วาทกรรมแห่งปรากฏการณ์ “ล่าแม่มด”

Main Article Content

ธีร์ธวัช เจนวัชรรักษ์

บทคัดย่อ

ปรากฏการณ์การล่าแม่มด (Witch Hunting) เริ่มมีปรากฏในแถบทวีปยุโรป ในสมัยยุคกลาง (Medieval) โดยมีหลักฐานเชื่อมโยงกับความเชื่อที่ไม่สามารถอธิบายได้ของมนุษย์ เช่น การที่พืชผลไม่ให้ผลผลิตตามต้องการ ปศุสัตว์ล้มป่วย การเกิดภัยพิบัติต่างๆ อันไม่สามารถอธิบายได้โดยผัสสะของมนุษย์ในสมัยนั้น ต่างถูกผลักให้เกิดความเป็น “แม่มด” ทั้งสิ้น โดยจากหลักฐานที่เป็นงานเขียนเกี่ยวกับการระบุตัวตนของแม่มด กลายเป็นวาทกรรมอย่างหนึ่งที่สะท้อนลักษณะไม่พึงประสงค์บางประการต่อมนุษย์เพศหญิง กล่าวคือ มีการเชื่อมโยงความเป็น “เพศหญิง” เข้ากับความไม่สมบูรณ์ การหย่าร้าง (ความเป็นหม้าย) การขาดซึ่งความครบถ้วนทางเพศ ตลอดจนการเชื่อมโยงไฝ ปาน หรือจุดด่างดำต่างๆ บนร่างกาย เข้ากับเครื่องหมายแห่งความเป็นซาตาน หรือปีศาจ เท่ากับว่าการที่เพศหญิงจะมีความเป็นมนุษย์ได้อย่างไม่ถูกกล่าวหานั้น ผิวพรรณต้องสะอาดหมดจด ปราศจากไฝฝ้าใดๆ มิเช่นนั้นแม่มดจำเป็นเหล่านั้นจะถูกเปลือยร่างและเผาประจานที่จัตุรัสของชุมชนอย่างเลี่ยงไม่ได้ เมื่อวิทยาศาสตร์เติบโตขึ้นในสังคมมนุษย์ ความแคลงใจสงสัยในปรากฏการณ์ต่างๆ เริ่มมีความคลายตัวลง คำตอบทางวิทยาศาสตร์ได้เข้ามาแทนที่อำนาจมืดของแม่มด ทำให้“การล่าแม่มด” นั้นหายไปจากโลก จนกระทั่งในศตวรรษที่ 21 การ “ล่าแม่มด” กลายเป็นคำที่ใช้แทนความหมายของการขุดคุ้ยข้อมูลของผู้กระทำความผิดบางอย่างทางสังคม โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกสืบหาและประจานบนโลกออนไลน์ รอให้ผู้คนในโลกออนไลน์สามารถนำข้อมูลเพื่อไปประจานต่อ ด่าทอ หรือลงโทษนอกกฎหมาย เหมือนอย่างการลงโทษแม่มดในสมัยยุคกลางที่เป็นการเผาประจาน ซึ่งการล่าแม่มดในปัจจุบัน นอกจากจะสร้างความเสียหายให้แก่ผู้กระทำผิดนั้นแล้ว บุคคลแวดล้อมหรือครอบครัวต่างได้รับผลกระทบทางสังคมไปด้วย และถึงแม้ว่าจะมีการให้ความรู้และการรณรงค์เรื่องการรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy) ในหลายๆ ช่องทางเพื่อลดพฤติกรรมการล่าแม่มดดังกล่าว แต่เมื่อมีผู้กระทำผิดเกิดขึ้น พฤติกรรมการล่าแม่มดก็ยังคงมีอยู่และมีความรุนแรงแปรผันตามเหตุการณ์ความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยอาจจะเป็นการสะท้อนวาทกรรมบางอย่างที่แสดงว่าสภาพกฎหมายในสังคมบางครั้งมีความล่าช้า บกพร่อง ไม่เหมาะสม เลือกปฏิบัติแค่เพียงบุคคลบางกลุ่ม หรือละเว้นบุคคลบางกลุ่มจากความมีอำนาจบางอย่างของผู้กระทำผิด ทำให้สังคมในส่วนอื่นต้องมีการลงโทษด้วยการแสดงพฤติกรรมการล่าแม่มดในโลกออนไลน์ชดเชยในส่วนที่ขาดหายไปของบทลงโทษทางกฎหมายก็เป็นได้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

จำได้มั้ย แพรวา 9 ศพ ตอนนี้เธอเปลี่ยนไปมาก. (2559). สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2559, จาก http://goo.gl/JpPGmg.

