วิถีทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมศรีวิชัยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมบนคาบสมุทรภาคใต้ของไทย

Main Article Content

สิปปนันท์ นวลละออง
ปิยตา สุนทรปิยะพันธ์

บทคัดย่อ

“วัฒนธรรมศรีวิชัย” นั้นจัดเป็น “วัฒนธรรมร่วมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” เนื่องจากการเชื่อมโยงหลักฐานและร่องรอยต่างๆที่ค้นพบโดยนักโบราณคดีและข้อมูลการบันทึกต่างๆมากมายทั้งในและนอกประเทศเกี่ยวกับของอิทธิพลศรีวิชัย เช่น หลักฐานจากกรมศิลปากร บันทึกจากอินเดีย ศรีลังกา อาหรับ เปอร์เซีย จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย กัมพูชา และจีน เป็นต้น นอกจากนี้ การวิเคราะห์หลักฐานนักนักประวัติศาสตร์ที่สำคัญ อาทิเช่น หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี ท่านพุทธทาสภิกขุ อาจารย์ธรรมทาส และพล.ต.ท.สรรเพชญ ธรรมาธิกุล รวมถึงท่านควอริส เวลล์ ที่ได้พบโดยเฉพาะบริเวณเส้นทางข้ามทวีปตะกั่วป่า-อ่าวบ้านดอน และคนศรีวิชัยมีความเหนี่ยวแน่นในสังคมวัฒนธรรมและการใช้ชีวิตในวิถีพุทธ ซึ่งจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีจำนวนมากแสดงให้เห็นว่ามีคนอาศัยอยู่ในตอนเหนือและตอนกลางของคาบสมุทรมาลายูตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะการปรากฎอยู่ของการตั้งอยู่ของคนไทยในภาคใต้ รวมถึงวัฒนธรรมและความเชื่อของคนที่นี่มีลักษณะกลมกลืนระหว่างวัฒนธรรมอินเดียและวัฒนธรรมไศเลนทร์อย่างมาก ดังแสดงให้เห็นจากวิถีชีวิตด้านต่างๆ อาทิเช่น ที่อยู่อาศัย ประเพณี ภาษา ศิลปะท้องถิ่น ความเชื่อ อาชีพ การแต่งกาย และอาหาร ตัวอย่างเช่น วัฒนธรรมการแห่ผ้าขึ้นธาตุ มโนราห์ หนังตะลุง และอาหารของภาคใต้ เป็นต้น หรือวิถีแบบพุทธศาสนาแบบมหายานที่นับถือพระโพธิสัตว์เป็นอย่างมาก ซึ่งสามารถพบได้บริเวณภาคใต้ของไทย โดยเฉพาะรอบอ่าวบ้านดอน ดังเช่นที่สวนโมกขพลารามนั่นแสดงถึงการผสมผสานกันอย่างสมดุลระหว่างวัฒนธรรมภายนอกกับวัฒนธรรมท้องถิ่น ผู้วิจัยได้รวบรวมเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและทำการสำรวจพื้นที่จริง นอกจากนี้ไปสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ปราชญ์ชาวบ้าน และคนในพื้นที่ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะเห็นได้ว่าการสำรวจหลักฐานรอบอ่าวบ้านดอนมีความสำคัญต่อการศึกษาและการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และอิทธิพลวัฒนธรรมศรีวิชัยอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม มรดกที่ซ้อนอยู่ในภูมิวัฒนธรรมของศรีวิชัยนั้นมีมากมายไม่ว่าจะเป็นมรดกที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ ตัวอย่างเช่น วิถีการดำเนินชีวิตอย่างคนศรีวิชัย ได้แก่ อาหาร การแต่งกาย ที่อยู่อาศัย ประเพณี ภาษา เช่น การสื่อสาร นิทาน บทประพันธ์ เป็นต้น อาชีพ ความเชื่อ ศิลปะท้องถิ่น หรือแม้แต่แหล่งโบราณสถานและภูมิทัศน์วัฒนธรรมจากอดีตจนถึงปัจจุบันนี้ก็ตาม และจากข้อมูลและหลักฐานที่ได้สามารถนำไปสู่การตีความวิถีวัฒนธรรมศรีวิชัยทั้งที่เป็นมรดกที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์จากการสร้างนวัตกรรมด้านการท่องเที่ยวได้อย่างดีต่อไป คำสำคัญ: วิถีทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรม ศรีวิชัย การท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมศิลปากร. (2501). ประชุมศิลาจารึกภาค 1 จารึก. งานฌาปณกิจศพ คุณหญิง สิน ภักดีนฤศาสตร์ วัดเทพสิรินทร์. กรุงเทพมหานคร.

