ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมแบบ Big Six Skills ที่มีต่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ของนิสิตระดับปริญญาตรี

Main Article Content

กัมปนาท คูศิริรัตน์
นุชรัตน์ นุชประยูร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตระดับปริญญาตรี ก่อนและหลังจัดกิจกรรมการเรียนโดยผ่านเครือข่ายสังคมแบบ Big Six Skills (2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนิสิตระดับปริญญาตรี ก่อนและหลังจัดกิจกรรมการเรียนผ่านเครือข่ายสังคมแบบ Big Six Skills และ (3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนิสิตระดับปริญญาตรีที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมแบบ Big Six Skills กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาแอนิเมชั่นและมัลติมีเดีย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ที่ลงทะเบียนรายวิชาตัดต่อวีดิทัศน์และเสียง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ (1) กิจกรรมการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมแบบ Big Six Skills (2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (3) แบบวัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และ (4) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตระดับปริญญาตรีหลังจัดกิจกรรมการเรียนโดยผ่านเครือข่ายสังคมแบบ Big Six Skills สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนิสิตระดับปริญญาตรีหลังจัดกิจกรรมการเรียนโดยผ่านเครือข่ายสังคมแบบ Big Six Skills อยู่ในระดับดี (3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนผ่านเครือข่ายสังคมแบบ Big Six Skills ในระดับ มาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2546). การคิดเชิงสังเคราะห์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ซัคเซสมีเดีย.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

ประวัตรวงศ์ ยางกลาง. (2548). ผลของการเรียนแบบค้นหาสารสนเทศบนเว็บตามกระบวนการ BIG 6 ที่มีต่อทักษะการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. (ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ตีพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

ปลิตา บัวสีคำ. (2551). ผลการใช้บทเรียนบนเครือข่ายแบบ Big Six Skills เรื่องข้อมูลสารสนเทศและคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหาโดยใช้สารสนเทศของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ไม่ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สุวิทย์ มูลคำ.2547). กลยุทธ์การสอนคิดสังเคราะห์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.

อรุณรัตน์ ศรีชูศิลป์ และอนิรุทธ์ สติมั่น. (2555). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ. ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติด้านอีเลิร์นนิ่ง บูรณา
การการเรียนรู้ออนไลน์ประชาคมอาเชี่ยน: นโยบายและกระบวนการ. (หน้า 204-211). กรุงเทพมหานคร: อาคาร 9 อิมแพค เมืองทองธานี.

Siemens, G. (2004). Connectivism: A learning theory for the digital age. Retrieved, October 19, 2016, from http://dspace.edna.edu.au/dspace/bitstream/ 2150/34771/1/gs2006_siemens.pdf.

Suzanne, D. (2009). Connectivism Learning Theory: Instructional Tools for College Courses. (Master’s thesis). Independent Thesis Research Western Connecticut State University.