การประยุกต์แนวคิดการจัดการธุรกิจแบบคลัสเตอร์ กรณีศึกษา: กลุ่มอุตสาหกรรมหัตถอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

Main Article Content

กิ่งพร ทองใบ
ราณี อิสิชัยกุล
วราภรณ์ รุ่งเรืองกลกิจ
ชนินทร์ ชุณหพันธรักษ์
รชพร จันทร์สว่าง

บทคัดย่อ

          ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่แตกในประเทศไทยเมื่อช่วงพ.ศ. 2540 ทำให้รัฐบาลมีนโยบายหลักประการหนึ่ง คือการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยมีคลัศเตอร์เป็นเครื่องมือ การดำเนินงานเรื่องคลัศเตอร์มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชนเข้ามีส่วนร่วม บทความนี้จะศึกษาถึงการประยุกต์แนวคิดคลัสเตอร์มาใช้ในหน่วยงานภาคธุรกิจเอกชน โดยผ่านกระบวนการรวมกลุ่มคลัสเตอร์ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่ 10 คลัสเตอร์ ครอบคลุมกลุ่มอุตสาหกรรมจำนวน43 แห่ง แต่ข้อจำกัดในทรัพยากรวิจัย จึงจะศึกษาเฉพาะกรณี ของกลุ่มอุตสาหกรรมหัตถอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นสมาชิกในคลัสเตอร์ไลฟ์สไตล์และแฟชั่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมแนวคิดการจัดการธุรกิจแบบคลัสเตอร์จากหนังสือ บทความและงานวิจัยต่างๆ  รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้บริหารของกลุ่มอุตสาหกรรมหัตถอุตสาหกรรมที่ได้ประยุกต์ใช้แนวคิดนี้ เพื่อประเมินว่าการประยุกต์ใช้แนวคิดการจัดการธุรกิจแบบคลัสเตอร์ของกลุ่มอุตสาหกรรมหัตถอุตสาหกรรมมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด เพื่อเสนอแนะแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการธุรกิจแบบคลัสเตอร์ของกลุ่มอุตสาหกรรมหัตถอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2547). หัตถอุตสาหกรรม. สืบค้นจาก www.rty.com/s/ryt9/143015.

กิ่งพร ทองใบ. (2548). “การบริหารจัดการธุรกิจSMEsและOTOP.ให้ประสบความสำเร็จ” เอกสาร ประกอบการฝึกอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ SMEs และ OTOP ในเชิงธุรกิจ สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. กรุงเทพมหานคร: เฟื่องฟ้า พรินติ้ง จำกัด.

ธีระวุฒิ สุทธิประภา. (2555). คลัสเตอร์กับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน กรณีศึกษา:
คลัสเตอร์อัญมณีและเครื่องประดับ จังหวัดจันทบุรี. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยนวัตกรรม
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปิยะพร อริยขจร. (2556). คลัสเตอร์เครื่องมือเพื่อการเพิ่มขีดความสามารถของการแข่งขัน กรณีศึกษา:
กลุ่มคลัสเตอร์บรรจุภัณฑ์โลหะ กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร
มหาบัณฑิต ไม่ตีพิมพ์), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

รมิตา คชนันท์. (2558). คลัสเตอร์การรวมกลุ่มธุรกิจเพื่อการแข่งขัน. เอกสารวิชาการ สำนักวิชาการ
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.สืบค้นจาก http://www.parliment.go.th/.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ. (2547). การพัฒนา
เครือข่ายวิสาหกิจในประเทศไทย กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาขีด
ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ. (2548). เครือข่ายวิสาหกิจ (คลัสเตอร์) เพื่อยกระดับ
ความสามารถในการแข่งขันแนวทางการดำเนินงานและกรณีตัวอย่าง บทเรียนการพัฒนา
คลัสเตอร์ในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2559 จากhttp://www.nesdb.go.th/
national/competitiveness/attach/data47.pdf.

Collins, Jim. (2001). Good to Great USA: William Collins Press.

C. Richard, Hatch. (2002). Toward a Strategy for SME Cluster and Network Development
in Thailand. A Discussion Paper for Stakeholders for te International labour
Office’s Initiative on Business to Business Networking – Thailand.

Porter, Michael E. (1990). The Competitive Advantage of Nations. London: Macmillan.

Schmitz, Hubert. and Nadvi, Khalid (1999). Clustering and Industrialization: Introduction.
World Development: USA.

United Nations Industrial Development Organization. (2001). Development of Clusters and Networks of SMEs. Private Sector Development Branch Investment Promotion and Institutional Capacity Building Division.

UNIDO. (2001). Development of Clusters and Networks of SMEs. Private Sector
Development Branch. Investment Promotion and Institutional Capacity Building Division.

Wheelen, T.L. and Hunger, J.D. (2012) Strategic Management and Business Policy:
Toward Global Sustainability. Thirteen Edition, New Jersey: Prentices Hall.