กระทรวงวัฒนธรรม. (2555). อนุสัญญามรดกโลก. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2557, จาก http://www. thaiwhic.go.th/convention.aspx.

ฉัตรชัย ศุรกาญจน์ บัญชา พงษ์พานิช และบุญเสริม แก้วพรหม. (2532). นครศรีธรรมราช 32 เมืองอันงดงามสง่าของพระราชาผู้ทรงธรรม. กรุงเทพมหานคร: ดี แอลเอส.

บัญชา พงษ์พานิช.(2556). เทศกาล “นครดอนพระ ในรักบ้านเกิด กันยายน 2556”. สารนครศรีธรรมราช ฉบับพิเศษ เดือนสิบ’56. นครศรีธรรมราช: องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช.

ประสิทธิ์ รุ่งเรืองรัตนกุล. (2556). สภาพเศรษฐกิจของนครศรีธรรมราชสมัยสุโขทัยถึงรัตนโกสินทร์. ใน วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช. รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์นครฯ ครั้งที่ 2 : ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและสังคมของนครศรีธรรมราช. (256-274). นครศรีธรรมราช: วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช.

ปรีชา นุ่นสุวรรณ และ เจิมสวัสดิ์ พรหมศักดิ์. (2525). รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์โบราณคดีศรีวิชัย. เอกสารการสัมมนาสุราษฎร์ธานี. 23-30 มิถุนายน 2525 ณ โรงแรมวังใต้. กรุงเทพมหานคร: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร.

ธนิก เลิศชาญฤทธ์. (2554). การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

นครศรีธรรมราช. (2532). นครศรีธรรมราช 32 นครแห่งประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ และศิลปวัฒนธรรม บนด้ามขวานทอง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ ดี แอลเอส.

นงคราญ ศรีชาย และวรวิทย์หัศภาค. (2543). โบราณคดีศรีวิชัย มุมมองใหม่การศึกษาวิเคราะห์แหล่งโบราณคดีรอบอ่าวบ้านดอน. สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 11 กรมศิลปากร. นครศรีธรรมราช: สำนักพิมพ์เม็ดทราย.

มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช. (2552). รายงานสัมมนาประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราชครั้งที่ 2. นครศรีธรรมราช: โรงพิมพ์ไทม์พริ้นติ้ง.

มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราชและสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2556). พระธาตุสู่มรดกโลก. ในการสัมมนาประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช ครั้งที่ 8. 13-15 ธันวาคม 2556 ณ โรงแรมทวินโลตัส อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช โดย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราชและสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช และมูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ.

วิมล ดำศรี. (2557). ผ้าพระบฏพระราชทาน ปัจจัยและสื่อส่งเสริมสืบสานประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุเมืองนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: โรงพิมพ์ไทม์พริ้นติ้ง.

สรรเพชญ ธรรมาธิกุล. (2558). เยี่ยมบ้านจตุคามรามเทพ เยือนแหล่งอารยะธรรมลุ่มแม่น้ำหลวง, 4-8 เมษายน 2558 ณ เทวลัยจตุคามรามเทพ. ประจวบคีรีขันธ์.

สุเมธ รุจิวณิชย์กุล. (2556). พระธาตุสู่มรดกโลก. ในการสัมมนาประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช ครั้งที่ 8, 13-15 ธันวาคม 2556 ณ โรงแรมทวินโลตัส อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช โดย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราชและสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช และมูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ.

สิปปนันท์ นวลละออง. (2555). อิทธิพลศรีวิชัยและเสน่ห์ของวิถีทางวัฒนธรรมในภาคใต้ของไทย. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงอุตสาหกรรม.

สิปปนันท์ นวลละออง. (2557). “เชี๊ยะโถวก๊ก” ประเทศดินแดง ต้นเค้าอารยธรรมศรีวิชัยในลุ่มแม่น้ำหลวง (แม่น้ำตาปี) (เล่ม 1). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สิปปนันท์ นวลละออง. (2557). ปรัชญาและสุนทรียศาสตร์แห่งวิถีวัฒนธรรมศรีวิชัย: การบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรม (เล่ม 2). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2556). สารนครศรีธรรมราช ฉบับพิเศษ เดือนสิบ’56. นครศรีธรรมราช: โรงพิมพ์ประยูรการพิมพ์.

อมรา ศรีสุชาติ. (2556). พระธาตุสู่มรดกโลก. ในการสัมมนาประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช ครั้งที่ 8. 13-15 ธันวาคม 2556 ณ โรงแรมทวินโลตัส อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช โดย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราชและสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช และมูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ.

Clark, Kate (editor). (2006). Capturing the Public Value of Heritage. London: English Heritage.