การพัฒนาความสามารถทางไอซีทีและพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาวิชาชีพครู ด้วยระบบของกระบวนการเรียนการสอนแบบผสมผสานในลักษณะ ห้องเรียนกลับด้าน

Main Article Content

สุไม บิลไบ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาระบบของกระบวนการเรียนการสอนแบบผสมผสานในลักษณะห้องเรียนกลับด้าน 2) ศึกษาความเหมาะสมของระบบของกระบวนการเรียนการสอนแบบผสมผสานในลักษณะห้องเรียนกลับด้าน 3) ศึกษาความสามารถทางไอซีทีด้านทักษะทางปัญญาและทักษะปฏิบัติของนักศึกษาวิชาชีพครูที่เรียนด้วยระบบของกระบวนการเรียนการสอนแบบผสมผสานในลักษณะห้องเรียนกลับด้าน และ 4) ศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาวิชาชีพครูที่เรียนด้วยระบบของกระบวนการเรียนการสอนแบบผสมผสานในลักษณะห้องเรียนกลับด้าน โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาวิชาชีพครู จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ระบบของกระบวนการเรียนการสอนแบบผสมผสานในลักษณะห้องเรียนกลับด้าน แบบวัดความสามารถทางไอซีทีด้านทักษะทางปัญญาและทักษะปฏิบัติ และแบบประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง ซึ่งผ่านการพิจาณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีการศึกษา ด้านจิตวิทยาการศึกษา และด้านการวัดและประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบทีแบบไม่อิสระ ซึ่งผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ 1. ระบบของกระบวนการเรียนการสอนแบบผสมผสานในลักษณะห้องเรียนกลับด้านที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาความสามารถทางไอซีทีและพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง มีการผสมผสานในสัดส่วนออนไลน์ร้อยละ 60 และในชั้นเรียนปกติร้อยละ 40 (60:40) มีองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านปัจจัยกระบวนการ และด้านปัจจัยผลผลิต มีขั้นตอนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 8 ขั้นตอนได้แก่ (1) ขั้นชี้แจง (2) ขั้นทดสอบก่อนเรียน (3) ขั้นเรียนรู้ด้วยตนเอง (4) ขั้นทำแบบฝึก (5) ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชั้นเรียน (6) ขั้นสาธิตและฝึกปฏิบัติ (7) ขั้นทดสอบหลังเรียน และ (8) ขั้นสรุปบทเรียน 2. ระบบของกระบวนการเรียนการสอนแบบผสมผสานในลักษณะห้องเรียนกลับด้านมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยมีผลคะแนนการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญเฉลี่ย 4.87 3. คะแนนความสามารถทางไอซีทีด้านทักษะทางปัญญาและด้านทักษะปฏิบัติเฉลี่ยหลังเรียนด้วยระบบของกระบวนการเรียนการสอนแบบผสมผสานในลักษณะห้องเรียนกลับด้านสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. คะแนนพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองเฉลี่ยหลังเรียนด้วยระบบของกระบวนการเรียนการสอนแบบผสมผสานในลักษณะห้องเรียนกลับด้านสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2552). Motive เทคนิคการสร้างแรงจูงใจใฝ่เรียนรู้. พัฒนาเทคนิคศึกษา, 21(71), 16-23.

ธีรวงศ์ สายนาโก ขวัญหญิง ศรีประเสริฐ และวิไลลักษณ์ ลังกา. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานเพื่อฝึกทักษะการปฏิบัติงานแอนิเมชั่นเบื้องต้นสำหรับนิสิตปริญญาตรีสาขาเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา.
วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 7(2), 16-30.

นงลักษณ์ ยุทธสุทธิพงศ์. (2552). ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษาขั้น
พื้นฐาน เขตตรวจราชการที่ 14. สืบค้นวันที่ 24 มิถุนายน 2556. จากwww.reo8.moe.go.th/index.php/
oldresearchs/-2552/182---14--2552. [Online].

นุชรี บุญเกต. (2557). กรณีศึกษาการเรียนการสอนแบบผสมผสานระดับอุดมศึกษา. วารสารไอซีทีเพื่อการศึกษา. 1(1),
1-5.

พัลลภ พิริยะสุรวงศ์. (2543). เทคโนโลยีสารสนเทศกับการปฏิรูปการศึกษา. พัฒนาเทคนิคการศึกษา, 13(4), 39-41.

พิมพันธ์ เตชะคุปต์. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.

ณัฐกร สงคราม. (2553). การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชกิจจานุเบกษา. (2556). ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง สาระความรู้ สมรรถนะ และประสบการณ์วิชาชีพของ ผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ.2556. กรุงเทพฯ: มปท.

รุ่งนภา จิตรโรจนรักษ์. (2556). ครูเกือบ 100% เน้นสอนวิชาส่งผลเด็กขาดทักษะความเป็นผู้นำ. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2558. จาก www.kruthai.info/view.php?article_id=3693.

เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 (พ.ศ. 2552 – 2561). กรุงเทพฯ:
พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สาลินันท์ เทพประสาน, มนต์ชัย เทียนทอง และจรัญ แสนราช. (2552). กรอบแนวคิดรูปแบบการเรียนการสอนแบบ
ผสมผสานโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ร่วมกันที่มีระบบสแคฟโฟลด์สนับสนุน. ใน The 5th National Conference on
Computing and Information Technology (น.958-966). มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Carman. M. J. (2005). Blended Learning Design: Five Key Ingredients. Retrieved from www.agilantlearning.com/
pdf/Blended%20Learning%20%20Design.pdf.

Gibbons, M. (2003). The Self-Directed Learning Handbook: Students to Excel. Hoboken. NJ: Jossey-Bass. Seng Chee, T., Divaharan, S., Tan, L., Horn Mun, C. (2011). Self-Directed Learning with ICT: Theory, Practice and Assessment. Ministry of Education. Singapore.

Singh, H. and Reed, C. 2001. A White Paper: Achieving Success with Blended Learning. ASTD State of the Industry Report, American Society for Training & Development. March. 1-10.

U.S. Department of Education, Office of Planning, Evaluation, and Policy Development. (2009).
Evaluation of Evidence-Based Practice in Online Learning: A Meta-Analysis and Review of Online learning Studies. Washington, D.C., 2009. Retrieved from http://www2.ed.gov/rschstat/eval/tech/ evidence-based-practices/finalreport.pdf.