ทัศนคติและการยอมรับต่ออัตลักษณ์องค์กรของสำนักงานอัยการสูงสุดของข้าราชการฝ่ายอัยการ

ผู้แต่ง

  • ภัททจารี โพธิ์แดง คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • กัญญรัตน์ หงส์วรนันท์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ทัศนคติ, การยอมรับ, ข้าราชการฝ่ายอัยการ, สำนักงานอัยการสูงสุด, อัตลักษณ์องค์กร

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง “ทัศนคติและการยอมรับต่ออัตลักษณ์องค์กรของสำนักงานอัยการสูงสุดของข้าราชการฝ่ายอัยการ” มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาว่าปัจจัยส่วนบุคคลของข้าราชการฝ่ายอัยการที่แตกต่างกันส่งผลต่อทัศนคติที่มีต่ออัตลักษณ์องค์กรของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือไม่ 2) เพื่อศึกษาว่าปัจจัยส่วนบุคคลของข้าราชการฝ่ายอัยการที่แตกต่างกันส่งผลต่อการยอมรับที่มีต่ออัตลักษณ์องค์กรของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือไม่ และ 3) เพื่อศึกษาว่าทัศนคติที่มีต่ออัตลักษณ์องค์กรของสำนักงานอัยการสูงสุดที่แตกต่างกันส่งผลต่อการยอมรับอัตลักษณ์องค์กรของสำนักงานอัยการสูงสุดของข้าราชการฝ่ายอัยการหรือไม่ โดยเก็บข้อมูลจากข้าราชการฝ่ายอัยการทั่วประเทศ ประกอบด้วย ข้าราชการอัยการ และข้าราชการธุรการ จำนวน 400 คน

1. ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ ประเภทข้าราชการ และความถี่ในการเห็นตราสัญลักษณ์ OAG ที่แตกต่างกันของข้าราชการฝ่ายอัยการทำให้มีทัศนคติต่ออัตลักษณ์องค์กรแตกต่างกัน โดยเฉพาะข้าราชการฝ่ายอัยการที่มีความถี่ในการเห็นตราสัญลักษณ์ OAG 5 วันต่อสัปดาห์หรือมากกว่าจะมีทัศนคติเชิงบวกต่ออัตลักษณ์องค์กรของสำนักงานอัยการสูงสุดทุกด้านมากกว่าข้าราชการฝ่ายอัยการที่มีความถี่ในการเห็นตราสัญลักษณ์ OAG จำนวนวันที่น้อยกว่า แต่ยกเว้นสีอัตลักษณ์ “ส้ม-ขาว”

2. ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ ประเภทข้าราชการ และความถี่ในการเห็นตราสัญลักษณ์ OAG ที่แตกต่างกันของข้าราชการฝ่ายอัยการทำให้มีการยอมรับอัตลักษณ์องค์กรแตกต่างกัน โดยเฉพาะข้าราชการฝ่ายอัยการที่มีความถี่ในการเห็นตราสัญลักษณ์ OAG 5 วันต่อสัปดาห์หรือมากกว่าจะมีทัศนคติเชิงบวกต่ออัตลักษณ์องค์กรของสำนักงานอัยการสูงสุดทุกด้านมากกว่าข้าราชการฝ่ายอัยการที่มีความถี่ในการเห็นตราสัญลักษณ์ OAG จำนวนวันที่น้อยกว่า แต่ยกเว้นค่านิยมร่วม “PUBLIC”

3. การมีทัศนคติเชิงบวกต่อค่านิยมร่วม “PUBLIC” จะทำให้มีการยอมรับอัตลักษณ์องค์กรทุกด้าน

References

การสร้างความรับรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน. (ม.ป.ป.). สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. https://resolution.soc.go.th/?prep_id=99321688

คณะกรรมการปฏิรูปองค์การสำนักงานอัยการสูงสุด. (2562). แผนปฏิรูปองค์กรสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. 2562-2566. ผู้แต่ง.

คำเกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก. (ม.ป.ป.). คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก. http://phralan.in.th/coronation//vocabdetail.php?id=317

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะจิตวิทยา. (2561, 6 สิงหาคม). สีในแง่จิตวิทยา. https://www.psy.chula.ac.th/th/feature-articles/psychological-aspects-of-color

เจ้าหน้าที่ สอภ.5. (2566, 4 ธันวาคม). แผนปฏิรูปองค์การสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. 2562-2566. สำนักงานอัยการสูงสุด. https://bit.ly/4eX71MP

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2556). พฤติกรรมผู้บริโภค. ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ชฎาภรณ์ สะหาย. (2564). การศึกษาการยอมรับและการนำเทคโนโลยีไปใช้ในผู้ประกอบการสตรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล]. CMMU Digital Archive. https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4191

ชิดชนก ทองไทย. (2556). การรับรู้ และทัศนคติที่มีผลต่อความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงานประชาคมอาเซียนของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. http://ils.swu.ac.th:8991/exlibris/aleph/a22_1/apache_media/PMJMAMLMP6FA8T5SNF65NXEYTQFDAR.pdf

