การต่อรองของผู้กำกับในระบบการผลิตภาพยนตร์ร่วมทุนสร้าง: การวิเคราะห์ระบบการสร้างภาพยนตร์ร่วมทุนสร้างระหว่างไทย-เกาหลีใต้ในภาพยนตร์เรื่อง “ร่างทรง”
คำสำคัญ:
ภาพยนตร์, ร่างทรง, ผู้กำกับภาพยนตร์, ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์, สารคดีปลอม, ระบบการสร้างภาพยนตร์, การร่วมทุนสร้างไทย - เกาหลีใต้, การต่อรองบทคัดย่อ
บทความวิชาการเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการต่อรองของผู้กำกับภาพยนตร์ (Director) ชาวไทยร่วมกับผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ (Producer) ชาวเกาหลีใต้ในกระบวนการสร้างสรรค์ตามระบบการสร้างภาพยนตร์ร่วมทุนสร้างไทย-เกาหลีใต้ ภายใต้แนวคิดหน้าที่ของผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ แนวคิดหน้าที่ของผู้กำกับภาพยนตร์ และแนวคิดกระบวนการสร้างภาพยนตร์ โดยการเก็บรวบรวบข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรมและการสังเคราะห์บทสัมภาษณ์ต่างๆ
โดยพบว่า แม้ภาพยนตร์เรื่อง “ร่างทรง” เป็นโปรเจกต์ตั้งต้นมาจากผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวเกาหลีใต้ แต่ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทยมีการต่อรองเพื่อนำเสนอความเป็นตัวตน ซึ่งการต่อรองเกิดขึ้นตั้งแต่ขั้นตอนก่อนการสร้างภาพยนตร์ (Pre- Production) ทำให้เกิดมุมมองในการผลิตภาพยนตร์ที่มีทิศทางตรงกันทั้งในเรื่องแนวความคิดและเนื้อเรื่องที่มีบริบทความเป็นไทย ตลอดจนการกำหนดวิธีการนำเสนอภาพยนตร์ในรูปแบบภาพยนตร์เลียนแบบสารคดี (Mockumentary) คือ การถ่ายทอดภาพยนตร์ที่เป็นเรื่องแต่งด้วยเทคนิคนำเสนอเชิงสารคดี โดยผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทยได้ถ่ายทำอย่างประณีต มีการใช้ลักษณะภาพที่หลากหลาย ประกอบกับการถ่ายทำเชิงสัมภาษณ์บุคคล รวมถึงการสอดแทรกภาพบรรยากาศของท้องที่ และภาพจากกล้องวงจรปิดจนถึงฟาวด์ฟุตเทจ (Found Footage) ซึ่งเป็นการใช้ฟุตเทจฟิล์มหรือภาพจากล้องวิดีโอที่ไม่มีการตัดต่อ ส่งผลให้ภาพที่ออกมาดูดิบ ประกอบการใช้นักแสดงที่ไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้างหรือเป็นนักแสดงหน้าใหม่เพื่อก่อเกิด “ความรู้สึกเชื่อ” และ “ความรู้สึกสมจริง” ต่อผู้ชม แสดงให้เห็นถึงการต่อรองระหว่างผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวเกาหลีใต้กับแนวความคิดผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทย
References
กชกร บุษปะบุตร. (2551). การวิเคราะห์ลักษณะของภาพยนตร์ไทยที่ได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมในช่วงปี พ.ศ.2533- 2548 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต]. มหาวิทยาลัยรังสิต
กรณีศึกษา ทำไม “ร่างทรง” ภาพยนตร์ที่กำกับโดยคนไทย ถึงไปฮิตที่เกาหลีใต้?. (2564, 22 กรกฎาคม). Longtungirl. https://www.longtungirl.com/3966
ควันธรรม นนทพุทธ, และ พิสณฑ์ สุวรรณภักดี. (2564) กระบวนการเสียดสีในภาพยนตร์สารคดีเทียม. ใน การประชุมสวนสุนันทาวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 9 เรื่อง การยกระดับงานวิจัยสู่นวัตกรรม (น. 588-608). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://www.conference.ssru.ac.th/admin/public/upload/upload_files/conference%20program%20update%2014-6-64.pdf
ชนาพร มหาศรี. (2562) การวิเคราะห์ภาษาภาพยนตร์ของภาพยนตร์แนวฟาวด์ ฟุตเทจ (found-footage) [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต]. RSUIR at Rangsit University. https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/356
ธนพล น้อยชูชื่น. (2560, 6 กุมภาพันธ์). มือปราบสัมภเวสี The lost case: จากรายการหมอผีสู่หนังสยองแนวฟาวด์ฟุตเทจ เรื่องแรกของไทย ไสยไสยวัยรุ่นชอบ. Beartai. https://www.beartai.com/lifestyle/movies/148824
ธนาณัติ ลิ้มธนสาร. (2564, 18 พฤศจิกายน). Horror history วิวัฒนาการหนังสยองขวัญในแต่ละยุคสมัยก่อนการมาของ “ร่างทรง”. The Modernist. https://themodernist.in.th/evolution-to-themedium/
นิมิตร คินันติ. (2561). การศึกษาการผลิตและเนื้อหาของภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จในระดับนานาชาติ กรณีศึกษาภาพยนตร์เรื่องลุงบุญมีระลึกชาติ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง]. TDC. https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=568934
