รูปแบบการสอนแบบอิงประสบการณ์ร่วมกับการสอนด้วยแหล่งการเรียนรู้ในชุมชนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทำงานกลุ่ม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ระดัประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดบ่อ (นันทวิทยา) นครปากเกร็ด 1

Main Article Content

โชติมา กลิ่นบุบผา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและประเมินความต้องการรูปแบบการสอนแบบอิงประสบการณ์ร่วมกับการสอนด้วยแหล่งการเรียนรู้ในชุมชนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการกลุ่ม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (2) พัฒนารูปแบบการสอนแบบอิงประสบการณ์ร่วมกับการสอนด้วยแหล่งการเรียนรู้ในชุมชนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการกลุ่ม (3) ทดลองใช้รูปแบบการสอน และ (4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการสอน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนามี 4 ขั้น ขั้นที่ 1 การวิจัยเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน และประเมินความต้องการของรูปแบบและพัฒนากรอบแนวคิด กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือ ผู้บริหาร ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีจำนวน 100 คน และผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกรอบแนวคิดของรูปแบบการสอน เครื่องมือการวิจัย คือ (1) แบบสอบถามความต้องการเกี่ยวกับรูปแบบการสอน (2) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกรอบแนวคิด ขั้นที่ 2 การพัฒนาและประเมินคุณภาพรูปแบบการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญด้วยแบบประเมินคุณภาพ ขั้นที่ 3 การวิจัย นำรูปแบบการสอนที่ผ่านการประเมินคุณภาพไปทดลองใช้เบื้องต้นกับนักเรียน จำนวน 35 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 กลุ่มตัวอย่าง ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม นำผลจากการทดลองใช้เบื้องต้นไปปรับปรุงและนำไปทดลองใช้จริงกับนักเรียน จำนวน 30 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 กลุ่มตัวอย่าง ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือในการทดลองใช้เบื้องต้นและใช้จริง คือ (1) รูปแบบการสอนแบบอิงประสบการณ์ร่วมกับการสอนด้วยแหล่งการเรียนรู้ในชุมชน (2) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอน (3) แบบประเมินทักษะกระบวนการทำงานกลุ่ม (4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (5) แบบสอบถามความพึงพอใจ ขั้นที่ 4 การพัฒนาโดยการจัดประชุมสัมมนา ผู้บริหาร และครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ในสังกัดเทศบาลนครปากเกร็ด จำนวน 28 คน เกี่ยวกับรูปแบบการสอน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการสอน การวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้บริหาร ครูผู้สอน และนักเรียนมีความต้องการการสอนแบบอิงประสบการณ์ โดยใช้แหล่งการเรียนรู้ในชุมชน และต้องการเรียนด้วยทักษะกระบวนการกลุ่มโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วยกับกรอบแนวคิดของรูปแบบการสอน (2) รูปแบบการสอน ประกอบด้วย (2.1) องค์ประกอบ หลักการและเหตุผล จุดมุ่งหมาย กิจกรรมการเรียน สื่อและแหล่งการเรียน และการประเมินผล และ (2.2) ขั้นตอนของรูปแบบการสอนมี ดังนี้ ขั้นที่ 1 การกำหนดหน่วยประสบการณ์ ขั้นที่ 2 การประเมินก่อนเผชิญประสบการณ์ ขั้นที่ 3 การเข้ากลุ่มและชี้แนะแหล่งการเรียนรู้ในชุมชนโดยใช้กระบวนการกลุ่ม ขั้นที่ 4 การกำหนดเป็นประสบการณ์หลักและประสบการณ์รองจากหน่วยประสบการณ์ โดยใช้กระบวนการกลุ่ม ขั้นที่ 5 การเผชิญประสบการณ์ด้วยการรวบรวมข้อมูลโดยใช้กระบวนการกลุ่ม ขั้นที่ 6 การเผชิญประสบการณ์แหล่งการเรียนรู้ในชุมชนโดยใช้กระบวนการกลุ่ม ขั้นที่ 7 การวิเคราะห์ผลการเผชิญประสบการณ์โดยใช้กระบวนการกลุ่ม และขั้นที่ 8 การประเมินหลังเผชิญประสบการณ์ (3) การทดลองใช้รูปแบบการสอนในการทดลองใช้จริง พบว่ามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 E1/E2 เรียงตามลำดับแต่ละหน่วย ดังนี้ 81.27/82.71, 82.29/82.00, และ 80.00/81.71 นักเรียนทุกคนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนมีทักษะการทำงานกลุ่มผ่านตามเกณฑ์ ร้อยละ 80 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านความพึงพอใจของนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และ (4) ผู้บริหารและครูมีความเห็นว่ารูปแบบการสอนมีความเหมาะสมเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด ในด้านความมีประโยชน์ มีความสมบูรณ์ และมีความชัดเจน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์
การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2540). ชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

_____________ . (2545). ชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มณีรัตน์ พิมพาภรณ์. (2555). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แหล่งการเรียนรู้ในชุมชนหน่วยการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ใน
ชุมชนพรหมนิมิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
โรงเรียนชุมชนบ้านพรหมนิมิต จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาหลักสูตรและการ
สอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.

โรงเรียนวัดบ่อ (นันทวิทยา) นครปากเกร็ด 1. (2559) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารวิชาการ. นนทบุรี.

ลัดดา ศิลาน้อย. (2543). การใช้แหล่งความรู้ท้องถิ่นกับการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

____________ . (2545). ปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง: หลักการสู่ปฏิบัติ. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์. (2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์ Operwoods.


วาสนา ทวีกุลทรัพย์. (2555). ชุดการสอน ในประมวลสาระชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการสอนและฝึกอบรม หน่วยที่ 14
(น.8 - 15). นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟิก จำกัด.

อำนวย แน่นอุดร. (2553). การศึกษาทักษะกระบวนการกลุ่มและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้แบบ STAD
โรงเรียนบ้านกุลจิก อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชา
หลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น

Hergenholm and M.H. Olson. (1993). An introduction to theories of Learning (14th ed.). Englewood Cliffs.
NJ: Prentice Hall, Inc.

Johnson, R.T. & Johnson, D.W. (1994). An Overview of cooperative learning. In J.S.Thousand, R.A. Villa & A.
I. Nevins (Eds.), Creativity and collaborative learning. (pp. 31 -34) Baltimore Maryland: Paul H.
Brooches Publishing Co.