ชล บุนนาค. (2554). Social Sanction: ข้อดี ข้อเสีย ข้อเสนอแนะ. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2559, จาก https://cholbunnag .wordpress.com/2011/01/03/social-sanction/. ().

โซเชียลแสดงพลัง ลูกตำรวจแล้วไง. (2559). สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2559, จาก http://goo.gl/Axzw9P.

ไทยรัฐออนไลน์. (2554). “สังคมได้โปรดฟังเราบ้าง” เปิดหัวอกแม่ “ลัดดาวัลย์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา”(แม่สาวซีวิค). สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2559, จาก http://www.thairath.co.th/ content/152918.

_____________. (2559). ถอยปิกอัพขยี้เก๋ง คลิปยัน! ดีเจคนดัง เจตนา. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2560, จาก http://www.thairath.co.th/content/560170.

_____________. (2559ข). “เสี่ยเบ๊นซ์” บวชขออโหสิกรรม – อุทิศส่วนกุศลสองนิสิต ป.โท ผู้ล่วงลับ. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2560, จาก http://www.thairath.co.th/content/617218.

นิภาพร ทับหุ่น. (2555). ศาลเตี้ยออนไลน์ ไล่ล่าแม่มด. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2559, จาก http://daily.bangkok biznews.com/detail/82367.

ผู้จัดการรายวัน. (2559). คดีเบนซ์ชนฟอร์ด ราตรีนี้ยังอีกยาวไกล. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2559, จาก http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9590000031237.

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และเครือข่าย 12 สถาบัน. (2558). รายงานการวิจัย เรื่อง การรู้เท่าทันสื่อ: ประโยชน์และการนำไปใช้. กรุงเทพ.

สาวตรี สุขศรี. (2553). จะทำอย่างไรกับลัทธิล่าแม่มด ค.ศ. 2010. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2559, จาก http://prachatai.com/journal /2010/05/29258.

สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์. (2555). “ล่าแม่มด”บนโลกออนไลน์ ใคร...คือเหยื่อสังคม?.สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2559, จาก http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=95 50000139846.

“สื่อดิจิตอล” สำแดงพลัง พุ่ง 32% กวาดสื่อเก่าตกเป็นแถว. (2559). สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2559, จาก http://m.manager.co.th/iBizChannel/detail/9590000036108.

Baran, S. J. (2002). Introduction to Mass Communication: Media Literacy and Culture. 2nd Edition. Boston, MA: McGrow Hill.

Baran, S. J. and Davis, D. K. (2012). Mass communication theory: foundation, ferment, and future. 6th Edition. Canada: Wadworths Cengage Learning.

Chermand, นามปากกา. (2016). คุก 3 เดือน 15 วัน ดีเจเก่ง ไม่รอลงอาญา คดีถอยชนยาริส. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2559, จาก http://news. mthai.com/hot-news/social-news/ 475658.html.

Daigle, L. (2015). On the Nature of the Internet. Global Commission on Internet Governance. The Center for International Governance Innovation. Ontario, Canada.

Dominick, J. R. (1999). Dynamics of Mass Communication: Media in Digital Ages. Boston, MA: McGrow Hill.

Ellerbe, H. (no date). The Witch Hunts: The End of Magic and Miracles. Retrieved May 26, 2016, from http://www.thenazareneway.com/dark_side_of_christian_history. html.

Fortey, I. (2009). 8 Awesome Cases of Internet Vigilantism. Retrieved May 26, 2016, from http://www.cracked.com/article_17170_8-awesome-cases-internet-vigilantism. html.

Lambert, T. (2015). A History of Witch Trails in Europe. Retrieved May 26, 2016, from http://www.localhistories .org/witchtrials.html.

Linder, D. (2005). A Brief History of Witchcraft Persecutions before Salem. Retrieved May 26, 2016, from: http://law2.umkc.edu/faculty/projects/ftrials/salem/witchhistory. html.

Littlejohn, S. W. and Foss, K. A. (2008). Theories of human communication. 9th Edition. Canada: Wadworths Cengage Learning.

Potter, W.J. (2014). Media Literacy. 7th Edition. London, UK. Sage.

The European Witch Hunts. (2014). Retrieved May 26, 2016, from https://www.jw.org/en/ publications/magazines/g201405/european-witch-hunts/.