ปัญฑารีย์ เสือวิเชียร. (2563). วิเคราะห์การถ่ายทอดอัตลักษณ์และวัฒนธรรมรัสเซียผ่านภาพยนตร์เรื่อง Zaschitniki [ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. TU Digital Collections. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:183300
พงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์. (2559, 13 พฤศจิกายน). หนังสารคดีมีที่ยืนไหมในสังคมไทย กับ Documentary club และ ‘ธิดา ผลิตผลการพิมพ์’. The Matter. https://thematter.co/entertainment/documentary-club-interview/12309
พัฒนา ค้าขาย. (2564, 2 พฤศจิกายน) ความเชื่อและความไม่เชื่อของโต้ง บรรจง ใน ‘ร่างทรง’ หนังไทยที่ขายตั๋วในเกาหลีหมดภายใน 26 วินาที. The momentum. https://themomentum.co/theframe-banjong-pisanthanakun/
พี่ชีตาร์. (2564, 23 กรกฎาคม). เปิดประวัติ ‘นาฮงจิน’ โปรดิวเซอร์ ‘ร่างทรง’ ตัวพ่อหนังผีชาวเกาหลี (หนังสยองขวัญแดนกิมจิต่างจากชาติอื่นอย่างไร). Dek-D. https://www.dek-d.com/studyabroad/58287
เพจ GDH. (2564). “ร่างทรง” เดินหน้าฉายท้าทายทุกศรัทธา พร้อมส่งต่อความสยองให้ผู้ชมทั่วโลก รู้จักกับคำว่า “กลัว” [รูปภาพ]. เฟสบุ๊ก. https://www.facebook.com/gdh559/photos/a.534276966731482/2010213675804463/?type=3&paipv=0&eav=AfYRvvzziTTCub81I-Anl9bGopgGeUT6yiFTEv5Gx_02yNChP9jyBUqb4dnML0ZHp8k&_rdr#:~:text=
ภัทรธรณ์ แสนพินิจ. (2566). ร่างทรง: บทบาทและภาพสะท้อนด้านการถ่ายทอดข้อมูลทางศาสนาพื้นบ้านในภาพยนตร์ไทย. กระแสวัฒนธรรม, 24(45), 57-75. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/cultural_approach/article/view/260968
รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม. (2542). ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยประเภทบันเทิงเพื่อการส่งออก กรณีศึกษา: ผู้อำนวยการสร้างและผู้กำกับภาพยนตร์ [รายงานผลการวิจัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. AUNILO IRDS. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1746
รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม. (2546). นักสร้าง สร้างหนัง หนังสั้น. ภาควิชาการภาพยนตร์และภาพนิ่ง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วาดฝัน. (2564, 4 พฤศจิกายน). สัมภาษณ์ โต้ง-บรรจง ผู้กำกับที่ไม่เชื่อเรื่อง ‘ร่างทรง’ และการทำภาพยนตร์ที่แหกกฎหนังผีที่คุ้นเคย. Today. https://workpointtoday.com/rang-zong/
สมาน งามสนิท, พรสิทธิ์ พัฒธนานุรักษ์, และ ปกรณ์ พรหมวิทักษ์. (2532). การวิเคราะห์ผู้ดูภาพยนตร์. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารงานภาพยนตร์ (หน่วยที่ 4). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักข่าว Today. (2561, 9 ตุลาคม). อันดับ 1 พี่มาก…พระโขนง รายได้ 559.59 ล้านบาท [รูปภาพ]. เฟสบุ๊ก. https://www.facebook.com/TODAYth.FB/photos/a.153956988306921/769700556732558/?type=3
อินทรชัย พาณิชกุล. (2566, 4 พฤษภาคม). ชีวิตสุดฟินของผู้กำกับ 500 ล้าน ‘โต้ง-บรรจง ปิสัญธนะกูล’. Post Today. https://www.posttoday.com/lifestyle/220036)
Bubblesbenjy. (2564, 30 ตุลาคม). คุยเบื้องหลัง ‘ร่างทรง’ กับผู้กำกับ ‘โต้ง บรรจง - นาฮงจิน’ สู่การจับมือสร้างหนังผีไทยระดับนานาชาติ. Korseries. https://www.korseries.com/talk-with-director-rang-song-tong-banjong-na-hong-jin/
Jediyuth. (2560, 11 กุมภาพันธ์). 6 สิ่งที่น่ารู้เกี่ยวกับหนัง “มือปราบสัมภเวสี: The Lost Case”. https://jediyuth.com/2017/02/11/the-lost-case-interview/
Teddys Crazy. (2563, 25 พฤษภาคม). ตำนานในเบอร์กิตสวิลล์แมริแลนด์ เหตุการณ์ลึกลับที่เกิดขึ้นหลายครั้ง. Medium. https://medium.com/@teddys.crazy/ตำนานในเบอร์กิตสวิลล์แมริแลนด์-เหตุการณ์ลึกลับที่เกิดขึันหลายครั้ง-fc01ab7fc7b5
Thaipost. (2564, 11 ธันวาคม). 'ร่างทรง' เจ๋ง! โกยรายได้ทั่วประเทศ 112.19 ล้านบาท. ไทยโพสต์. https://www.thaipost.net/entertainment-news/43237/
Gokseong. (2016). IMDb. https://www.imdb.com/title/tt5215952/
Hight, C. (2010). Television mockumentary: Reflexivity, satire and a call to play. Manchester University Press.
NA Hong-jin. (2024, February 2). Kofic KoBiz. http://www.koreanfilm.or.kr/eng/films/index/peopleView.jsp?peopleCd=10007437
The medium. (2021). IMDb. https://www.imdb.com/title/tt13446168/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์เป็นของวารสาร....