ญาศิณี เคารพธรรม. (2561). การใช้สีเพื่อการสร้างตราสินค้าธุรกิจธนาคารและการรับรู้ของผู้ใช้บริการ: กรณีศึกษา ธนาคารออมสิน. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 12(1), 303-335. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dpuca/article/view/176059

ณัฏฐ์ บุณยสิริยานนท์. (2560). การสื่อสารข้ามสื่อเพื่อสร้างแบรนด์บุคคลของผู้ดำเนินรายการข่าว [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]. คลังปัญญา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3782

ณัฐธริสสา ทรัพย์คงเจริญ. (2557). การเปิดรับข่าวสาร ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครในโครงการปฏิบัติการคืนพื้นผิวจราจรเพื่อประชาชนตาม “นโยบาย 5 จริง” ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์]. ศูนย์เรียนรู้และหอสมุด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. https://opacdb01.dpu.ac.th/cgi-bin/koha/opac-detail.pl?biblionumber=103580

ตราสัญลักษณ์. (ม.ป.ป.). สำนักงานอัยการสูงสุด. https://www.ago.go.th/aboutus/

ทรงยศ อรัญยกานนท์. (2557). ภาวะผู้นำกับการสร้างทัศนคติเชิงบวกต่อนวัตกรรมการบริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. SURE. https://sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/10370

ทัตเทพ ธรรมษา. (2561). การเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และการยอมรับแนวคิดการติดตั้งตู้ถุงยางอนามัยในโรงเรียนของวัยรุ่นในจังหวัดสุรินทร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. TU Digital Collections. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:164598

นันทิดา โอฐกรรม. (ม.ป.ป.). การสร้างอัตลักษณ์ ภาพลักษณ์ ชื่อเสียงขององค์กร [PowerPoint slides]. CCA. https://elcca.ssru.ac.th/nantida_ot/mod/resource/view.php?id=194&forceview=1

แนวทางการเผยแพร่กฎหมายเพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนและหน่วยงานภาครัฐ. (ม.ป.ป.). สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. https://resolution.soc.go.th/?prep_id=99322773

แนวทางการเผยแพร่กฎหมายเพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนและหน่วยงานภาครัฐ. (2560, 17 มกราคม). RYT9. https://www.ryt9.com/s/cabt/2586181

บริษัท แบรนดิ คอร์ปอเรชัน จำกัด. (2563ก). รายงานผลการดำเนินการ งวดที่ 1 โครงการเสริมสร้างภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์สำนักงานอัยการสูงสุด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. ผู้แต่ง.

บริษัท แบรนดิ คอร์ปอเรชัน จำกัด. (2563ข). รายงานผลการดำเนินการ งวดที่ 2 โครงการเสริมสร้างภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์สำนักงานอัยการสูงสุด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. ผู้แต่ง

บริษัท แบรนดิ คอร์ปอเรชัน จำกัด. (2564). คู่มือแนวทางการสร้างแบรนด์สำนักงานอัยการสูงสุด. ผู้แต่ง.

ประกาศ เรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561–2580). (2561, 13 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135 ตอนที่ 82 ก. หน้า 1.

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การประกาศแผนการปฏิรูปประเทศ. (2561, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135 ตอนที่ 24 ก. หน้า 1-2.

ปรีดาภรณ์ ชื่นกลาง. (2563). การรับรู้ ทัศนคติและความตั้งใจซื้อสินค้าและบริการขององค์กรธุรกิจโรงแรมในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chula Digital Collections. https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/4310/

พรศิริ สังข์ทอง. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมองค์การของผู้บริหารกับการบริหารงานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา]. Office of Academic Resources and Information Technology. http://etheses.aru.ac.th/thesisdetail.php?id=1935

เพลินพิศ ภิระบรรณ. (ม.ป.ป.). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของบุคลากรสำนักงานอัยการสูงสุด กรณีศึกษา สำนักงานอัยการในพื้นที่จังหวัดสระบุรี [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง. http://www.mpa-mba.ru.ac.th/images/Project/treatise_lopburi01_02082021/6124952429.pdf

ไพศาล ฤทธิกุล. (2559). อัตลักษณ์และการรับรู้ภาพลักษณ์องค์กรที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของกลุ่มลูกค้าธนาคารต่างชาติ: กรณีศึกษา ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน) [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์]. PSU Knowledge Bank. https://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12057

ศุภนิดา จันทร์กระจ่าง. (2563). การเปิดรับ ทัศนคติ และพฤติกรรมการตอบสนองของผู้บริโภคต่อการสื่อสารที่ขับเคลื่อนด้วยระบบอัลกอริทึมและข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมบนเฟซบุ๊ก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. CUIR at Chulalongkorn University. https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76076

ศุภมาศ ปลื้มกุศล. (2557). อัตลักษณ์ขององค์กรจากการรับรู้ของพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. TU Digital Collections. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:103947

สำนักงานอัยการสูงสุด. (ม.ป.ป.). ข้อมูลเกี่ยวกับสำนักงานอัยการสูงสุด. https://www.ago.go.th/

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-06