารผ่านรายการโนราห์เล่าข่าว ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 21-25 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ตอบแบบสอบถามมากที่สุด อาชีพนักเรียน/นักศึกษา รายได้อยู่ในช่วง 10,001-20,000 บาทต่อเดือน สถานภาพโสด ภูมิลำเนาเดิมอยู่ในภาคใต้ มีแหล่งที่มาของรายได้จากเงินเดือนประจำ และส่วนใหญ่พักอาศัยบ้านเดี่ยวกับครอบครัวหรือญาติพี่น้อง โดยส่วนใหญ่รับชมรายการโนราเล่าข่าวจากแอพลิเคชั่นเฟสบุ๊ก มักรับชมคนเดียวผ่านอุปกรณ์สมาร์ทโฟน โดยใช้สัญญาณ Wifi ผู้ชมส่วนใหญ่เคยรับชมรายการโนราห์เล่าข่าวมาแล้ว และมีช่วงเวลาในการรับชม เวลา 19.00น. - 21.00 น. ซึ่งความถี่ในการรับชมค่อนข้างบ่อยและไม่มีปัญหาขณะรับชม รายการโนราห์เล่าข่าว มีแหล่งข่าวหรือเนื้อหาของข่าวมีความถูกต้องและน่าเชื่อ เสียงพากษ์มีความเหมาะสม และรายการมีความเป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่นใต้
คำสำคัญ:การนำเสนอประเด็นข่าว, รายการโนราห์เล่าข่าว, สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดภูเก็ต
References
กระทรวงมหาดไทย, กรมการปกครอง, สำนักบริหารการทะเบียน. (2566). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร. https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/view
ขจิตขวัญ กิจวิสาละ. (2564). ศาสตร์การเล่าเรื่องในสื่อสารศึกษา. วารสารศาสตร์, 14(3), 9-85. https://so06.tcithaijo.org/index.php/jcmag/article/view/250754.
ชิตปภพ ประเสริฐไพฑูรย์. (2564, 4 มิถุนายน). จากเปรี้ยวถึงลุงพล: เข้าใจ Agendas setting หัวใจสำคัญของสื่อมวลชน. Songsue. https://www.songsue.co/15510/
บุญซื่อ เพชรไทย, กนกวรรณ ศรมณี, ญาณิศา ยอดสิน, และ โชติ บดีรัฐ. (2565). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการภาครัฐแนวใหม่. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(3), 359-372. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/252771
ประภัสสร เอ่งฉ้วน. (2566). การประชุมเชิงปฏิบัติการรวบรวมข้อคิดเห็นจัดทำแผนขับเคลื่อนอำนาจละมุนด้วยมิติวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย (พ.ศ. 2566–2570). สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์.
ปรินทร์ รัตนบุรี. (2562). ภาพสะท้อนวัฒนธรรมภาคใต้ผ่านบทกลอนหนังตะลุง กรณีศึกษาหนังเคล้าน้อย โรจนเมธากุล [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ]. Thaksin University. http://ir.tsu.ac.th/xmlui/123456789/250.
ภัคชุดา อำไพพรรณ. (2558). กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างภาพลักษณ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานต่อสื่อมวลชน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]. NIDA Wisdom Repository. https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5431
ภีรกาญจน์ ไค่นุ่นนา. (2563, 12 มีนาคม). สิ่งที่เห็นและเป็นไปของสื่อท้องถิ่นภาคใต้กับข้อเสนอเพื่อการพัฒนาด้วยแนวคิดการเล่าเรื่องข้ามสื่อ. MGR Online. https://mgronline.com/south/detail/9630000024490
มโนราห์. (2561, 20 เมษายน). ฐานข้อมูลท้องถิ่นภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.https://clib.psu.ac.th/southerninfo/content/2/bae72ee9
ศศิกานต์ สังข์ทอง และ ฐิตินัน บุญภาพ คอมมอน. (2562). การบูรณาการการสื่อสารสื่อพื้นบ้านกับสื่อใหม่เพื่อส่งเสริมและพัฒนาวัฒนธรรมผ้าย้อมคราม จังหวัดสกลนคร. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 13(2), 339-382. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dpuca/article/view/243346
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดภูเก็ต. (2563, 26 มิถุนายน). ภารกิจ. https://phuket.prd.go.th/th/content/page/index/id/3.
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดภูเก็ต. (2566). โนราห์เล่าข่าว วันนี้โนราห์มีข่าวดีมาบอกกับกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน [วีดิทัศน์]. เฟสบุ๊ก. https://www.facebook.com/profile/100066674151602/search/?q=โนราห์เล่าข่าว
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, สำนักประชาสัมพันธ์. (2561). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ด้วยการใช้เฟซบุ๊ก. https://borc.anamai.moph.go.th/web-upload/24xe82d9421a764bd38b31a4171c44f37a6/filecenter/KPI64/F1/Level1/F1-1-15.pdf
สุภาพิชญ์ ถิระวัฒน์. (2565). อำนาจละมุน: Soft power. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักวิชาการ สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา.
อิทธิพล จันทร์รัตนกุล, กมลพร กัลยาณมิตร, สถิต นิยมญาติ, และ ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช. (2564). บทบาทของหน่วยงานภาครัฐต่อการใช้สื่อสังคมออนไลน์. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 8(1), 222-234. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/248391
อุทิศ บำรุงชีพ และ พักตร์วิภา โพธิ์ศรี. (2564). กระบวนทัศน์การพัฒนานวัตกรรมการเล่าเรื่องแบบดิจิทัลเพื่อสืบสานภูมิปัญญา การเจียระไนพลอยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ของจังหวัดจันทบุรี. วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา, 15(1), 88-103. https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jindedu/article/view/13561
Kamei, M. (2019). Folk and performing arts for community discourse. In Communication for development-alternate spaces (pp. 54-67). Unity Education Foundation.
Nye, J. S. (2005). Soft power: The means to success in world politics. Public Affairs.
Rijitha, R., & Gouda, N. K. (2022). Mediating folk media message in social media: Challenges, adaptations, opportunities and threats. ShodhKosh Journal of Visual and Performing Arts, 3(1), 426-436. http://dx.doi.org/10.29121/shodhkosh.v3.i1.2022.128
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). Harper and Row.
Zhou, K., Wang, K., & Lin, X. (2021). Research on the inheritance and protection of folk art and culture from the perspective of network cultural governance. PLoS ONE, 16(2), Article 0246404. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0246404
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์เป็นของวารสาร....