การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกรในจังหวัดกระบี่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ศึกษาการรับข้อมูลข่าวสารเพื่อการผลิตปาล์มน้ำมัน 3) ศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการผลิตปาล์มน้ำมัน 4) ศึกษาคุณลักษณะของเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมเพื่อการเรียนรู้ในการผลิตปาล์มน้ำมันและ 5) ศึกษาปัญหาอุปสรรคในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้เพื่อการผลิตปาล์มน้ำมัน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการปลูกปาล์มพันธุ์ดี จังหวัดกระบี่ จำนวน 370 คน ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 132 คน โดยคำนวณจากสูตรของยามาเน่ ที่ระดับสำคัญ 0.07 เลือกตัวอย่างโดยวิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่มีการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน (เน้นเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ต) 2) การรับรู้ข่าวสารของเกษตรกรส่วนใหญ่ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การฝึกอบรม และสอบถามเจ้าหน้าที่หน่วยงานราชการ และส่วนใหญ่เรียนรู้จากการร่วมประชุม และการอบรม 3) วัตถุประสงค์ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่าส่วนใหญ่ใช้เพื่อเพิ่มพูนความรู้และเพื่อทราบข้อมูลข่าวสาร มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญ ได้แก่ โทรศัพท์เคลื่อนที่ และไลน์ ตามลำดับ 4) เกษตรกรมีความคิดเห็นในระดับมากในประเด็นคุณลักษณะของเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในมิติของเครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้รวดเร็ว การเรียนรู้แล้วนำมาฝึกทำเองได้ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่าย และในมิติของรูปแบบและเนื้อหาของข้อมูลสารสนเทศ ได้แก่ เนื้อหาสอดคล้องกับความต้องการ การนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ในการผลิตและการตลาดทางการเกษตร การนำเสนอได้ถูกต้องแม่นยำและสอดคล้องกับความเป็นจริง 5) ปัญหาอุปสรรคในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่า ส่วนใหญ่เกษตรกรมีปัญหาด้านความเข้าใจและการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการผลิตปาล์มน้ำมันในระดับน้อย
Article Details
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2554). กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ พ.ศ.2554-2563 ของประเทศไทย. กรุงเทพฯ. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม และคณะ. (2558). การศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมกับเกษตรกรไทย นำเสนอต่อ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. นนทบุรี: สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงานจังหวัดกระบี่. (2557). ข้อมูลของจังหวัดกระบี่. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2560, จาก http://demo-cv. com/demoweb/krabi/frontpage
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). สรุปผลที่สำคัญ สำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2559. นนทบุรี: สำนักสถิติพยากรณ์.
DTAC. (2016). ประกาศผลเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี 2559. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2560, จาก https://www.dtac.co.th/pressroom/news/smart-farmer-016.html