การเข้าถึงเนื้อหาสื่อใหม่ที่ไม่เหมาะสมของเด็กและเยาวชน

Main Article Content

มนวิภา วงรุจิระ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการใช้สื่อใหม่ของเด็กและเยาวชน ทั้งพฤติกรรมการใช้สื่อใหม่ทั้งที่เป็นฮาร์ดแวร์ (เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต โน้ตบุ๊ก) และซอฟต์แวร์ (เช่น อินเทอร์เน็ต สื่อสังคม เกมส์ออนไลน์) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าถึงเนื้อหาที่มีลักษณะไม่เหมาะสมในสี่ประเด็นคือ เพศ ภาษา ความรุนแรง และการพนัน วิธีดำเนินการวิจัยใช้การวิจัยแบบผสมผสานประกอบด้วย การวิจัยเชิงสำรวจเด็กและเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร อายุระหว่าง 6-24 ปี จำนวน 633 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน และการสนทนากลุ่มผู้ปกครอง จำนวน 21 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติพรรณนา ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า เด็กและเยาวชนเลือกใช้สมาร์ทโฟนมากที่สุดในการเข้าถึงสื่อใหม่ ใช้เวลากับสื่อเหล่านี้เฉลี่ย 4-6 ชั่วโมงต่อวัน และมีสัดส่วนเด็กและเยาวชนที่ใช้งานสื่อใหม่มากกว่า 10 ชั่วโมงต่อวันเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้พบว่าสื่อสังคมอย่าง ยูทูป ได้รับความนิยมสูงในทุกกลุ่มอายุ เกมส์ออนไลน์เป็นที่นิยมสูงสุดในกลุ่มอายุน้อย (เด็กประถม) และเฟซบุ๊ก เป็นที่นิยมสูงสุดในกลุ่มอายุมากขึ้น ทุกๆ ช่วงวัยใช้งานสื่อใหม่โดยมีเป้าหมายเพื่อความบันเทิงเป็นหลัก รองมาคือสนทนากับเพื่อนและติดตามข้อมูลข่าวสาร ประเด็นที่น่าวิตกจากการผลการสำรวจพบว่าทุกๆ วัยส่วนใหญ่ระบุว่าสามารถเข้าถึงเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมโดยเฉพาะเนื้อหาเรื่องเพศ (เช่น ภาพคลิปโป๊ คลิปฉาว) ได้โดยบังเอิญ ผลการสนทนากลุ่มกับผู้ปกครอง พบว่าปัญหาการใช้สื่อใหม่ของเด็กมัธยมแตกต่างจากเด็กประถม เพราะควบคุมการใช้สื่อใหม่ค่อนข้างยากกว่า เด็กบางรายมีอาการเสพติดสื่อใหม่อย่างรุนแรง โดยเฉพาะปัญหาการติดเกมส์ อีกปัญหาคือความรู้ไม่เท่าทันสื่อและเทคโนโลยีสมัยใหม่ของผู้ปกครองทำให้การดูแลป้องกันบุตรหลานเป็นไปได้ยาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดรุณี หิรัญรักษ์ และคณะ. (2555). การกำกับดูแลเนื้อหากิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์: ประสบการณ์จากต่างประเทศสู่ประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ.

ฐิตินันท์ บุญสภาพ คอมมอน. (2556). บทบาทของสื่อใหม่ในการสร้างค่านิยมทางสังคมและอัตลักษณ์ของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
ประกาศ กสทช.เรื่อง แนวทางการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ ตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทำผังรายการสำหรับการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ. 2556 ค้นคืนจาก https://broadcast.nbtc.go.th/law/dwl.php?id=NTYxMTAwMDAwMDAx&file =ZGF0YS9kb2N1bWVudC9sYXcvZG9jL3RoLzU2MTEwMDAwMDAwMS5wZGY=.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2556). รายงานผลการสำรวจการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน. จาก http://service.nso.go.th/nso/web/survey/surtec5-1-3.html.

Australian Communications and Media Authority (ACMA). (2013). Like, post, share: Young Australians’ experience of social media. Retrieved from http://www. acma.gov. au/~/media/mediacomms/Report/pdf/Like%20post%20share%20Young%20Australians%20experience%20of%20social%20media%20Quantitative%20research%20report.pdf.

Australian Communications and Media Authority (2015). Online Content Regulation. Retrieved from https://www.communications.gov.au/policy/policy-listing/online-content-regulation.

Australian Government: Office of the Children’s eSafety Commissioner. (2015). Online Content Regulation. Retrieved October 19, 2015 from https://www.esafety. gov.au/complaints-and-reporting/offensive-and-illegal-content-complaints/online-content-regulation.

Green, L., Brady, D., Ólafsson, K., Hartley, J. and Lumby, C. (2011). Risks and safety for Australian children on the internet: full findings from the AU Kids Online survey of 9-16 year olds and their parents. Cultural Science Journal, 4 (1), pp. 1-73.

Ofcom. (2015). Children and Parents: Media Use and Attitudes Report. Retrieved http://stakeholders.Ofcom.org.uk/binaries/research/media-literacy/children-parents-nov-15/childrens_parents_nov2015.pdf.

Ofcom. (2014). Children’s online behavior: issues of risk and trust Qualitative research findings. Retrieved from http://stakeholders.Ofcom.org.uk/market-data-research/other/ research-publications/childrens/online-behavior/.

http://www.commonsensemedia.org.

http://www.esafety.gov.au.

http://www.parentport.org.uk.

http://www.saferinternet.org.uk.